วันนี้ (16 มี.ค.2563) กระทรวงสาธารณสุขนำมาตรการต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคโควิด-19 เสนอต่อคณะกรรมการโควิด-19 แห่งชาติ โดยเสนอแนวทาง ข้อปฏิบัติและข้อเสนอแนะเข้าสู่การพิจารณา ดังนี้
1.ประกาศประเทศที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตรายเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการวิชาการตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ.2558 ให้ความเห็น จากเดิมที่มีอยู่ 4 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ อิตาลี และอิหร่าน
2.เสนอมาตรการทำให้การแพร่เชื้อลดลงมากที่สุด คือ 2. ห้าม-ลด การเดินทางในส่วนของประเทศต่างๆ ที่เป็นเขตโรคระบาด
3. การสั่งปิดสถานบันเทิงต่างๆ แบบไม่มีกำหนดจนกว่าความปลอดภัยจะเกิดขึ้น โดยให้คณะทำงานพิจารณาเป็นเขตๆ พื้นที่ต่อไป
เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่ายังมีผู้ฝ่าฝืนคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข กลับจากต่างประเทศที่เป็นเขตติดโรคแล้วไม่เฝ้าระวังตัวเองอยู่ที่บ้านแต่กลับออกไปเที่ยวสถานบันเทิงที่เป็นสถานที่แออัดจนทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน ทำให้ต้องติดตามผู้สัมผัสที่เสี่ยงอีกเป็น 100 ราย 3.มาตรการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ ลดการสันทนาการ กิจกรรมกีฬา ดนตรีต่าง ๆ 4.แหล่งชุมนุมต่างๆ ต้องมีการงดในช่วงเวลานี้ก่อน และ 5.การยกเลิกนโยบายให้หน่วยงานรัฐจัดสัมมนาต่างๆ ด้วย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า มาตรการต่างๆ เป็นไปตามคำแนะนำของคณะผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่ประเมินแล้วว่าค่อนข้างกังวลกับความตื่นตระหนกของประชาชนที่มีการใช้ข้อมูลจากแหล่งใดก็ไม่ทราบ ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขมาวิเคราะห์กันไปต่างๆ นานา จนทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
''ขณะนี้สถานการณ์โรคในประเทศไทยยังอยู่ในระยะที่ 2 แต่ที่ต้องออกมาตรการเข้มขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันให้มีอัตราการติดเชื้อน้อยที่สุด เพราะไม่ต้องการที่จะเจอสถานการณ์แบบที่ยุโรป เป็นการยืดให้เข้าระยะ 3 ให้ช้าที่สุด ไม่ต้องการให้ประชาชนเดือดร้อนเจ็บป่วย ให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้รับความปลอดภัย และเมื่อเข้าระยะ 3 ก็ให้เข้าแบบชะลอตัว ควบคุมได้'