xs
xsm
sm
md
lg

ก.อุตฯ แจงจุดยืนต่อร่าง พ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการเข้าพบของนายวิษณุ ลิ่มวิบูลย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย ว่า "เป็นการมาพบเพื่อชี้แจงถึงความกังวลที่ทางสมาคมฯ มีต่อร่างพ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ…. โดยเฉพาะมาตรา 14 ที่เห็นว่าควรจะกำหนดให้ “ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ควรมีหน้าที่รับคืน จัดเก็บ รวบรวม และจัดการซากผลิตภัณฑ์ควบคุมของตนเองเท่านั้น” และให้เหตุผลว่าหากภาครัฐไม่ปรับปรุงเนื้อหาอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย เพื่อพิจารณาขอคิดเห็นและขอเสนอแนะจากทุกภาคสวนตอร่าง พ.ร.บ.ฉบับปรับปรุงแกไข ซึ่งได้เสร็จสิ้นการชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2559 โดยได้ชี้แจงและให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้จริง พร้อมเน้นการชี้แจงมิให้เกิดการบัญญัติที่ทับซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งดูแลรับผิดชอบ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535
คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กำหนดคำนิยาม “ผู้ผลิต" หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าบนผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หากไม่มียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าให้ถือว่าผู้ที่มีชื่อบนฉลากเป็นผู้ผลิต หากไม่มียี่ห้อ เครื่องหมาย หรือชื่อบนฉลากให้ถือว่าผู้ประดิษฐ์ ประกอบ หรือกระทำด้วยวิธีการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้ผลิต และให้หมายความรวมถึงผู้นำเข้าหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายด้วย” ซึ่งผู้ผลิตตามร่าง พ.ร.บ. นี้ ครอบคลุมทุกภาคส่วน มิใช่ผู้ผลิตที่เป็นเพียงโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น

"นอกจากนี้ มีการกำหนดผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในบังคับ ไว้ 5 ประเภท ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และโทรศัพท์มือถือเครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ ตู้เย็น โดยมีระยะเวลาการบังคับใช้ 2 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการรวบรวมซากอิเล็กทรอนิกส์จากบ้านเรือนมาจัดการในโรงงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โดยไม่อนุญาตให้ร้านค้าของเก่า ซาเล้งหรือผู้ใดถอดแยกชิ้นส่วน เพื่อป้องกันปัญหาการนำซากอิเล็กทรอนิกส์ไปเผาทำลายเพื่อนำโลหะมีค่ามาขาย และบางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายต่อสุขภาพอนามัย หากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม หรือดำเนินการอย่างถูกวิธี” อรรชกา กล่าว
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวฯกรมควบคุมมลพิษ ได้ใช้หลักการ Full EPR (Extended Producer Responsibility : หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต) เป็นรูปแบบ EPR ที่ให้ผู้ผลิตรับผิดชอบการพัฒนาระบบเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ทั้งทางกายภาพและทางการเงิน และได้ผ่านขั้นตอนกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนกระบวนการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ12 (คณะพิเศษ) ซึ่งมีนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธาน ในช่วงเดือน มิถุนายน 2558 - สิงหาคม 2559 ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เชิญให้สภาอุตสาหกรรมแหง ประเทศไทยพร้อมด้วยสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทยเข้าร่วมชี้แจง และได้เสร็จสิ้นการพิจารณาแล้ว
กำลังโหลดความคิดเห็น