วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการศึกษาเพื่อสังคมในกลุ่มซีพี ออลล์ จัดนิทรรศการโครงการ “หน่อนวัตกรรม ครั้งที่ 5” งานแสดงนวัตกรรมของนักศึกษาต่อยอดแนวคิดด้านนวัตกรรมเพื่อสังคม เมื่อเร็วๆ นี้
โครงการ “หน่อนวัตกรรม ครั้งที่ 5” (Genesis Of Innovations Panyapiwat Season 5) นั้นจัดเป็นประจำทุกปีเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์, ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์และวิทยาลัยเครือข่ายในความร่วมมือ นำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดจากการเรียนรู้ควบคู่กับการปฎิบัติงาน ถือว่าเป็นการจัดประกวดผลงานนวัตกรรมเพื่อยกระดับจากวิทยาลัยสู่เวทีระดับประเทศ ภายใต้การสนับสนุนจากซีพี ออลล์
ในปีนี้มีผลงานเข้าประกวดจำนวน 20 ผลงานจากกว่า 13 วิทยาลัยทั่วประเทศ ประกอบด้วยวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PTC), ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ (PLC) และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในความร่วมมือ”
สำหรับผลการประกวดนวัตกรรม มีทีมชนะเลิศ 4 ทีมได้แก่
(1) นวัตกรรม “พยุงถุงน้ำแข็ง” จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
(2) นวัตกรรม “ตระกร้าอเนกประสงค์” จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพานิชยการเชียงใหม่
(3) นวัตกรรม “ถาดรองน้ำใต้ตู้แช่น้ำแข็ง” จากศูนย์การเรียน ซีพี แรม ลาดหลุมแก้ว
(4) นวัตกรรม “เครื่องมือถอดหัวจ่ายน้ำร้อน” วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การจัดงาน “หน่อนวัตกรรม” เป็นนโยบายที่วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการศึกษาในกลุ่ม ซีพี ออลล์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลงานของเยาวชนไทยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน”
ซีพี ออลล์ ส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการก่อตั้งสถาบันการศึกษา 3 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PTC), ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ (PLC) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) โดยสถาบันการศึกษาทั้ง 3 แห่งนี้ เปิดสอนในรูปแบบของการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฎิบัติงานจริง เพื่อผลิตเยาวชนให้เข้าใจโลกของการทำงานและประสบความสำเร็จในการทำงาน อันเกิดจากการบ่มเพาะความพร้อมทางวุฒิภาวะที่ถูกสั่งสมมาตั้งแต่ขณะเรียน การได้เห็นโลกของการทำงานที่แท้จริงคือสิ่งที่ ซีพี ออลล์ มีความภูมิใจที่มีส่วนช่วยให้ประเทศชาติในการผลิตและพัฒนานักเรียนมืออาชีพให้กับสังคม
ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PTC) ได้จัดการศึกษาในระบบทวิภาคีหรือการเรียนทฤษฎีควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติงาน (Work Based Learning) มาตั้งแต่ปี 2548 ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก, สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้การทำงานจริง โดยเรียน 3 เดือน สลับกับภาคปฏิบัติ 3 เดือน ตลอด 3 ปี สามารถทำงานได้จริงทันทีที่จบการศึกษา พร้อมมีรายได้ตามมาตรฐานแรงงานระหว่างฝึกปฏิบัติ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง
ในปีการศึกษา 2559 นี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PTC) และศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ (PLC) กำลังเปิดรับนักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 2,600 คน รวมเป็นทุนการศึกษากว่า 111 ล้านบาท ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้วกว่า 10,000 คน และตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ได้มอบทุนการศึกษาเป็นมูลค่ารวมกว่า 1,600 ล้านบาท นอกจากการส่งเสริมทักษะความรู้ด้านทฤษฎีแล้ว การส่งเสริมให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับความรู้และนำผลงานเพื่อพัฒนาสังคมก็เป็นสิ่งที่วิทยาลัยฯได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอด