พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะน้ำถือว่าเป็นทรัพยากรหลักในการดำรงชีวิต น้ำเป็นตัวประสานให้เกิดความสมดุลขึ้นบนโลก เมื่อมีน้ำก็จะมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มนุษย์และสัตว์ก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ดังนั้น ปัญหาการขาดแคลนน้ำจึงเป็นปัญหาใหญ่ แต่คนไทยส่วนมากยังไม่ตระหนักมากนัก สำหรับคนที่ยังมีน้ำใช้ ก็จะคิดว่า การขาดแคลนน้ำเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ไกลตัว แต่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำหรือในชุมชนเกษตรกรรม การขาดแคลนน้ำถือเป็นและเป็นปัญหาสำคัญ
เพราะอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ คือ การทำเกษตรกรรม หากขาดแคลนน้ำก็จะไม่สามารถทำการเกษตรให้ได้ผลดี ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรตกต่ำ ส่งผลต่อรายได้ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายในการดำรงชีพ นานวันเข้าก็ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินตามมา จึงมีการอพยพละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม หรือภาคบริการ แต่การแยกตัวจากครอบครัวเพื่อไปทำมาหากินนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวเป็นอย่างมาก กลายเป็นสาเหตุของปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม ฯลฯ
ด้วยแรงศรัทธาต่อพระปรีชาสามารถ และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๙ จึงได้สร้างแรงบันดาลใจให้ รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สนใจศึกษา “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และต่อมาได้นำหลักของพระองค์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม โดยสร้างสรรค์เป็นโมเดลที่เรียกว่า “รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือ “Model CSR-พอเพียง”
หัวใจของ “Model CSR - พอเพียง” คือ การบูรณาการความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นที่เป็นความต้องการของชุมชน โดยไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง แต่ให้ทุกภาคส่วนช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ใช้เหตุผลในการพิจารณาว่า การช่วยเหลือนั้นจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และทำให้คนในชุมชนมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอนาคตได้
ที่สำคัญ คือ มีการใช้ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ จะได้พัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น และใช้ความรัก ความซื่อสัตย์จริงใจ เป็นคุณธรรมทำให้เกิดความไว้วางใจ จะได้ร่วมกันพัฒนาชุมชนให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
เสียงสะท้อนจากคนในชุมชนชาวซับผุดจังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้ใหญ่สำลี แทงกันยา บอกว่า “เมื่อก่อนบ้านซับผุดยากแค้น แม้มีแหล่งน้ำแต่ไม่มีความสามารถจะเอาน้ำมาใช้ได้ เพราะว่าไม่มีงบ ไม่มีท่อ แม้มีน้ำตกอยู่แค่ภูเขาใกล้ๆ แต่ก็เอามาใช้ไม่ได้ ปลูกพืชได้ครั้งเดียวในหน้าฝน ไม่มีรายได้ทางอื่นเลย จึงลำบากยากจนมาโดยตลอด”
รัชนี เกิดชัยภูมิ แกนนำคนสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านซับผุดตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เล่าว่า
“หมู่บ้านเราโชคดีที่มีผู้ใหญ่หลายท่านให้การสนับสนุน และตั้งแต่อาจารย์ทองทิพภาเข้ามาช่วยแนะนำความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านเราก็เปลี่ยนไปในทา
ที่ดีขึ้น
“พอมีน้ำเข้ามาก็ปลูกพืชผักได้ เอามาขายในชุมชนตัวเองนี่ล่ะค่ะ ขายได้วันละสองสามร้อยกว่าบาท ก็มีเงินพอใช้ ไม่ต้องไปกู้หรือซื้อของด้วยเงินเชื่อ มาถึงทุกวันนี้ตัวเองรู้สึกดี มองเห็นคนในหมู่บ้าน มีกินมีใช้ ก็มีความสุข อยากทำให้ดีมากขึ้น และที่สำคัญ เราเริ่มเห็นคนที่เคยออกจากหมู่บ้านไปทำงานที่กรุงเทพฯ หรือที่อื่น เริ่มกลับมาทำงานที่หมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาแล้ว”
รศ.ทองทิพภา ยืนยันว่า
“โครงการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านซับผุดสัมฤทธิ์ผลได้ เพราะคนในชุมชนร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อส่วนรวม เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง ไม่รอรับแต่เงินบริจาค หรือสิ่งของสำเร็จรูป การดำเนินงานตามกรอบ “Model CSR-พอเพียง” นั้น คนในชุมชนอยากพัฒนาในด้านใด ดิฉันจะหาวัสดุอุปกรณ์มาให้ แต่ไม่มีเงินสนับสนุน โครงการต่างๆ จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ชาวบ้านต้องช่วยกันลงมือทำด้วยตนเอง เพราะต้องการให้พวกเขาจับปลาเองเป็น เขาก็จะหาปลากินเองได้ตลอดชีวิต เพราะเขาได้วิชาความรู้จากการทำงานไปแล้ว และยังได้ความภาคภูมิใจที่ได้สร้างความเจริญให้แก่หมู่บ้านตัวเอง”
ผลจากการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนตามกรอบ “Model CSR-พอเพียง” สามารถต่อยอดให้เกิดโครงการพัฒนาในด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๕๙ มีการส่งเสริมให้คนในชุมชนขยายผลโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพที่กลุ่มแม่บ้านเคยแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของหมู่บ้านเป็นน้ำพริกซับผุด มาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๔ ออกจำหน่ายอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนจาก ไกรสร กองฉลาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้นำอาชีพเสริมนี้ทำเป็นธุรกิจของชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้ให้กับชุมชน เป็นการสร้างอาชีพให้กับหมู่บ้านซับผุดไปจนถึงลูกหลานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ต่อไป โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดท่านนี้ได้ให้ยืมทุนสนับสนุนการดำเนินงานในช่วงต้นด้วย
จากคนรุ่นบุกเบิกและกลุ่มพัฒนาชุมชนรุ่นปัจจุบันที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง จึงร่วมกันวางแผนสร้างอาชีพ เพื่อให้คนรุ่นหลังไม่ต้องดิ้นรนออกไปหางานทำในต่างถิ่น ละทิ้งบ้านเกิด ซึ่งการดำเนินโครงการพัฒนาและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร คือ น้ำพริกซับผุด ได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเพชรบูรณ์อย่างเต็มที่
ขณะเดียวกัน รศ.ทองทิพภา ได้ให้สนับสนุนการสร้างเป็นโรงครัวเพื่อให้เป็นสถานที่ที่กลุ่มแม่บ้านจะมารวมตัวทำน้ำพริกด้วยกันได้มาตรฐานเพื่อให้พร้อมขอการรับรองมาตรฐาน อย. และยังได้นำคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยไปให้คำแนะนำเรื่องการผลิต การตลาด บรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจำหน่ายให้กับกลุ่มแม่บ้านด้วย
รศ.ทองทิพภา จึงกล่าวถึงความสำเร็จโครงการนี้ว่า
“วันนี้ ดิฉันมีความสุขกับเวลาที่มองย้อนกลับไป มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ สุขที่สุด คือ สามารถขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สู่การปฏิบัติได้ ภูมิใจที่สุดที่สามารถพิสูจน์ความเชื่อ และเพราะแรงศรัทธาต่อพระองค์ท่านทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ ดีใจที่ได้เห็นพัฒนาการของชุมชนและคนในชุมชนจนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ชาวซับผุดรู้รักสามัคคี พร้อมแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมคุณค่าและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่สำคัญ คือ ชาวซับผุดได้เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเติบโตตามวิถีทางของชุมชนซับผุดเอง”
ข้อคิด...
นี่เป็นตัวอย่างในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นเครื่องมือกำกับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจ จึงรู้ว่า เรื่องที่จะทำนั้นมีความพอดีผลที่เห็น พอเหมาะ พอควร โดยใช้เหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ทำให้คนที่ได้รับประโยชน์สามารถพึ่งพาตัวเองได้
การนำ “Model CSR-พอเพียง” มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนและการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและส่วนรวมที่นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รวมทั้งส่งผลดีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย
suwatmgr@gmail.com
ดังนั้น ปัญหาการขาดแคลนน้ำจึงเป็นปัญหาใหญ่ แต่คนไทยส่วนมากยังไม่ตระหนักมากนัก สำหรับคนที่ยังมีน้ำใช้ ก็จะคิดว่า การขาดแคลนน้ำเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ไกลตัว แต่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำหรือในชุมชนเกษตรกรรม การขาดแคลนน้ำถือเป็นและเป็นปัญหาสำคัญ
เพราะอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่ คือ การทำเกษตรกรรม หากขาดแคลนน้ำก็จะไม่สามารถทำการเกษตรให้ได้ผลดี ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรตกต่ำ ส่งผลต่อรายได้ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายในการดำรงชีพ นานวันเข้าก็ก่อให้เกิดภาวะหนี้สินตามมา จึงมีการอพยพละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม หรือภาคบริการ แต่การแยกตัวจากครอบครัวเพื่อไปทำมาหากินนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวเป็นอย่างมาก กลายเป็นสาเหตุของปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม ฯลฯ
ด้วยแรงศรัทธาต่อพระปรีชาสามารถ และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๙ จึงได้สร้างแรงบันดาลใจให้ รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สนใจศึกษา “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และต่อมาได้นำหลักของพระองค์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม โดยสร้างสรรค์เป็นโมเดลที่เรียกว่า “รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือ “Model CSR-พอเพียง”
หัวใจของ “Model CSR - พอเพียง” คือ การบูรณาการความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นที่เป็นความต้องการของชุมชน โดยไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง แต่ให้ทุกภาคส่วนช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ใช้เหตุผลในการพิจารณาว่า การช่วยเหลือนั้นจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง และทำให้คนในชุมชนมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอนาคตได้
ที่สำคัญ คือ มีการใช้ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ จะได้พัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น และใช้ความรัก ความซื่อสัตย์จริงใจ เป็นคุณธรรมทำให้เกิดความไว้วางใจ จะได้ร่วมกันพัฒนาชุมชนให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
เสียงสะท้อนจากคนในชุมชนชาวซับผุดจังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้ใหญ่สำลี แทงกันยา บอกว่า “เมื่อก่อนบ้านซับผุดยากแค้น แม้มีแหล่งน้ำแต่ไม่มีความสามารถจะเอาน้ำมาใช้ได้ เพราะว่าไม่มีงบ ไม่มีท่อ แม้มีน้ำตกอยู่แค่ภูเขาใกล้ๆ แต่ก็เอามาใช้ไม่ได้ ปลูกพืชได้ครั้งเดียวในหน้าฝน ไม่มีรายได้ทางอื่นเลย จึงลำบากยากจนมาโดยตลอด”
รัชนี เกิดชัยภูมิ แกนนำคนสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านซับผุดตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เล่าว่า
“หมู่บ้านเราโชคดีที่มีผู้ใหญ่หลายท่านให้การสนับสนุน และตั้งแต่อาจารย์ทองทิพภาเข้ามาช่วยแนะนำความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านเราก็เปลี่ยนไปในทา
ที่ดีขึ้น
“พอมีน้ำเข้ามาก็ปลูกพืชผักได้ เอามาขายในชุมชนตัวเองนี่ล่ะค่ะ ขายได้วันละสองสามร้อยกว่าบาท ก็มีเงินพอใช้ ไม่ต้องไปกู้หรือซื้อของด้วยเงินเชื่อ มาถึงทุกวันนี้ตัวเองรู้สึกดี มองเห็นคนในหมู่บ้าน มีกินมีใช้ ก็มีความสุข อยากทำให้ดีมากขึ้น และที่สำคัญ เราเริ่มเห็นคนที่เคยออกจากหมู่บ้านไปทำงานที่กรุงเทพฯ หรือที่อื่น เริ่มกลับมาทำงานที่หมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาแล้ว”
รศ.ทองทิพภา ยืนยันว่า
“โครงการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านซับผุดสัมฤทธิ์ผลได้ เพราะคนในชุมชนร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อส่วนรวม เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง ไม่รอรับแต่เงินบริจาค หรือสิ่งของสำเร็จรูป การดำเนินงานตามกรอบ “Model CSR-พอเพียง” นั้น คนในชุมชนอยากพัฒนาในด้านใด ดิฉันจะหาวัสดุอุปกรณ์มาให้ แต่ไม่มีเงินสนับสนุน โครงการต่างๆ จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ชาวบ้านต้องช่วยกันลงมือทำด้วยตนเอง เพราะต้องการให้พวกเขาจับปลาเองเป็น เขาก็จะหาปลากินเองได้ตลอดชีวิต เพราะเขาได้วิชาความรู้จากการทำงานไปแล้ว และยังได้ความภาคภูมิใจที่ได้สร้างความเจริญให้แก่หมู่บ้านตัวเอง”
ผลจากการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนตามกรอบ “Model CSR-พอเพียง” สามารถต่อยอดให้เกิดโครงการพัฒนาในด้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๕๙ มีการส่งเสริมให้คนในชุมชนขยายผลโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้านการส่งเสริมอาชีพที่กลุ่มแม่บ้านเคยแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรของหมู่บ้านเป็นน้ำพริกซับผุด มาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๔ ออกจำหน่ายอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนจาก ไกรสร กองฉลาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้นำอาชีพเสริมนี้ทำเป็นธุรกิจของชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้ให้กับชุมชน เป็นการสร้างอาชีพให้กับหมู่บ้านซับผุดไปจนถึงลูกหลานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ต่อไป โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดท่านนี้ได้ให้ยืมทุนสนับสนุนการดำเนินงานในช่วงต้นด้วย
จากคนรุ่นบุกเบิกและกลุ่มพัฒนาชุมชนรุ่นปัจจุบันที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง จึงร่วมกันวางแผนสร้างอาชีพ เพื่อให้คนรุ่นหลังไม่ต้องดิ้นรนออกไปหางานทำในต่างถิ่น ละทิ้งบ้านเกิด ซึ่งการดำเนินโครงการพัฒนาและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร คือ น้ำพริกซับผุด ได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเพชรบูรณ์อย่างเต็มที่
ขณะเดียวกัน รศ.ทองทิพภา ได้ให้สนับสนุนการสร้างเป็นโรงครัวเพื่อให้เป็นสถานที่ที่กลุ่มแม่บ้านจะมารวมตัวทำน้ำพริกด้วยกันได้มาตรฐานเพื่อให้พร้อมขอการรับรองมาตรฐาน อย. และยังได้นำคณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยไปให้คำแนะนำเรื่องการผลิต การตลาด บรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจำหน่ายให้กับกลุ่มแม่บ้านด้วย
รศ.ทองทิพภา จึงกล่าวถึงความสำเร็จโครงการนี้ว่า
“วันนี้ ดิฉันมีความสุขกับเวลาที่มองย้อนกลับไป มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ สุขที่สุด คือ สามารถขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สู่การปฏิบัติได้ ภูมิใจที่สุดที่สามารถพิสูจน์ความเชื่อ และเพราะแรงศรัทธาต่อพระองค์ท่านทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ ดีใจที่ได้เห็นพัฒนาการของชุมชนและคนในชุมชนจนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ชาวซับผุดรู้รักสามัคคี พร้อมแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมคุณค่าและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนที่สำคัญ คือ ชาวซับผุดได้เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเติบโตตามวิถีทางของชุมชนซับผุดเอง”
ข้อคิด...
นี่เป็นตัวอย่างในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นเครื่องมือกำกับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจ จึงรู้ว่า เรื่องที่จะทำนั้นมีความพอดีผลที่เห็น พอเหมาะ พอควร โดยใช้เหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ทำให้คนที่ได้รับประโยชน์สามารถพึ่งพาตัวเองได้
การนำ “Model CSR-พอเพียง” มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนและการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและส่วนรวมที่นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รวมทั้งส่งผลดีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย
suwatmgr@gmail.com