หลักสูตรการเรียนออนไลน์ฟรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคึกคักสุดๆ เปิดปุ๊บติดปั๊บ เรียนจบภายใน 2 เดือน ได้ประกาศนียบัตรไว้ภูมิใจพร้อมความรู้ไปใช้งาน ตอนนี้มี 50 วิชาให้เลือกเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ตอบสนองหลักคิด “การเรียนรู้ตลอดชีวิต”
สังคมโลกขณะนี้กำลังเผชิญกับปรากฎการณ์ Disruption ที่วงการต่างๆ ล้วนถูกผลกระทบจากพัฒนาการล่าสุดด้านเทคโนโลยีการสื่อสารยุคดิจิทัล จนหลายๆ กิจการถูกป่วน หรือกระแทกอย่างแรงด้วยนวัตกรรมและระบบที่มีประสิทธิภาพกว่าจนดำรงอยู่ไม่ได้เพราะผู้บริโภคไม่ยอมรับสิ่งที่ล้าหลัง
มหาวิทยาลัยซึ่งให้บริการทางการศึกษาก็โดนผลกระทบเช่นกัน ทั้งจำนวนประชากรที่เกิดน้อยลง และเครื่องมือการเรียนรู้ยุคใหม่ที่สะดวกในการเลือกและคล่องตัวในการใช้งาน
จุฬาฯ เคลื่อนไหวปรับตัวรับมือสถานการณ์มาพักใหญ่แล้ว ทั้งในระบบการเรียนการสอนของนิสิตในคณะต่างๆ ในห้องเรียนให้มีลักษณะ Active Learning คือ เอื้อต่อการคิดเป็น-ทำเป็น-สื่อสารเป็น ซึ่งมีทั้งการปรับพื้นที่การเรียนรู้ และใช้กิจกรรมช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น
มีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation Center) ซึ่งจะเป็นกลไกการเชื่อมโยงคณาจารย์ และบุคลากรคณะต่างๆ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ความท้าทาย
ที่ผมจะขอเน้นในบทความชิ้นนี้ คือ บทบาทในการบริการสังคมที่เริ่มเข้าสู่ร้อยปีรอบที่ 2 หรือศตวรรษที่ 2 ของจุฬาฯ โดยมุ่งให้การศึกษาแก่ผู้เรียน ไม่เฉพาะนิสิตในระบบ แต่เป็นทั้งให้โอกาสและสนองความจำเป็นในการได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ตั้งแต่วัยก่อนเข้ามหาวิทยาลัยจนถึงวัยหลังเกษียณอายุงาน
เป็นการขยายโอกาสในการเรียนรู้กว้างขวางขึ้นสำหรับทุกคน (Anyone) ได้ทุกที่ (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime) โดยองค์ประกอบ คือ
1.Online Lecture วิชาในหลักสูตรผู้สอนอาจมอบหมายให้นิสิตศึกษาเนื้อหาทางออนไลน์ก่อนเข้าห้องเรียน เพื่อใช้เวลาในชั้นเรียนมาสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมากขึ้น
2.Online Lecture สำหรับผู้เรียนทั่วไปสามารถค้นหัวข้อเข้าสืบค้นและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
3.Online Courses เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปลงทะเบียนเรียนผ่านแพลตฟอร์ม CHULA MOOC (Massive Open Ontime Courses) ที่มีความรู้ให้เลือกกว่า 50 วิชาจากคณะต่างๆ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มวิชา ได้แก่ การจัดการ, ไอที/ข้อมูล/เทคโนโลยี, ภาษา, ศิลปะและการพัฒนาตนเอง และ การดูแลสุขภาพ
ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เล่าว่าการเปิดสอนทางออนไลน์ได้รับความสนใจจากสังคมทั่วประเทศมาก ตั้งแต่เปิดมา 2 ปี มียอดลงทะเบียนรวม 2.5 แสนคน
หลายวิชาเปิดเพียงเดือนเศษ มีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวน 4,000-5,000 คน โดยเฉพาะวิชา Data Analyst เปิดรับสมัครแค่ 5 ชั่วโมงได้ครบ 2,000 คน และยังมีวิชาที่น่าสนใจเปิดให้เลือกลงทะเบียนเรียนได้อีกมากมาย
ข้อคิด...
กรณีตัวอย่างที่ดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ใช้ความก้าวหน้าทางดิจิทัลเทคโนโลยี มาใช้เป็นเครื่องมือให้บริการทางการศึกษาที่ช่วยสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้สังคมไทย เช่นเดียวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งได้ดำเนินการเพื่อให้คนทั้งโลกได้เสริมการเรียนรู้ได้
จากคำจำกัดความของ CHULA MOOC ที่ว่า “Anyone can learn” ใครๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้ผ่านระบบออนไลน์เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และถ้าเรียนจบสอบผ่านยังได้ใบรับรองคุณวุฒิจากจุฬาฯและสามารถนำไปนับเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในรายวิชา หรือในอนาคตอันใกล้อาจนับเป็นหน่วยกิตในหลักสุตรปกติได้อีกด้วย
ด้วยความคล่องตัวของเทคโนโลยีก็จะเป็นการประสานการเรียนในระบบห้องเรียนกับความรู้ทางเลือกจากระบบ Online เชื่อมโยงกัน เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพ
น่ายินดีที่ยังมีการต่อยอดการเรียนรู้เป็นหลักสูตรสั้น ที่เรียกว่า CHULA MOOC achieve ที่เริ่มดำเนินการเรียนได้แล้ว โดยการออกแบบวิชาให้กับองค์กรที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพการงานแก่คนในองค์กร
(ผู้สนใจลองเข้าไปดูรายละเอียดวิชาและกติกาใช้บริการของ CHULA MOOC ที่ mooc.chula.acth)
suwatmgr@gmail.com
สังคมโลกขณะนี้กำลังเผชิญกับปรากฎการณ์ Disruption ที่วงการต่างๆ ล้วนถูกผลกระทบจากพัฒนาการล่าสุดด้านเทคโนโลยีการสื่อสารยุคดิจิทัล จนหลายๆ กิจการถูกป่วน หรือกระแทกอย่างแรงด้วยนวัตกรรมและระบบที่มีประสิทธิภาพกว่าจนดำรงอยู่ไม่ได้เพราะผู้บริโภคไม่ยอมรับสิ่งที่ล้าหลัง
มหาวิทยาลัยซึ่งให้บริการทางการศึกษาก็โดนผลกระทบเช่นกัน ทั้งจำนวนประชากรที่เกิดน้อยลง และเครื่องมือการเรียนรู้ยุคใหม่ที่สะดวกในการเลือกและคล่องตัวในการใช้งาน
จุฬาฯ เคลื่อนไหวปรับตัวรับมือสถานการณ์มาพักใหญ่แล้ว ทั้งในระบบการเรียนการสอนของนิสิตในคณะต่างๆ ในห้องเรียนให้มีลักษณะ Active Learning คือ เอื้อต่อการคิดเป็น-ทำเป็น-สื่อสารเป็น ซึ่งมีทั้งการปรับพื้นที่การเรียนรู้ และใช้กิจกรรมช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น
มีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation Center) ซึ่งจะเป็นกลไกการเชื่อมโยงคณาจารย์ และบุคลากรคณะต่างๆ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ความท้าทาย
ที่ผมจะขอเน้นในบทความชิ้นนี้ คือ บทบาทในการบริการสังคมที่เริ่มเข้าสู่ร้อยปีรอบที่ 2 หรือศตวรรษที่ 2 ของจุฬาฯ โดยมุ่งให้การศึกษาแก่ผู้เรียน ไม่เฉพาะนิสิตในระบบ แต่เป็นทั้งให้โอกาสและสนองความจำเป็นในการได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ตั้งแต่วัยก่อนเข้ามหาวิทยาลัยจนถึงวัยหลังเกษียณอายุงาน
เป็นการขยายโอกาสในการเรียนรู้กว้างขวางขึ้นสำหรับทุกคน (Anyone) ได้ทุกที่ (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime) โดยองค์ประกอบ คือ
1.Online Lecture วิชาในหลักสูตรผู้สอนอาจมอบหมายให้นิสิตศึกษาเนื้อหาทางออนไลน์ก่อนเข้าห้องเรียน เพื่อใช้เวลาในชั้นเรียนมาสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมากขึ้น
2.Online Lecture สำหรับผู้เรียนทั่วไปสามารถค้นหัวข้อเข้าสืบค้นและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
3.Online Courses เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปลงทะเบียนเรียนผ่านแพลตฟอร์ม CHULA MOOC (Massive Open Ontime Courses) ที่มีความรู้ให้เลือกกว่า 50 วิชาจากคณะต่างๆ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่มวิชา ได้แก่ การจัดการ, ไอที/ข้อมูล/เทคโนโลยี, ภาษา, ศิลปะและการพัฒนาตนเอง และ การดูแลสุขภาพ
ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เล่าว่าการเปิดสอนทางออนไลน์ได้รับความสนใจจากสังคมทั่วประเทศมาก ตั้งแต่เปิดมา 2 ปี มียอดลงทะเบียนรวม 2.5 แสนคน
หลายวิชาเปิดเพียงเดือนเศษ มีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวน 4,000-5,000 คน โดยเฉพาะวิชา Data Analyst เปิดรับสมัครแค่ 5 ชั่วโมงได้ครบ 2,000 คน และยังมีวิชาที่น่าสนใจเปิดให้เลือกลงทะเบียนเรียนได้อีกมากมาย
ข้อคิด...
กรณีตัวอย่างที่ดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ใช้ความก้าวหน้าทางดิจิทัลเทคโนโลยี มาใช้เป็นเครื่องมือให้บริการทางการศึกษาที่ช่วยสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้สังคมไทย เช่นเดียวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกหลายแห่งได้ดำเนินการเพื่อให้คนทั้งโลกได้เสริมการเรียนรู้ได้
จากคำจำกัดความของ CHULA MOOC ที่ว่า “Anyone can learn” ใครๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้ผ่านระบบออนไลน์เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และถ้าเรียนจบสอบผ่านยังได้ใบรับรองคุณวุฒิจากจุฬาฯและสามารถนำไปนับเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในรายวิชา หรือในอนาคตอันใกล้อาจนับเป็นหน่วยกิตในหลักสุตรปกติได้อีกด้วย
ด้วยความคล่องตัวของเทคโนโลยีก็จะเป็นการประสานการเรียนในระบบห้องเรียนกับความรู้ทางเลือกจากระบบ Online เชื่อมโยงกัน เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพ
น่ายินดีที่ยังมีการต่อยอดการเรียนรู้เป็นหลักสูตรสั้น ที่เรียกว่า CHULA MOOC achieve ที่เริ่มดำเนินการเรียนได้แล้ว โดยการออกแบบวิชาให้กับองค์กรที่ต้องการพัฒนาทักษะด้านการประกอบอาชีพการงานแก่คนในองค์กร
(ผู้สนใจลองเข้าไปดูรายละเอียดวิชาและกติกาใช้บริการของ CHULA MOOC ที่ mooc.chula.acth)
suwatmgr@gmail.com