xs
xsm
sm
md
lg

ม.มหิดล ชี้คนกรุง ชุมชนเขตเมืองใหญ่ “ปลูกต้นไม้” ลดเสี่ยงรับฝุ่นพิษระยะยาว

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อย่างที่ทราบดี ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 น่าจะมาเยือนเราทุกปี ซึ่งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการสวมหน้ากากป้องกันอย่างเดียวอาจจะไม่พอ มีอีกวิธีที่ทุกคนลงมือทำได้เลยโดยไม่ต้องรอหน่วยงานใดมาช่วย และเป็นการแก้ปัญหาฝุ่นระยะยาวด้วย ก็คือ การปลูกต้นไม้เป็นเกราะกำบังฝุ่นที่บ้าน คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน (ช่วงเวลาที่เราอยู่บ้าน สำนักงาน 6-12 ชั่วโมง ส่วนมากมักจะไม่สะดวกสวมใส่หน้ากากป้องกัน)
การปลูกต้นไม้มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ช่วยกักเก็บน้ำ ชะลอการชะล้างกัดเซาะหน้าดิน ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อน ดูดซับสารพิษต่างๆ รวมถึงสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากวัสดุที่ใช้ตกแต่งอาคารได้ 10 - 90% ถือว่าเป็นเกราะกำบังตามธรรมชาติที่ช่วยฟอกอากาศได้มากทีเดียว ทั้งนี้ประสิทธิภาพของ ต้นไม้ดักจับฝุ่นละออง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผิวใบ และสิ่งที่ปกคลุมบนผิวใบ หากใบมีลักษณะเรียวเล็ก ผิวหยาบ มีขน และเหนียว รวมไปถึงลำต้นมีลักษณะ ที่มีกิ่งก้านพันกันอย่างซับซ้อน ก็จะมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนได้ดียิ่งขึ้น


การใช้พรรณพืชดักจับฝุ่นในพื้นที่เมือง จากงานวิจัยพบว่า ไม้เลื้อย เช่น ใบระบาด มีศักยภาพในการทนทานต่อมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Tolerance Index : APTI) สามารถนำมาต่อยอดเพื่อใช้ในการดักจับฝุ่นในพื้นที่เมืองที่มีตึกสูงและถนนแคบได้ โดยทำเป็นสวนประดิษฐ์แนวตั้ง (Vertical Greenery Systems : VGSs) บนตึกและบริเวณรอบ ๆ ถนนในพื้นที่เมือง โดยใช้ไม้กระถางที่มีความสูง 1-2 เมตร วางเรียงกันเหมือนรั้ว หรือ ไม้เลื้อยโดยทำพื้นที่ให้เลื้อยเป็นม่านต้นไม้ เพื่อดักจับมลพิษทางอากาศ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการดักจับมลพิษได้เป็นอย่างดี เช่น เครือออน พวงประดิษฐ์ เล็บมือนาง ใบระบาด เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นแผงกรองฝุ่นด้วยการปลูกไม้เลื้อย ตามบริเวณที่มีลมพัดฝุ่นเข้าอาคาร หน้าต่าง หรือรั้วบ้านที่อยู่ติดกับถนน เพื่อช่วยกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็ก อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนให้กับอาคาร เพิ่มพื้นที่สีเขียว และเพิ่มความสวยงามให้กับภูมิทัศน์
หลายคนอาจจะสงสัยว่า พืชสามารถดักจับฝุ่นได้อย่างไร? ฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน จะถูกพัดพา หรือตกลงในใบพืชที่มีผิวใบที่มีความชื้น ผิวหยาบหรือมีขน หรือผิวใบที่มีประจุไฟฟ้า ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การตกกระทบ จากนั้นฝุ่นละอองบางส่วนสามารถย้อนกลับไปสู่สภาวะแขวนลอยในอากาศได้เมื่อถูกลมพัด บางส่วนจะถูกดักจับไว้ที่ผิวใบ เมื่อฝนตกก็จะถูกชะล้างลงสู่พื้นดิน แต่หากผิวใบมีความ เหนียวมาก ฝุ่นละอองจะหลุดออกจากผิวของใบได้ยากขึ้น ต้องรอให้ใบร่วงฝุ่นจึงจะกลับลงมาสู่พื้นดิน
พืชชนิดใดบ้างที่สามารถดักจับฝุ่นได้? พืชทุกชนิดสามารถดักจับฝุ่นละอองได้ขึ้นอยู่ กับพื้นที่ผิวใบ และสิ่งปกคลุมบนผิวใบ จากงานวิจัยใน หลาย ๆ ประเทศพบว่า ต้นไม้ใหญ่ในเมืองโดยทั่วไป สามารถดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ได้ประมาณ 100 กรัม ต้นไม้ใหญ่ในกรุงปักกิ่งสามารถ ดักจับฝุ่นละอองได้ประมาณ 300 กรัมต่อปี ต้นไม้ที่โต เต็มที่ในประเทศเนเธอร์แลนด์สามารถดักจับฝุ่นละออง ได้ถือ 1.4 กิโลกรัม ทั้งนี้ ปริมาณการดักจับฝุ่นละอองจะ เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของฝุ่นละอองด้วย
ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่าฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ต้นไม้สามารถดักจับได้ระดับหนึ่ง การหาพื้นที่สีเขียวจะต้องสร้างพืชพันธุ์สีเขียวในแนวตั้ง หรือ แนวดิ่งมากขึ้น เช่น หลังคาสีเขียว ตึกสีเขียว ใครที่อยู่คอนโดก็อาจใช้ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม ไม้กระถาง ที่มีผิวใบที่มีขนในการช่วยดักจับฝุ่นละอองได้
ในสังคมเมืองมีต้นไม้หลายชนิดช่วยดักฝุ่น กลุ่มไม้เลื้อย เช่น สร้อยอินทนิล เล็บมือนาง พวงชมพู อัญชัน พวงคราม กะทกรก ส่วนกลุ่มไม้พุ่ม เช่น วาสนา แก้ว หางนกยูงไทย กรรณิการ์ ทองอุไร โมกบ้าน คริสตินา ไม้ล้มลุก เช่น ไผ่รวก วงศ์ส้มกุ้ง ฉัตรพระอินทร์ และ กลุ่มไม้ยืนต้น เช่น สั่งทำ ข่อย โพนทะเล พฤกษ์ ขี้เหล็กเลือด ปอกระสา ตะลิงปลิง โมกหลวง โมกมัน ชงโค ขี้เหล็กบ้าน ตะขบฝรั่ง ตะแบก อินทนิล เสลา จามจุรี แคแสด ชมพูพันธ์ทิพย์ พังแหร นอกจากปลูกกันฝุ่นแล้ว ยังเพิ่มออกซิเจนอากาศในบ้าน ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ และทำให้ภูมิทัศน์ในบ้านเรือนร่มรื่นสวยงาม
สรุปประโยชน์ของพืชพรรณกับการบรรเทามลพิษ สำหรับชุมชนเมือง และเมืองใหญ่
• ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็น หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลก ร้อน
• ช่วยดูดซับสารพิษในอากาศ และดูดซับสารพิษ ที่ถูกปล่อยออกมาจากวัสดุที่ใช้ตกแต่งอาคารได้ ร้อยละ 10-90 ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่เลือกใช้
• ช่วยกรองฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการ ปลูกไม้พุ่มที่มีใบเล็กละเอียดช่วยเก็บฝุ่นได้มาก ถึงร้อยละ 60-80 ของพุ่มทั้งหมด
ข้อมูลอ้างอิง ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย, รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล, และ รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://en.mahidol.ac.th/images/Factsheet_EN_Thamarat.pdf






กำลังโหลดความคิดเห็น