อาหารตามสั่งใส่กล่องโฟม ข้าวกะเพราไข่ดาว ข้าวราดแกงกับไข่เจียวร้อนๆ จะไปละลายผนังกล่องโฟม อาจจะทำให้ผู้บริโภคคาดไม่ถึงว่า ขนาดมีแผ่นถุงพลาสติกใสรองอยู่อีกชั้น คอยกันสัมผัสผิวกล่องโฟมโดยตรง ยังช่วยไม่ได้อีกหรือ!!
แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข เตือนถึงภัยอันตรายจากการใช้วัสดุโฟมหีบห่ออาหาร โดยเฉพาะเมื่อผิวกล่องโฟมสัมผัสกับอาหารโดยตรง ขณะเดียวกัน ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน เช่น กลุ่มเอสซีจี มีการรณรงค์ให้ลดขยะโฟม ซึ่งก็ได้รับข่าวดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อบรรดาผู้ประกอบร้านอาหารเปลี่ยนไปใช้หีบห่อวัสดุจากธรรมชาติแทน เช่น กล่องจากวัสดุชานอ้อย
เป็นต้นว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ผลลัพธ์จากคนไทยให้ความร่วมมือกันใช้วัสดุจากธรรมชาติมาใช้ทำกระทงมากกว่าโฟมอย่างมากมาย
อย่างไรก็ดี เท่าที่สังเกตตามร้านขายอาหารตามสั่ง ร้านข้าวแกงตามชุมชนทั่วประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังเลือกใช้กล่องโฟมใส่อาหารให้กับลูกค้า จากการได้สอบถามร้านค้าที่ยังใช้โฟมหีบห่ออาหาร ส่วนมากตอบทำนองเดียวกันว่า กล่องโฟมต้นทุนต่ำกว่า และส่วนมากทราบดีว่าโฟมอันตรายจึงมีการตัดถุงพลาสติกใส่รองอาหารอีกชั้น เพราะเข้าใจว่า หีบห่อโฟมพอมีถุงพลาสติกรองอีกชั้น กันสัมผัสโดยตรงก็สร้างความปลอดภัยในการบริโภค
แต่ความจริง มีผลการวิจัยออกมาว่า ถุงพลาสติกใสรองอาหารจากกล่องโฟม เสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็ง 2 เด้ง
ผลการวิจัยระบุว่า ถ้ากินอาหารกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า และมีสารก่อมะเร็งถึง 3 ชนิด
ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพิ่งประกาศขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง หญิงมีครรภ์ที่รับประทานอาหารบรรจุในกล่องโฟม ทำให้ลูกมีโอกาสสมองเสื่อม หรือเป็นเอ๋อ อวัยวะบางส่วนพิการ
กล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป (Styrofoam) เป็นของเสียเหลือทิ้งสีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วย สารสไตรีน (Styrene) มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง
สารสไตรีน (Styrene) ทำให้ สมองมึนงง สมองเสื่อมง่าย หงุดหงิดง่าย มีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และเป็นสารก่อมะเร็งอีก 3 ชนิด ถ้าเป็นผู้ชายรับประทานเข้าไปมากๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ขณะที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็น มะเร็งเต้านม และทั้งสองเพศ มีโอกาสสูงต่อการเป็น มะเร็งตับ แม้จะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็ตาม
ผู้บริโภคอาหารจากกล่องโฟม จึงมีโอกาสได้รับ “สารสไตรีนในกล่องโฟม” ได้ง่ายถึง 5 ปัจจัยได้แก่
1. อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
2. ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
3. ถ้าซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นาน ๆ ไม่ได้รับประทาน อาหาร จะดูดสารสไตรีนได้มาก
4. ถ้านำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก
5. ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมาก ๆ รวมถึง ร้านไหนตัดถุงพลาสติกใสรองอาหาร ขอบอกว่าได้รับสารก่อมะเร็ง 2 เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว
อาหารตามสั่ง หรือข้าวราดแกงกับไข่ดาว หรือไข่เจียวร้อนๆ จึงไปละลายผนังกล่องโฟม เสมือนรับประทานอาหารคลุกสไตรีนไปด้วย ถึงกระนั้น ไข่ดิบที่วางขายในแผงไข่พลาสติก สารสไตรีนก็มีโอกาสวิ่งเข้าในเปลือกไข่ได้เช่นกัน ถ้าเลือกไข่ดิบควรเลือกซื้อจากแผงไข่กระดาษจะปลอดภัยที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง : นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เครดิตภาพกราฟฟิก : www.kapook.com