ทุกวันนี้การบริหารจัดการน้ำไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องมีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการเพื่อสร้างความมั่นคง และยั่งยืนให้กับระบบน้ำของประเทศ
เพราะ “น้ำ คือ ชีวิต” ทรัพยากรน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนทั้งต่อการดำเนินชีวิตและในกระบวนการผลิต แต่ในปัจจุบันปัจจัยหลักที่เป็นความเสี่ยงของการจัดการน้ำในประเทศไทย คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นด้วย ที่สำคัญมลพิษทางน้ำนั้นเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
บทสรุปสภาพปัญหาด้านน้ำในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ น้ำแล้ง น้ำท่วม และคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ดังนั้น จะการบริหารจัดการน้ำอย่างไรไม่ให้ปัญหา น้ำแล้ง น้ำท่วม เกิดซ้ำซาก รวมถึงคุณภาพน้ำเสี่อมโทรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหมดไป เพื่อให้อนาคตของประเทศไทยได้มีน้ำใช้อย่างพอเพียงในทุกภาคส่วน
เรื่องการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการเพื่อสร้างความมั่นคง และยั่งยืนให้กับระบบน้ำของประเทศ
ผมมีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานนิทรรศการสัปดาห์น้ำสากล “Singapore International Water Week 2016” ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้ศึกษานวัตกรรมด้านน้ำ และเข้าร่วมประชุมกับบริษัทธุรกิจด้านน้ำ 9 แห่ง ในการบริหารจัดการน้ำของสิงคโปร์นับว่ามีความน่าสนใจมากประเทศหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่ขนาดเล็กและตั้งอยู่บนเกาะ ดังนั้น จึงขาดแคลนแหล่งน้ำจืด คุณภาพน้ำก็ไม่ดี ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่ลักษณะภูมิประเทศ 2 ใน 3 เป็นที่ลุ่ม มีทางระบายน้ำเพียง 50% ของพื้นที่ทั้งประเทศ ทำให้เมื่อถึงฤดูฝนต้องประสบปัญหาน้ำท่วมเสมอ
จากปัญหาดังกล่าว สิงคโปร์จึงมีนโยบายการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด น้ำทุกหยดต้องไม่เหลือทิ้ง พูดได้ว่าจะต้องเก็บน้ำฝนให้ได้ทุกหยดกันทีเดียว และน้ำที่ใช้ไปแล้วก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำของสิงคโปร์จึงเป็นแบบ Complete water cycle
เขาวางระบบน้ำเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่อ่างเก็บน้ำเพื่อรองรับน้ำฝน และนำเทคโนโลยีรีไซเคิลน้ำเสียมาใช้ ภายใต้ชื่อ NEWater โดยนำน้ำเสียจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมมาผ่านกรรมวิธีการกรองแบบ Microfiltration, Reverse Osmosis และฆ่าเชื้อด้วยอัลตราไวโอเลต จนได้น้ำดิบคุณภาพดี และนำกลับเข้าไปใช้ในกระบวนการผลิตและการหล่อเย็นของภาคอุตสาหกรรม ส่วนที่เหลือถูกนำไปรวมกับแหล่งน้ำดิบเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาสู่ประชาชนอีกครั้ง รวมทั้งทำระบบแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด (Desalination) ซึ่งมีโรงผลิตขนาดใหญ่อยู่บริเวณเขื่อนปากแม่น้ำโดยสร้างคู่กับโรงงานเผาขยะ เพื่อนำพลังงานที่ได้จากการเผาขยะไปใช้ในโรงงานแปลงน้ำทะเลดังกล่าว
ในการวางระบบน้ำของสิงคโปร์นั้นมีลักษณะเดียวกับแนวคิดที่อีสท์ วอเตอร์ กำลังดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบน้ำของประเทศไทย ผ่านแนวคิด 3 W Model คือ Water Grid ขยายสู่ Water Network และ Water Complex
W ตัวแรก Water Grid หรือโครงข่ายท่อส่งน้ำที่สมบูรณ์ที่สุดที่แรกในอาเซียน เชื่อมโยงแหล่งน้ำสำคัญๆ ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ไว้เกือบทั้งหมด ทำให้ภาคตะวันออกสามารถผ่านวิกฤตน้ำมาโดยตลอด นับว่า Water Grid และ Water Network เป็นการเพิ่มเสถียรภาพให้กับแหล่งน้ำต้นทุน และเมื่อแหล่งน้ำต้นทุนเพียงพอแล้วจะบริหารอย่างไรให้ใช้น้ำทุกหยดอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาสู่การใช้น้ำอย่างยั่งยืน
ส่วน W สุดท้าย คือ Water Complex เป็นทางออกในการแก้ปัญหามลพิษและคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น จากสถิติจะเห็นว่าอัตราการเกิดน้ำเสียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันนี้น้ำทิ้งจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมรวมกันแล้วมีกว่า 14 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน หากนำน้ำจำนวนนี้กลับเข้ามาใช้ในระบบได้จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับภาคอุตสาหกรรม และยังช่วยให้ไม่ต้องแย่งน้ำกับภาคการเกษตรและอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ปริมาณน้ำเสียที่จะถูกทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะก็จะลดลง เป็นการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำได้อีกต่างหาก
3 W Model เป็นการนำความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำกว่า 24 ปี มาต่อยอดธุรกิจน้ำดิบสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ในฐานะผู้ให้บริการด้านน้ำแบบครบวงจรมากกว่าการเป็นเพียงผู้ให้บริการน้ำดิบและน้ำประปาเท่านั้น เพื่อการเติบโตในระยะยาวใน 5 ปีข้างหน้านี้ อาทิ ธุรกิจบำบัดน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยในระยะเริ่มต้นจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นลำดับแรก
การไปสิงคโปร์ในครั้งนี้ นอกจากได้ศึกษาดูงานแล้ว ยังเป็นการปูทางสู่การลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านน้ำ จากการที่ผมมีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารของ Hyflux Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายระบบ Membrane อับดับหนึ่งของโลก
"ในการวางระบบน้ำของสิงคโปร์นั้นมีลักษณะเดียวกับแนวคิดที่อีสท์ วอเตอร์ กำลังดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบน้ำของประเทศไทย ผ่านแนวคิด 3 W Model คือ Water Grid ขยายสู่ Water Network และ Water Complex"
จิรายุทธ รุ่งศรีทอง
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์
เพราะ “น้ำ คือ ชีวิต” ทรัพยากรน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนทั้งต่อการดำเนินชีวิตและในกระบวนการผลิต แต่ในปัจจุบันปัจจัยหลักที่เป็นความเสี่ยงของการจัดการน้ำในประเทศไทย คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นด้วย ที่สำคัญมลพิษทางน้ำนั้นเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
บทสรุปสภาพปัญหาด้านน้ำในประเทศไทยมีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ น้ำแล้ง น้ำท่วม และคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ดังนั้น จะการบริหารจัดการน้ำอย่างไรไม่ให้ปัญหา น้ำแล้ง น้ำท่วม เกิดซ้ำซาก รวมถึงคุณภาพน้ำเสี่อมโทรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหมดไป เพื่อให้อนาคตของประเทศไทยได้มีน้ำใช้อย่างพอเพียงในทุกภาคส่วน
เรื่องการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการเพื่อสร้างความมั่นคง และยั่งยืนให้กับระบบน้ำของประเทศ
ผมมีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานนิทรรศการสัปดาห์น้ำสากล “Singapore International Water Week 2016” ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้ศึกษานวัตกรรมด้านน้ำ และเข้าร่วมประชุมกับบริษัทธุรกิจด้านน้ำ 9 แห่ง ในการบริหารจัดการน้ำของสิงคโปร์นับว่ามีความน่าสนใจมากประเทศหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเทศหนึ่งที่มีพื้นที่ขนาดเล็กและตั้งอยู่บนเกาะ ดังนั้น จึงขาดแคลนแหล่งน้ำจืด คุณภาพน้ำก็ไม่ดี ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่ลักษณะภูมิประเทศ 2 ใน 3 เป็นที่ลุ่ม มีทางระบายน้ำเพียง 50% ของพื้นที่ทั้งประเทศ ทำให้เมื่อถึงฤดูฝนต้องประสบปัญหาน้ำท่วมเสมอ
จากปัญหาดังกล่าว สิงคโปร์จึงมีนโยบายการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด น้ำทุกหยดต้องไม่เหลือทิ้ง พูดได้ว่าจะต้องเก็บน้ำฝนให้ได้ทุกหยดกันทีเดียว และน้ำที่ใช้ไปแล้วก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำของสิงคโปร์จึงเป็นแบบ Complete water cycle
เขาวางระบบน้ำเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ตั้งแต่การพัฒนาพื้นที่อ่างเก็บน้ำเพื่อรองรับน้ำฝน และนำเทคโนโลยีรีไซเคิลน้ำเสียมาใช้ ภายใต้ชื่อ NEWater โดยนำน้ำเสียจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมมาผ่านกรรมวิธีการกรองแบบ Microfiltration, Reverse Osmosis และฆ่าเชื้อด้วยอัลตราไวโอเลต จนได้น้ำดิบคุณภาพดี และนำกลับเข้าไปใช้ในกระบวนการผลิตและการหล่อเย็นของภาคอุตสาหกรรม ส่วนที่เหลือถูกนำไปรวมกับแหล่งน้ำดิบเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาสู่ประชาชนอีกครั้ง รวมทั้งทำระบบแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด (Desalination) ซึ่งมีโรงผลิตขนาดใหญ่อยู่บริเวณเขื่อนปากแม่น้ำโดยสร้างคู่กับโรงงานเผาขยะ เพื่อนำพลังงานที่ได้จากการเผาขยะไปใช้ในโรงงานแปลงน้ำทะเลดังกล่าว
ในการวางระบบน้ำของสิงคโปร์นั้นมีลักษณะเดียวกับแนวคิดที่อีสท์ วอเตอร์ กำลังดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบน้ำของประเทศไทย ผ่านแนวคิด 3 W Model คือ Water Grid ขยายสู่ Water Network และ Water Complex
W ตัวแรก Water Grid หรือโครงข่ายท่อส่งน้ำที่สมบูรณ์ที่สุดที่แรกในอาเซียน เชื่อมโยงแหล่งน้ำสำคัญๆ ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ไว้เกือบทั้งหมด ทำให้ภาคตะวันออกสามารถผ่านวิกฤตน้ำมาโดยตลอด นับว่า Water Grid และ Water Network เป็นการเพิ่มเสถียรภาพให้กับแหล่งน้ำต้นทุน และเมื่อแหล่งน้ำต้นทุนเพียงพอแล้วจะบริหารอย่างไรให้ใช้น้ำทุกหยดอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาสู่การใช้น้ำอย่างยั่งยืน
ส่วน W สุดท้าย คือ Water Complex เป็นทางออกในการแก้ปัญหามลพิษและคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น จากสถิติจะเห็นว่าอัตราการเกิดน้ำเสียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันนี้น้ำทิ้งจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมรวมกันแล้วมีกว่า 14 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน หากนำน้ำจำนวนนี้กลับเข้ามาใช้ในระบบได้จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับภาคอุตสาหกรรม และยังช่วยให้ไม่ต้องแย่งน้ำกับภาคการเกษตรและอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ปริมาณน้ำเสียที่จะถูกทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะก็จะลดลง เป็นการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำได้อีกต่างหาก
3 W Model เป็นการนำความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำกว่า 24 ปี มาต่อยอดธุรกิจน้ำดิบสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ในฐานะผู้ให้บริการด้านน้ำแบบครบวงจรมากกว่าการเป็นเพียงผู้ให้บริการน้ำดิบและน้ำประปาเท่านั้น เพื่อการเติบโตในระยะยาวใน 5 ปีข้างหน้านี้ อาทิ ธุรกิจบำบัดน้ำเสียและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยในระยะเริ่มต้นจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นลำดับแรก
การไปสิงคโปร์ในครั้งนี้ นอกจากได้ศึกษาดูงานแล้ว ยังเป็นการปูทางสู่การลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านน้ำ จากการที่ผมมีโอกาสได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารของ Hyflux Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายระบบ Membrane อับดับหนึ่งของโลก
"ในการวางระบบน้ำของสิงคโปร์นั้นมีลักษณะเดียวกับแนวคิดที่อีสท์ วอเตอร์ กำลังดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับระบบน้ำของประเทศไทย ผ่านแนวคิด 3 W Model คือ Water Grid ขยายสู่ Water Network และ Water Complex"
จิรายุทธ รุ่งศรีทอง
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อีสท์ วอเตอร์