-พีทีที โกลบอล เคมิคอล เป็น 1 ใน 10 บริษัทกลุ่มเคมีภัณฑ์ชั้นนำของโลก ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนจาก DJSI ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน
- ชู 3 กลยุทธ์หลัก และเส้นทางการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ผู้ผลิตปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ครบวงจรของประเทศไทย ได้รับการประกาศจาก RobecoSAM ผู้ทำการประเมินความยั่งยืน “ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์” (Dow Jones Sustainabllity Indice-DJSI) ให้เป็น 1 ใน 10 บริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่มเคมีภัณฑ์ (Chemicals Sector) ประจำปี 2558 นับเป็นการได้รับเลือกต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี (ปี 2556-2558) และเป็นหนึ่งเดียวของเอเชียที่โดดเด่นในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์
การประเมินของ DJSI นั้นคัดเลือกบริษัทในตลาดทุนทั่วโลกที่เป็นผู้นำที่มีผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากกว่า 3,000 ราย และประเมินผลจากข้อมูลของบริษัทเพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียงบริษัทที่มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน โดย Chemicals Sector มี 86 บริษัท จากนั้นคัดเลือกบริษัทที่มีความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย Chemicals Sector มี Leader เพียง 10 บริษัทเท่านั้น และ PTTGC ได้เป็น 1 ใน 10 บริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเมื่อเทียบกับทั่วโลก
“RobecoSAM จัดอันดับให้บริษัทฯ ได้รับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน จึงเสมือนเครื่องวัดผลลัพธ์การขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องของ พีทีที โกลบอล เคมิคอล” สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล กล่าว
PTTGC ได้รับจัดอันดับ DJSI TOP 10
เนื่องจาก พีทีที โกลบอล เคมิคอล ดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมานาน และได้รับการยอมรับจากองค์กรของสหประชาชาติ (United Nations) , สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development) รวมถึงสถาบันในประเทศ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้นำแนวปฏิบัติสากลด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาปรับใช้ในองค์กร เช่นการคิดค้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการลงทุน Enclosed Ground Flare และการลงทุน Bio-projects
กระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่พีทีที โกลบอล เคมิคอล นำมาใช้ไม่ได้มีเพียงแค่ภายในองค์กรเท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตไปสู่ Supply Chain เช่น คู่ค้า Contractors และ Customers ด้วย เช่น มีการจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of conduct) ควบคุม ติดตาม และให้คำแนะนำ อีกทั้งการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความชัดเจน เช่น การตั้งเป้าและความพยายามลดก๊าซเรือนกระจก มีการจัดทำบัญชี GHG หรือ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ กล่าวว่า กลุ่มบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล มุ่งดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานโลก ซึ่งในฐานะเป็นบริษัทของคนไทยที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของทุกภาคส่วนที่มีความเชื่อมโยงกัน บริษัทฯ จึงวางแนวทางการบริหารจัดการทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบโดยมีคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Committee, SDC) รับผิดชอบในการกำกับดูแลการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในองค์กร
คณะกรรมการฯ ดังกล่าว ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแผนงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ และมาตรฐานสากล และเป็นคณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและการริเริ่มการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับกลุ่มบริษัทฯ ที่ไปสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ในการยึดมั่นในนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นจุดศูนย์กลางในการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านนี้โดยตรงต่อประธานกรรมการคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริษัทอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วยกรรมการ 11 คน มาจากผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ (Senior Vice Presidents, SVP) และผู้บริหารระดับสูงอื่นๆ จากแต่ละหน่วยธุรกิจและหน่วยงาน
3 กลยุทธ์หลักมุ่งแนวทางเติบโตที่ยั่งยืน
ในปัจจุบัน พีทีที โกลบอล เคมิคอล ใช้กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนที่คำนึงต่อสภาพแวดล้อม คอยติดตามและดูแลสิ่งแวดล้อม มีการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งทั้งหมดเป็นการมุ่งสร้างกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันได้ตระหนักต่อความสำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนตามธงนำ คือมุ่งไปสู่ความอย่างยั่งยืน ซึ่งมีข้อพิสูจน์ว่าชุมชนโดยรอบโรงงานผลิตทุกแห่งมีส่วนร่วมและเชื่อมั่นต่อแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เกี่ยวข้อง พีทีที โกลบอล เคมิคอล ยังใส่ใจต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมองไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตได้ยั่งยืน จึงวาง 3 กลยุทธ์หลักเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้แข็งแกร่งและยั่งยืน
1.กลยุทธ์การสร้างความยั่งยืนให้กับสินทรัพย์ในฐานการผลิตปัจจุบัน (Sustain Core) เป็นการบริหารจัดการความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบ การเฟ้นหาแหล่งวัตถุดิบสำรองเพื่อสร้างความเป็นเลิศในกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งเสถียรภาพของโรงงานและขีดความสามารถในการแข่งขันควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าสูงสุดจากธุรกิจปัจจุบัน
2.กลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กร (Accelerate Growth) โดยการขยายฐานการผลิตในธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่ตนเองเชี่ยวชาญไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ที่มีศักยภาพ โดยมุ่งพัฒนาธุรกิจในกลุ่มผลิตภัณฑ์ High Volume Specialties นอกจากจะช่วยสนองตอบความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า ยังช่วยทำให้ธุรกิจของบริษัทฯ ครบวงจรมากขึ้น และในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Green เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน เพราะสามารถต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและวัตถุดิบทางธรรมชาติของไทย
3.กลยุทธ์การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตัวขับเคลื่อน (Strengthen Enablers) เป็นการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อประสานประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยคำนึงถึงการตอบแทนสังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชนด้วยความจริงใจ
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ย้ำว่าในฐานะบริษัทของคนไทยที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจึงให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักมาตรฐานสากล โดย DJSI นั้นเป็นดัชนีประเมินกิจการชั้นนำในตลาดทุนทั่วโลกที่มีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืนซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนทั่วโลก โดยใช้เครื่องชี้วัด 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ - สังคม - สิ่งแวดล้อม
“บริษัทฯ มีการบริหารจัดการครบเครื่องในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมและแนวคิดใหม่ๆ อยู่เสมอในทุกการดำเนินงาน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต” เห็นได้จากการกำหนดทิศทางและแผนกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ดีให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปี 2558 ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ จึงนับเป็นความท้าทายสำคัญของบริษัทฯ สำหรับการดำเนินงานที่มุ่งมั่นดูแล ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กัน เพื่อสร้างความเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน”
ตามรอย พีทีที โกลบอล เคมิคอล ก้าวสู่ความยั่งยืน
ปัจจัยสำคัญที่ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล ก้าวขึ้นมายืนในจุดนี้ นับตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อ 19 ตุลาคม 2554 และสามารถก้าวขึ้นเป็นแกนนำธุรกิจเคมีภัณฑ์ของกลุ่ม ปตท. ในปัจจุบันด้วยกำลังการผลิต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ รวม 8.8 ล้านตันต่อปี และกำลังการกลั่นน้ำมันดิบและคอนดอนเสท รวม 280,000 บาร์เรลต่อวัน
ส่งผลให้วันนี้เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นครบวงจรที่ใหญ่สุดในไทย และเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เนื่องจาก พีทีที โกลบอล เคมิคอล เชื่อว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาความสมดุลใน 3 ประเด็นหลัก คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่
เศรษฐกิจ- คิดค้นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ตามความต้องการของลูกค้า สอดรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก (Innovation and Product Development) ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Products) เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร (Bioplastics) ชนิด Polylactic Acid (PLA) เป็นต้น
สังคม- สร้างการยอมรับและความไว้วางใจจากชุมชนเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น นำไปสู่การเติบโตไปด้วยกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนด้วยแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Creating Shared Value (CSV) ผ่านโครงการเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคมที่แท้จริง เช่น โครงการด้านการศึกษา : การจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระยอง (RAIST) และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ (KWIT) เป็นต้น
สิ่งแวดล้อม- ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Process) โดยการติดตั้งตัวหน่วยดักจับไอไฮโดรคาร์บอน (Vapor Recovery Unit :VRU) ที่จะปล่อยสู่บรรยากาศและติดตั้งหอเผาระบบปิดระดับพื้นดิน (Enclosed Ground Flare :EGF) ช่วยลดเขม่าและควันจากการเผาไหม้ เป็นต้น
ทั้งนี้ มีการกำหนดพันธกิจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผู้ถือหุ้น (Shareholder) : ส่งมอบผลตอบแทนที่เป็นธรรมและยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้น ด้วยการบริหารผลประกอบการที่เป็นเลิศอย่างน่าเชื่อถือ สังคม (Society) : ผสานความรับผิดชอบต่อสังคมและความใส่ใจสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คู่ค้า (Business Partner) : เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแก่คู่ค้าด้วยสินค้าและบริการเชิงนวัตกรรม และสุดท้าย คือ พนักงาน (Employee) : สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยบรรยากาศการทำงานที่เป็นสุข ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรให้ความเป็นเลิศอย่างมืออาชีพ