วานนี้(13 พ.ย.) คณะกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ กมธ.ดีอีเอส ได้เชิญตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มาชี้แจง กรณีโครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ทุรกันดาร (เน็ตประชารัฐ) หลังจากเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 62 เป็นวันสิ้นสุดตามกรอบเวลา ที่บริษัททีโอที ขอขยายเวลามาจาก 27 ก.ย.61 ที่ผ่านมา แต่ยังมีหลายพื้นที่ติดตั้งไม่เสร็จ และกสทช. ได้มีการยกเลิกสัญญากับ บริษัททีโอทีฯไปแล้ว
น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานกรรมาธิการการสื่อสารฯ แถลงภายหลังการประชุมว่า ตัวแทนของ กสทช.ได้มาชี้แจงว่า จะมีแนวทางดำเนินการต่อไปอย่างไร หลังจากที่ยกเลิกสัญญากับ บริษัท ทีโอทีฯ ทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างรอตรวจรับงานที่ บ.ทีโอที ทำไว้ว่ามีความคืบหน้าแค่ไหน อย่างไร เหลืองานอีกมากน้อยแค่ไหน จากนั้นจะมีการเปิดประมูลรับผู้ดำเนินการรายใหม่ ซึ่ง กสทช. คาดว่าภายในเดือนเม.ย.63 จะสามารถเปิดประมูลได้
"เรามีความห่วงใยกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะทำให้ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ต้องเสียโอกาสในการได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงตลาดโลกด้วยการทำธุรกิจออนไลน์ หรือ อีคอมเมอร์ซ บริการทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงกับนโยบาย Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และจะเป็นประโยชน์ด้านการศึกษา ที่เด็กๆ สามารถหาความรู้ หรือเรียนออนไลน์ได้ ที่สำคัญคือ มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ที่จะพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต ซึ่งกรรมาธิการฯไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการดำเนินโครงการไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด มีผลกระทบต่อประชาชนผู้รอใช้บริการ"
ดังนั้น ทางกมธ.ดีอีเอส จึงกำชับไปยัง กสทช. และฝากไปยังกระทรวงดิจิทัลฯ เร่งดำเนินการให้โครงการเน็ตประชารัฐสำเร็จโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งทางกรรมาธิการฯ จะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด โดยมี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกมธ. อีดีเอส ในฐานะเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จะได้ทำหน้าที่ในการติดตามและรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้คณะกรรมาธิการฯ ทราบต่อไป
นอกจากนี้ กมธ.มีแผนที่จะลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตชายขอบ ในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยจะลงพื้นที่ จ.หนองคาย และหนองบัวลำภู ทั้งนี้กรรมธิการฯ ต้องการที่จะไปสัมผัสพื้นที่จริงที่มีการติดตั้งจุดปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต ว่าสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ ความเร็วเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ตอบโจทย์ของประชาชนในพื้นที่หรือไม่ เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการดังกล่าวในอนาคตอย่างมาก
น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานกรรมาธิการการสื่อสารฯ แถลงภายหลังการประชุมว่า ตัวแทนของ กสทช.ได้มาชี้แจงว่า จะมีแนวทางดำเนินการต่อไปอย่างไร หลังจากที่ยกเลิกสัญญากับ บริษัท ทีโอทีฯ ทราบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างรอตรวจรับงานที่ บ.ทีโอที ทำไว้ว่ามีความคืบหน้าแค่ไหน อย่างไร เหลืองานอีกมากน้อยแค่ไหน จากนั้นจะมีการเปิดประมูลรับผู้ดำเนินการรายใหม่ ซึ่ง กสทช. คาดว่าภายในเดือนเม.ย.63 จะสามารถเปิดประมูลได้
"เรามีความห่วงใยกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะทำให้ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ต้องเสียโอกาสในการได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเขาดีขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงตลาดโลกด้วยการทำธุรกิจออนไลน์ หรือ อีคอมเมอร์ซ บริการทางการแพทย์ที่เชื่อมโยงกับนโยบาย Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และจะเป็นประโยชน์ด้านการศึกษา ที่เด็กๆ สามารถหาความรู้ หรือเรียนออนไลน์ได้ ที่สำคัญคือ มีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ที่จะพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต ซึ่งกรรมาธิการฯไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการดำเนินโครงการไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด มีผลกระทบต่อประชาชนผู้รอใช้บริการ"
ดังนั้น ทางกมธ.ดีอีเอส จึงกำชับไปยัง กสทช. และฝากไปยังกระทรวงดิจิทัลฯ เร่งดำเนินการให้โครงการเน็ตประชารัฐสำเร็จโดยเร็ว เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งทางกรรมาธิการฯ จะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด โดยมี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกมธ. อีดีเอส ในฐานะเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จะได้ทำหน้าที่ในการติดตามและรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้คณะกรรมาธิการฯ ทราบต่อไป
นอกจากนี้ กมธ.มีแผนที่จะลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตชายขอบ ในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยจะลงพื้นที่ จ.หนองคาย และหนองบัวลำภู ทั้งนี้กรรมธิการฯ ต้องการที่จะไปสัมผัสพื้นที่จริงที่มีการติดตั้งจุดปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต ว่าสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ ความเร็วเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ตอบโจทย์ของประชาชนในพื้นที่หรือไม่ เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการดังกล่าวในอนาคตอย่างมาก