xs
xsm
sm
md
lg

MQDC ชูการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สอดคล้องงานวิจัย เทรนด์การอยู่อาศัยในอนาคตภายใต้แนวทาง 'For All Well-Being' ต่อยอดทุกโครงการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เดินหน้าพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกโครงการตามแนวทาง 'For All Well-Being' โดยอาศัย 2 ศูนย์วิจัยที่ศึกษาด้านความต้องการอยู่อาศัยในอนาคต คอยส่องเทรนด์แห่งอนาคตที่เปลี่ยนสู่ ‘วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจติดบ้าน’

วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์
วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า MQDC ให้ความสำคัญด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมความต้องการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย และทิศทางของการอยู่อาศัยในสภาวะต่างๆในระยะยาว ก่อนที่จะพัฒนาโครงการ ถือเป็น DNA ของทุกโครงการในเครือที่ต้องนำผลวิจัยมาต่อยอดสร้างโครงการ โดยมี "หัวใจ" หลักในการพัฒนา ว่าต้องทำให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการและเพื่อนบ้านในพื้นที่รอบ "บ้าน" มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ตามแนวทาง 'For All Well-Being' เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสรรพสิ่งบนโลกอย่างยั่งยืน

เหตุผลดังกล่าวจึงจัดตั้ง 2 ศูนย์วิจัย คือ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab) ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเทรนด์อนาคต เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและนำมาเผยแพร่สู่สาธารณะ แบ่งปันข้อมูลที่มีประโยชน์ ช่วยกันยกระดับองค์ความรู้เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ และนำไปต่อยอดในการพัฒนาโครงการต่างๆ อย่างตอนนี้มีงานวิจัยถึงชีวิตความเป็นอยู่หลังโควิด และศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center -RISC) ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาวะที่ดีให้สามารถตอบโจทย์ For All Well-Being และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด อาทิ วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ การร่วมพัฒนาวัสดุ Upcycling เพื่อใช้ในการก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน การพัฒนาเครื่องฟอกอากาศระดับเมือง การควบคุมมาตรฐานด้านสุขภาวะ เป็นต้น

จะเห็นว่าแนวทางการศึกษาวิจัยทั้ง 2 ศูนย์วิจัย สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่คำนึงในเรื่องคุณภาพและสุขภาพมากขึ้น เช่น การใช้วัสดุตกแต่ง และวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาวะของผู้อาศัย ทางโครงการจึงใช้ไม้ปลูกเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การจัดการด้านป่าไม้ (FSC) ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ กำหนดให้ใช้สีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อาศัย มีการวิจัยคุณภาพอากาศ โดยติดตั้งเครื่องฟอกอากาศระดับเมืองในโครงการแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด(Magnolias Ratchadamri Boulevard) และ วิสซ์ดอม สุขุมวิท 101 (Whizdom Sukhumvit 101)

นอกจากนี้ MQDC ยังมีการรับประกันการดูแลโครงการของเราเป็นเวลา 30 ปี ใน 4 เรื่องด้วยกันให้กับลูกค้า คือ งานโครงสร้าง งานระบบน้ำ-ไฟ การใช้งานของประตูหน้าต่าง และการรั่วซึมของหลังคา เป็นต้น

ดร.การดี เลียวไพโรจน์

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต
ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) กล่าวว่า ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ทำการวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต พบว่า เทรนด์หลักๆ ที่ทำให้วิถีความคิดของผู้บริโภคในแง่การตัดสินใจซื้อบ้านกำลังเปลี่ยนแปลงไป

เช่น ผู้บริโภคมีความต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น Prioritizing Space Over Convenience จากเดิมทุกอย่างรวมตัวอยู่กลางเมือง ยึดเอาแนวเส้นการเดินทางใกล้รถไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ แต่พอมีสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำงานที่บ้าน การซื้อที่อยู่อาศัยจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในเมือง แต่อาจปรับเปลี่ยนเป็นบ้านนอกเมืองที่มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น มีสวนหย่อม หรือมีการปรับเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศ (Vacation Home) เป็นบ้านอาศัยประจำแทน

บ้านคือทุกสิ่ง Everything At Home หรือที่เรียกว่า เศรษฐกิจติดบ้าน อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป ไม่ว่าทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ภายในที่พักอาศัยของตนเอง ส่งผลต่อความต้องการที่พักอาศัยที่อาจจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่สามารถอาศัยในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กได้ แต่ขณะนี้อาจจะไม่เพียงพอ และต้องการมีพื้นที่ที่สามารถทำอะไรได้หลายหลากมากยิ่งขึ้น อย่างคอนโดมิเนียม ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับการทำอาหาร พื้นที่ทำงานและออกกำลังกายได้ในขณะเดียวกัน

หรือการศึกษาประชากรของโลกในยุคอนาคต หรือ Citizen of The Future ผ่านการศึกษาเพื่อสะท้อนแนวโน้มของกลุ่มเจนเนอเรชัน Z (กลุ่มที่เกิด 1997 – 2012) ที่จะมีบทบาทสำคัญในวิถีและทิศทางของประเทศและโลกต่อไป กลุ่มเจนนี้แสดงถึงการใช้ชีวิตกับเทคโนโลยีตลอดเวลา รวมถึงการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ เนื่องด้วยกระแสวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะทำให้กลุ่มคนเจนนี้เปลี่ยนวิถีการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อไปสู่โลกและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับการทำงานผ่านธุรกิจและวิถีชีวิตที่ช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ด้าน รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) เสริมว่า การอยู่อาศัยภายใต้สุขภาวะที่ดี หรือ “Well-Being” นับวันยิ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ภายใต้การดำเนินงานของ RISC มุ่งให้เป็นศูนย์นวัตกรรมชั้นนำด้านสุขภาวะและความยั่งยืน ดำเนินการศึกษาในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด จึงเป็นที่มาของ MQDC Standard สำหรับการออกแบบเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพของมนุษย์ในระยะยาว จึงหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุก่อสร้างบางอย่างอย่างเด็ดขาดเพื่อเป็นการอนุรักษ์ในระยะยาว และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบก่อสร้างตามหลัก Sustainovation รวมทั้งยังพร้อมส่งมอบองค์ความรู้ไปสู่สาธารณชน ไม่จำกัดแค่ภายในองค์กรเท่านั้น

งานในโครงการของ MQDC จึงมีนวัตกรรมที่รองรับเกี่ยวกับสุขภาวะเสริม ตัวอย่างเช่น จากงานวิจัยเห็นว่า สภาพของคุณภาพอากาศจะเป็นประเด็นใหญ่ ทุกโครงการตั้งแต่ปี 2561 จึงทำการติดตั้งเครื่อง ERV หรือ ที่เรียกว่า Energy Recovery Ventilation ช่วยให้เกิดการถ่ายเท หมุนเวียนอากาศที่ดีเข้ามาในที่อยู่อาศัย และเพิ่มปริมาณอ็อกซิเจนในห้องปรับอากาศให้เหมาะสมกับปริมาณผู้ที่อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อเกิดวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ก็สามารถติดตั้งแผ่นกรอง PM 2.5 เพิ่มเข้าไปได้
‘เดอะ ฟอเรสเทียส์’ ทำเลใจกลางเมือง
นำผลวิจัยไปสร้างวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจติดบ้าน


งานวิจัยของศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา (FutureTales Lab) พบว่าการทำงานที่บ้าน (Work From Home) นำไปสู่วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจติดบ้าน ดังนั้นทำเลใจกลางเมืองอย่างเดียวจึงไม่ใช่เรื่องหลัก หากแต่ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ

เมกะโปรเจคต์ ‘เดอะ ฟอเรสเทียส์ (THE FORESTIAS)’ จึงนำผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก อย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่บ่งชี้ว่า “ถ้ามนุษย์เราได้อยู่กับธรรมชาติทุกวันจะช่วยลดสภาวะความเครียด และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น”

อีกทั้ง MQDC พบว่าประเทศไทยมีปริมาณพื้นที่สีเขียวต่อประชากร 1 คน น้อยกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ได้ตั้งไว้ จึงนำผลการศึกษามาแก้ปัญหา ด้วยการสร้างความยั่งยืนของพื้นที่สีเขียว สร้างป่าธรรมชาติมากกว่า 30 ไร่ และพื้นที่สีเขียวปกคลุมอีกมากกว่า 70% ในโครงการจึงเป็นโครงการแรกของโลกที่มีความสมบูรณ์เป็นเมืองเพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่

ประกอบด้วย คอนโดวิสซ์ดอม (Whizdom) สำหรับคนวัยทำงาน บ้านเดี่ยวกลุ่มแบบคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ มัลเบอร์รี่ โกรฟ (Mulberry Grove) สำหรับครอบครัวใหญ่ที่มีหลายเจเนอเรชั่น และ คอนโด ดิ แอสเพน ทรี (The Aspen Tree) ที่รองรับตลอดชีวิตของผู้สูงวัยซึ่งจะรวมถึงเรื่องสุขภาพและสภาวะที่อาจจะต้องการการดูแลตลอดไป

นอกจากนั้น เน้นการมีพันธมิตรระดับโลกมาร่วมพัฒนาโครงการหลายราย ดังเช่นอาณาจักร‘เดอะ ฟอเรสเทียส์ (THE FORESTIAS)’ มีแบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านที่พักระยะสั้นและระยะยาวในระดับโลกมาเป็นพันธมิตร อาทิ ซิกส์เซนส์ (Six Senses) ที่จะมีทั้งที่อยู่อาศัยและโรงแรม F & P (Thailand) เป็นที่ปรึกษาและร่วมออกแบบโครงการ ITEC Entertainment มาออกแบบไลฟ์สไตล์ด้านสันทนาการและประสบการณ์เพื่อผู้อยู่อาศัย Atelier Ten มาร่วมวางแผนการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน รวมถึงการวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ

และเพื่อให้สอดคล้องกับงานวิจัยของศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาที่ว่าเทคโนโลยีจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต MQDC ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี คือ Huawei เพื่อพัฒนาเป็น Smart City จาก Digital Platform ของ Huawei โดยจะเริ่มจากโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ (THE FORESTIAS) ที่เป็นเมืองคู่ป่า