ในโอกาสครบ 100 ปีชาตกาลของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2559 บรรดาลูกศิษย์และผู้ที่เคารพศรัทธา ที่สังกัดในสถาบันหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมทางวิชาการและจัดพิมพ์หนังสือประมวลแนวคิดรวมทั้งผลงานเพื่อการเรียนรู้ เป็นการรำลึกถึงเกียรติคุณของท่านอย่างคึกคัก
ครั้นเมื่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือUNESCOประกาศยกย่องให้ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ด้านการศึกษาและด้านสังคมและมนุษยศาสตร์
คณะกรรมการบริหารของ UNESCOได้มีคำสดุดีสรุปเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ ดังนี้
“ดร.ป๋วย ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งเป็นนักการศึกษาและข้าราชการที่โดดเด่นและมีจริยธรรมดีอย่างหาที่ติมิได้ จนเป็นที่ยอมรับว่ามีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาประเทศชาติ ท่านเป็นแกนกลางในการวางรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย และในการปรับปรุงระบบการศึกษาขั้นสูงของประเทศ โดยใช้ความรู้ ความสามารถของท่านในการทำงานทุกชิ้นให้เสร็จได้อย่างถูกทำนองคลองธรรม เป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมเป็นพิเศษ
ลักษณะการทำงานเช่นนี้ ส่งผลต่อพฤติกรรมของอนุชนรุ่นหลังให้เลิกยึดถือแบบอย่างของผู้ที่ได้ความสำเร็จมาจากการโกงกิน ที่ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตนเองและให้กล้ายึดถือความถูกต้องโดยไม่ยอมจำนนต่ออำนาจ
วัตรปฏิบัติของดร.ป๋วย เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางออกไปในระดับภูมิภาคด้วย เห็นได้จากการที่ท่านได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาการบริหารภาครัฐ รางวัลที่เป็นเสมือนรางวัลโนเบลของเอเชีย
ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานของดร.ป๋วย เป็นเครื่องยืนยันว่า บุคคลเพียงผู้เดียวเท่านั้น ก็สามารถนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศของตนได้อย่างใหญ่หลวง”
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานเรื่องนี้อย่างแข็งขันตั้งแต่ต้นจนสำเร็จได้ขอให้ศ.ดร.อัมมารสยามวาลาเรียบเรียงประวัติและผลงาน จากนั้นเสนอเรื่องโดยกระทรวงศึกษาธิการไปยังองค์กรของสหประชาชาติ
ในปีนี้ที่ประชุมใหญ่ของ UNESCO อนุมัติการยกย่องแก่บุคคลที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 41 คน จากการเสนอของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเล่าว่า ได้อ่านบทสรุปผลงานและคุณความดีของผู้ที่ได้รับการยกย่องเกือบทั้งหมด ก็พบว่า บทสรุปสำหรับท่านอาจารย์ป๋วย มีความลึกซึ้งและกินใจมากเป็นพิเศษ
“บทสรุปนี้มิได้เกินเลยจากความเป็นจริงไปเลย ข้อความมีความหมายดีทุกตอน และที่ผมชอบมากที่สุดคือ วลีที่เขียนว่า “a prominent educator and civil servant of impeccable ethics” ซึ่งผมขอแปลว่า “นักการศึกษาและข้าราชการที่มีผลงานโดดเด่นและจริยธรรมดีอย่างไม่มีที่ติ” เพราะจริยธรรมในการทำงานของท่านอาจารย์ป๋วยดีอย่างหาที่ติไม่ได้จริงๆ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวย้ำถึงประโยคสุดท้ายของคำสดุดีที่ขมวดว่า “The career of Dr. Puey Ungphakorn confirms that a single individual can make significant contributions to the progress of his country” นั่น ก็เป็นข้อเท็จจริงซึ่งทุกคนที่มีใจเป็นธรรมยอมรับว่าเป็นความจริงที่สุด
คุณลักษณะของแนวคิดและวิถีปฏิบัติซึ่งกล่าวได้ว่าเป็น DNA ของอาจารย์ป๋วยก็คือ “หลักธรรมาภิบาล” หรือ Good Governance ซึ่งผมเห็นว่าเป็นจุดยืนสำคัญในการดำเนินชีวิต และการทำงานของท่าน คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดมั่นความถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมทั้งต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มลูกศิษย์และผู้เคารพศรัทธาในตัวอาจารย์ป๋วยจึงร่วมกันก่อตั้ง “สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์” เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพื่อส่งเสริมคุณภาพสังคมและการพัฒนาชนบท พัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งอาจารย์ป๋วยมีความมุ่งมั่นและเป็นตัวอย่างที่ดีมากในเรื่องนี้
เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำเนินกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty) เปิดเผย โปร่งใส (Transparency) มีความเป็นธรรมและยุติธรรม (Fairness) มีคุณภาพและประสิทธิภาพ (Quality and Efficiency) สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเห็นความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ที่มีจำนวนกว่า 90% ของธุรกิจโดยรวม จึงมีผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้จัดโครงการมอบรางวัลให้แก่กิจการ SME ที่ดีเด่นด้านธรรมาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2544 เพื่อเป็นกำลังใจและสร้างการรับรู้ตัวอย่างที่ดี
ผลการตัดสินรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2559 และดีเด่นแต่ละประเภท ได้แก่
1.บริษัท ดีไซน์ ออลเทอร์เนทีฟ จำกัด
2.บริษัท สยาม สกูร โบลท แอนด์ นัท จำกัด
3.บริษัท เดลแมกซ์แมชินเนอรี่ จำกัด
4.บริษัท โกลด์มิลด์ จำกัด
ข้อคิด....
กระบวนการพิจารณาคัดเลือกธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME ที่มีคุณภาพและคุณธรรมขึ้นรับ “รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2559 จากสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมกับการฉลองวาระ 100 ปีชาตกาลของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งได้รับยกย่อง UNESCO ให้เป็น “บุคคลสำคัญของโลก”
ผู้นำ 4 กิจการ SME ที่ขึ้นรับรางวัลในวันนั้นคงภูมิใจกับเกียรติและการรับรองว่าเป็นกิจการที่มีมาตรฐานความเก่งและดีที่จะก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป
นี่เป็นตัวอย่างที่พิสูจน์ได้ว่ากิจการที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม ใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารกิจการด้วยความซื่อสัตย์และสร้างคุณค่าที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่ใช่ทำได้เฉพาะองค์กรขนาดใหญ่นั้นไม่จริง
เพราะรางวัลธรรมาภิบาลหรือ CG เป็นเครื่องยืนยันว่ากิจการขนาด SME หรือตัวบุคคลก็สามารถใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการได้ ขอเพียงมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง และนี่คือ สิ่งที่สังคมต้องการความยั่งยืนตามกติกาโลกยุคใหม่
suwatmgr@gmail.com
ครั้นเมื่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือUNESCOประกาศยกย่องให้ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ด้านการศึกษาและด้านสังคมและมนุษยศาสตร์
คณะกรรมการบริหารของ UNESCOได้มีคำสดุดีสรุปเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ ดังนี้
“ดร.ป๋วย ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งเป็นนักการศึกษาและข้าราชการที่โดดเด่นและมีจริยธรรมดีอย่างหาที่ติมิได้ จนเป็นที่ยอมรับว่ามีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาประเทศชาติ ท่านเป็นแกนกลางในการวางรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย และในการปรับปรุงระบบการศึกษาขั้นสูงของประเทศ โดยใช้ความรู้ ความสามารถของท่านในการทำงานทุกชิ้นให้เสร็จได้อย่างถูกทำนองคลองธรรม เป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมเป็นพิเศษ
ลักษณะการทำงานเช่นนี้ ส่งผลต่อพฤติกรรมของอนุชนรุ่นหลังให้เลิกยึดถือแบบอย่างของผู้ที่ได้ความสำเร็จมาจากการโกงกิน ที่ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตนเองและให้กล้ายึดถือความถูกต้องโดยไม่ยอมจำนนต่ออำนาจ
วัตรปฏิบัติของดร.ป๋วย เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางออกไปในระดับภูมิภาคด้วย เห็นได้จากการที่ท่านได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาการบริหารภาครัฐ รางวัลที่เป็นเสมือนรางวัลโนเบลของเอเชีย
ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานของดร.ป๋วย เป็นเครื่องยืนยันว่า บุคคลเพียงผู้เดียวเท่านั้น ก็สามารถนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศของตนได้อย่างใหญ่หลวง”
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานเรื่องนี้อย่างแข็งขันตั้งแต่ต้นจนสำเร็จได้ขอให้ศ.ดร.อัมมารสยามวาลาเรียบเรียงประวัติและผลงาน จากนั้นเสนอเรื่องโดยกระทรวงศึกษาธิการไปยังองค์กรของสหประชาชาติ
ในปีนี้ที่ประชุมใหญ่ของ UNESCO อนุมัติการยกย่องแก่บุคคลที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 41 คน จากการเสนอของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเล่าว่า ได้อ่านบทสรุปผลงานและคุณความดีของผู้ที่ได้รับการยกย่องเกือบทั้งหมด ก็พบว่า บทสรุปสำหรับท่านอาจารย์ป๋วย มีความลึกซึ้งและกินใจมากเป็นพิเศษ
“บทสรุปนี้มิได้เกินเลยจากความเป็นจริงไปเลย ข้อความมีความหมายดีทุกตอน และที่ผมชอบมากที่สุดคือ วลีที่เขียนว่า “a prominent educator and civil servant of impeccable ethics” ซึ่งผมขอแปลว่า “นักการศึกษาและข้าราชการที่มีผลงานโดดเด่นและจริยธรรมดีอย่างไม่มีที่ติ” เพราะจริยธรรมในการทำงานของท่านอาจารย์ป๋วยดีอย่างหาที่ติไม่ได้จริงๆ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวย้ำถึงประโยคสุดท้ายของคำสดุดีที่ขมวดว่า “The career of Dr. Puey Ungphakorn confirms that a single individual can make significant contributions to the progress of his country” นั่น ก็เป็นข้อเท็จจริงซึ่งทุกคนที่มีใจเป็นธรรมยอมรับว่าเป็นความจริงที่สุด
คุณลักษณะของแนวคิดและวิถีปฏิบัติซึ่งกล่าวได้ว่าเป็น DNA ของอาจารย์ป๋วยก็คือ “หลักธรรมาภิบาล” หรือ Good Governance ซึ่งผมเห็นว่าเป็นจุดยืนสำคัญในการดำเนินชีวิต และการทำงานของท่าน คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต ยึดมั่นความถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมทั้งต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มลูกศิษย์และผู้เคารพศรัทธาในตัวอาจารย์ป๋วยจึงร่วมกันก่อตั้ง “สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์” เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพื่อส่งเสริมคุณภาพสังคมและการพัฒนาชนบท พัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งอาจารย์ป๋วยมีความมุ่งมั่นและเป็นตัวอย่างที่ดีมากในเรื่องนี้
เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำเนินกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty) เปิดเผย โปร่งใส (Transparency) มีความเป็นธรรมและยุติธรรม (Fairness) มีคุณภาพและประสิทธิภาพ (Quality and Efficiency) สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเห็นความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ที่มีจำนวนกว่า 90% ของธุรกิจโดยรวม จึงมีผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้จัดโครงการมอบรางวัลให้แก่กิจการ SME ที่ดีเด่นด้านธรรมาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2544 เพื่อเป็นกำลังใจและสร้างการรับรู้ตัวอย่างที่ดี
ผลการตัดสินรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2559 และดีเด่นแต่ละประเภท ได้แก่
1.บริษัท ดีไซน์ ออลเทอร์เนทีฟ จำกัด
2.บริษัท สยาม สกูร โบลท แอนด์ นัท จำกัด
3.บริษัท เดลแมกซ์แมชินเนอรี่ จำกัด
4.บริษัท โกลด์มิลด์ จำกัด
ข้อคิด....
กระบวนการพิจารณาคัดเลือกธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME ที่มีคุณภาพและคุณธรรมขึ้นรับ “รางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี 2559 จากสถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมกับการฉลองวาระ 100 ปีชาตกาลของดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งได้รับยกย่อง UNESCO ให้เป็น “บุคคลสำคัญของโลก”
ผู้นำ 4 กิจการ SME ที่ขึ้นรับรางวัลในวันนั้นคงภูมิใจกับเกียรติและการรับรองว่าเป็นกิจการที่มีมาตรฐานความเก่งและดีที่จะก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป
นี่เป็นตัวอย่างที่พิสูจน์ได้ว่ากิจการที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม ใช้หลักธรรมาภิบาลบริหารกิจการด้วยความซื่อสัตย์และสร้างคุณค่าที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่ใช่ทำได้เฉพาะองค์กรขนาดใหญ่นั้นไม่จริง
เพราะรางวัลธรรมาภิบาลหรือ CG เป็นเครื่องยืนยันว่ากิจการขนาด SME หรือตัวบุคคลก็สามารถใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการได้ ขอเพียงมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง และนี่คือ สิ่งที่สังคมต้องการความยั่งยืนตามกติกาโลกยุคใหม่
suwatmgr@gmail.com