xs
xsm
sm
md
lg

ซีพีเอฟ ต่อยอดวิถีกิจการที่ยั่งยืน เดินหน้า “องค์กรที่เคารพสิทธิเด็ก”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง หลักการสิทธิเด็ก และหลักปฏิบัติทางธุรกิจ (Children’s Rights and Business Principle) ให้แก่บุคลากรด้านซีเอสอาร์ของซีพีเอฟ
ซีพีเอฟร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ จัดอบรมพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านซีเอสอาร์ได้เข้าใจถึงหลักการปฏิบัติธุรกิจที่เคารพสิทธิเด็ก เมื่อเร็วๆ นี้ นอกจากนำไปส่งเสริมและต่อยอดนำหลักปฏิบัติทางธุรกิจที่เคารพสิทธิเด็กในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ (Workplace) ด้านการตลาด (Marketplace) และการดำเนินกิจกรรมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม (Community and Environment) ยังแสดงถึงเจตนารมณ์ที่นำองค์กรก้าวไปสู่วิถียั่งยืน

สว่าง สุขศรี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง หลักการสิทธิเด็ก และหลักปฏิบัติทางธุรกิจ (Children’s Rights and Business Principle) ให้แก่บุคลากรด้านซีเอสอาร์ของบริษัทฯ เพื่อส่งเสริมให้ทุกหน่วยธุรกิจของบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการสนับสนุนและเคารพสิทธิพนักงานทั่วทั้งองค์กร รวมถึงเด็กและเยาวชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ควบคู่กันไปทั้งองค์กรและประชากรเด็กอย่างยั่งยืน
“การอบรมในครั้งนี้ เป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัทฯ ได้ประกาศไว้และส่งเสริมให้พนักงานทุกคนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มรวมถึงเด็กได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เสมอภาคและเป็นธรรม และการที่พนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจและคำนึงถึงความสำคัญของหลักสิทธิเด็กจะมีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจตามหลักสิทธิมนุษยชนได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ หลักการสิทธิเด็กและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ เป็นหลักการที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การยูนิเซฟ UN Global Compact และองค์กรช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจได้มีส่วนร่วมในการนำหลักการดูแลประชากรเด็กเข้าไปอยู่ในกระบวนการดำเนินธุรกิจขององค์กร ตามค่านิยมหลักขององค์กร คือ 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนที่การดำเนินธุรกิจต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ ประชาชนและบริษัท ควบคู่กันไป
เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนในองค์กรยึดถือและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ซีพีเอฟจึงกำหนด 3 แนวทางที่สอดคล้องกับหลักการสากล ได้แก่ 1. Respect การส่งเสริมให้ทุกคนเคารพสิทธิ์ที่ทุกคนพึงมีตามหลักการสิทธิมนุษยชน 2. Protect การตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ 3. Remedy การจัดการข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหน่วยงาน พร้อมพัฒนาช่องทางการสื่อสารแบบสองทาง เพื่อส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้รู้และเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ บริษัทฯยังส่งต่อนโยบายสิทธิมนุษยชนให้คู่ค้าธุรกิจของบริษัทได้มีแนวทางการบริหารจัดการที่สอดคล้องกันตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต
สว่าง สุขศรี
ชูโรดแมป-บ้านแห่งความสุข
สว่าง กล่าวเสริมว่า ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดกิจกรรมที่สอดคล้องตามหลักสิทธิเด็ก ทั้งการดำเนินงานในสถานประกอบการ กระบวนการด้านการตลาดที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก รวมถึงการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในชุมชนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม
“สถานประกอบการของบริษัทฯ บางแห่งได้ดำเนินโครงการนำร่องเรื่องการดูแลพนักงานที่ตั้งครรภ์และมีบุตร เช่น การจัดมุมคุณแม่ให้พนักงานที่ตั้งครรภ์ได้พักผ่อน มีพยาบาลตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษา มีกิจกรรมส่งเสริมรายได้ ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้นำด้านอาหาร ความตระหนักในหลักสิทธิเด็กก็จะเข้าไปช่วยต่อยอดในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมกับวัยเด็กมากขึ้น รวมถึงการต่อยอดออกไปทำกิจกรรมที่มีส่วนพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในชุมชนที่อยู่รอบๆ สถานประกอบการอีกด้วย”
หลังจากการอบรม หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ ซีพีเอฟ จะนำข้อเสนอของผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับการต่อยอดโครงการที่ช่วยส่งเสริมตามหลักการสิทธิเด็กในหน่วยงาน มาพิจารณาถึงประโยชน์ และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละโครงการ เพื่อกำหนดเป็น Roadmap และแผนงานการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรต่อไป รวมถึงการเสริมสร้างให้องค์กรซีพีเอฟเป็น “บ้านแห่งความสุข” อีกด้วย
เรียกว่าเป็นการต่อยอดในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของไทยที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI) และเป็น 1 ใน 5 บริษัท จาก 31 บริษัทในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร (FOA Food Products) ในปีที่ผ่านมาซึ่งเข้าร่วมตอบแบบประเมินเป็นปีแรก รวมถึงยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในโครงการเพื่อสังคมสำหรับเด็กโดยเฉพาะอย่างเช่น โครงการซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต ซึ่งในปีนี้ดำเนินกิจกรรมเป็นปีที่ 2
ต่อยอดกลยุทธ์การดำเนินงานซีเอสอาร์สู่ความยั่งยืนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
ชูยุทธศาสตร์ CSR สู่ความยั่งยืนสังคม

วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในปี 2559 ซีพีเอฟยังมุ่งมั่นเดินหน้างานด้านซีเอสอาร์สู่ความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก ได้แก่ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ ซึ่งเป็นโรดแมปที่บริษัทฯวางไว้ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในระยะยาว โดยปีนี้ได้มีการทบทวนและพัฒนากรอบการดำเนินงานหลายด้าน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลก ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนความคาดหวังที่สูงขึ้นของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในเวทีการค้าโลก
“บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านความยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ โดยจะทำการทบทวนกลยุทธ์การดำเนินงานซีเอสอาร์สู่ความยั่งยืนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ”
กำลังโหลดความคิดเห็น