xs
xsm
sm
md
lg

ไทย - ไต้หวัน ร่วมมือเวิร์คชอปการแพทย์ "สังคมสูงวัย"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายแพทย์หวังเหวินฝู่ ผู้อำนวยการสถาบันดูแลผู้ป่วยระยะยาวโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนและรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลลู่กังคริสเตียน วิทยาเขตฉางชิง (ซ้าย) นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ หัวหน้ากรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก (ที่สองจากขวา), นายแพทย์หวงซงเหยียน หัวหน้าแพทย์แผนกแพทย์แผนจีนโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน (ขวา) มอบวุฒิบัตรและของที่ระลึกให้กับผู้เข้าร่วมเวิร์คชอป (ภาพ MGR Online)
MGR Online - ข้อมูลในปี 2561 กระทรวงมหาดไทยไต้หวัน ระบุว่า ไต้หวัน เข้าสู่ความเป็นประเทศสังคมผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือสัดส่วนรายร้อยละ 14.05 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 ซึ่งหมายความว่าคนไต้หวัน 1 ในทุก 7 คน เป็นพลเมืองอาวุโสแล้ว

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า สัดส่วนของประชากรของสังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเรียกว่า “อัตราการชราภาพ” หากอัตราการชราภาพของสังคมสูงกว่า 7% แสดงว่าเป็น“สังคมผู้สูงอายุ” หากอัตราดังกล่าวเกินกว่า 14% จะเป็น "สังคมผู้สูงอายุ" ถ้ามากกว่า 21% มันเป็น "สังคมที่มีอายุมาก"

ก่อนหน้านี้ จากข้อมูลในปี 2536 ของ กระทรวงมหาดไทยไต้หวัน คนชรามีสัดส่วนมากกว่า 7% ของประชากรไต้หวัน ซึ่งบ่งบอกว่าไต้หวันได้เข้าสู่ยุคของ“ สังคมผู้สูงวัย” ในเวลานั้น

กระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า เทศบาลที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในไต้หวัน คือเขตเจียอี้ซึ่งมีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีร้อยละ 18.61 รองลงมาคือเขตหยุนหลิน 17.69% หนานโถว 16.7% และกรุงไทเป 16.58%

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย เปอร์เซ็นต์ของคนเฒ่าไต้หวันนั้นยังต่ำกว่าญี่ปุ่นและใกล้เคียงกับเกาหลีใต้

นอกจากนี้ประชากรของไต้หวันมีอายุมากขึ้นด้วยอัตราที่น่าตกใจโดยมีระยะเวลาเพียง 8 ปีในการก้าวจาก "สังคมผู้สูงวัย" สู่ "สังคมผู้สูงวัยมาก" ซึ่งเร็วกว่าญี่ปุ่น (ใช้เวลา 11 ปี) สหรัฐอเมริกา (ใช้เวลา 14 ปี) ฝรั่งเศส (ใช้เวลา 29 ปี) และสหราชอาณาจักร (ใช้เวลา 51 ปี) ตามการประเมินของสภาพัฒนาแห่งชาติ แต่อัตรานั้นใกล้เคียงกับเกาหลีใต้ (8 ปี) และสิงคโปร์ (7 ปี) ตามข้อมูลเดียวกัน

รัฐบาลไต้หวัน ให้ความสำคัญในการผลักดันธุรกิจบริการผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ถือเป็นธุรกิจใหม่ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนของไต้หวัน

ธุรกิจบริการดูแลทางการแพทย์ ผู้สูงวัยจัดเป็น1 ใน 6 อุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาลไต้หวันส่งเสริมและผลักดันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระบบสวัสดิการทางสังคม ตลอดจนงานวิจัยการแพทย์ทางเลือก และแพทย์จีนดั้งเดิม

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาไต้หวันได้ตอบรับความร่วมมือกับ กรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ร่วมเวิร์คชอปส่งต่อความรู้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม รับมือสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2573 โดยมีโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนเป็นตัวแทน โดยความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายมุ่งสู่อาเซียนของรัฐบาลไต้หวันเช่นกัน

ระหว่างเวิร์คชอป 2 วันนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันได้นำเสนอ ความร่วมมือทางการแพทย์ สาธิตการใช้แอปพลิเคชั่น และ AI ในการรักษา พร้อมถ่ายทอดความรู้ปรับสมดุลร่างกายแบบแพทย์แผนจีน ตลอดจนกายบริหารชี่กงอันเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ได้แก่ไทเก๊กแบบนั่ง และลมปราณแบบนั่งแปดกระบวนท่า (ปาต่วนจิน)

นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ หัวหน้ากรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของประเทศไทย ร่วมกันจัดกิจกรรม "เวิร์คชอปการบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในระดับชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย" โดยความร่วมมือจากโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน ที่พร้อมช่วยผลักดันความร่วมมือทางการแพทย์ระหว่างไทยและไต้หวัน ตามนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของรัฐบาลไต้หวัน

นายแพทย์หวังเหวินฝู่ ผู้อำนวยการสถาบันดูแลผู้ป่วยระยะยาวโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนและรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลลู่กังคริสเตียน วิทยาเขตฉางชิง, นายแพทย์หวงซงเหยียน หัวหน้าแพทย์แผนกแพทย์แผนจีนโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน กับโจว เจียนี หัวหน้าพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะยาว และนีน่า เกา ซีอีโอ โอเวอร์ซี เมดิคัล มิชชัน เซนเตอร์ ได้เป็นผู้บรรยายประสบการณ์การส่งเสริมการดูแลระยะยาวในไต้หวันตลอดเวิร์คชอป 2 วัน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฯ จากศูนย์ดูแลประจำวันท้องถิ่นของไทย กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่สนใจงานการดูแลระยะยาว มากกว่า 30 ท่าน

นอกจากนี้คณะไต้หวันยังได้เชิญบริษัทไอเมดแทค จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทยูนิสัน เฮลท์แคร์กรุ๊ป กิจการเทคโนโลยีการแพทย์เข้าร่วมแนะนำการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ไต้หวัน โดยเฉพาะในกลุ่มอาการโรคสมองเสื่อม อาทิ การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (เช่น แอปพลิเคชัน อุปกรณ์จับสัมผัสAI)

นพ.ขวัญชัย กล่าวว่า ประสบการณ์จากไต้หวันที่ถ่ายทอดผ่านกิจกรรมเวิร์คชอปในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในขณะเดียวกันยังทำให้พวกเรามีปณิธานมุ่งมั่นมากขึ้น ควรค่าที่ทางรัฐบาลจะกำหนดกฎหมายออกมา เป็นการเตรียมความพร้อมกับวิกฤตสังคมสูงอายุที่จะมาถึง

นายแพทย์หวงซงเหยียน หัวหน้าแพทย์แผนกแพทย์แผนจีนโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน ถ่ายทอดความรู้ปรับสมดุลร่างกายแบบแพทย์แผนจีน ตลอดจนกายบริหารชี่กงอันเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ได้แก่ไทเก๊กแบบนั่ง และลมปราณแบบนั่งแปดกระบวนท่า (ปาต่วนจิน) (ภาพ MGR Online)
กำลังโหลดความคิดเห็น