ธุรกิจที่รองรับแนวคิดกรีนอีกอย่างที่มีการกล่าวขานมากขณะนี้ คือ การแบ่งปันรถ หรือ Carsharing ที่มีรองรับไม่เพียงพอกับความต้องการในเมืองหลัก เช่น ซานฟรานซิสโก และบอสตัน รวมถึงยุโรป ที่ปารีส
ผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ที่ริเริ่มธุรกิจ Carsharing ได้แก่ Zip car, Car 2 Go, Getaround และ City CarShare ด้วยรถยนต์ประเภทประหยัดพลังงานและพลังงานไฟฟ้า
การสำรวจของ Innovative Mobility Research มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้จัดตั้งศูนย์ชื่อ Transportation Sustainability Research Center ตามรายงาน Green biz พบว่า นอกจากกิจการผู้ผลิตรถยนต์และกิจการรถเช่าที่คุ้นเคยในธุรกิจด้านนี้แล้ว ยังมีกิจการที่โลกนึกไม่ถึงอีกหลายธุรกิจ ได้แก่ กูเกิลและแอปเปิล ก็หันมาสนใจธุรกิจนี้ด้วยเช่นกัน
การประเมินลูกค้าในตลาด Carsharing พบว่า มีลูกค้ามากกว่า 1.5 ล้านคนในสหรัฐฯ ตามรายงานของ New Research จาก UC Berkeley พบว่าตัวเลข ในสิ้นเดือนมกราคม 2015 มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างน่าสนใจ จากเพียง 62,348 คนในปี 2004 และ 639,775 คนในปี 2011 และ 909,494 คนในปี 2012 และเริ่มเกินกว่า 1 ล้านคนในปี 2013 เป็นต้นมา
การเติบโตที่เพิ่มในอัตราต่ำในช่วงหลังๆ เพราะผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นน้อย และไม่ได้รวมตัวเลขของการจัดระบบ Carsharing ในกลุ่มเพื่อนพ้องที่ไม่ได้เป็นธุรกิจเป็นเรื่องๆ หรือ ไม่ได้หวังกำไรอีกส่วนหนึ่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ผู้ประกอบการที่มีความโดดเด่นในกลุ่มนี้คือ Zipcar ซึ่งเริ่มมีบริการประเภท one-way trip สำหรับพนักงานที่ทำงานนอกพื้นที่ด้วยรถ 200 คันใน 400 พื้นที่ เป็นการกระตุ้นตลาดรถเช่าราคาถูกให้เติบอย่างมากและเบียดตลาดรถเช่าประเภทระยะยาว
ผลสำรวจชี้ว่า ณ มกราคม 2015 ราว 1 ใน 3 ตลาดรถ Carsharing ในสหรัฐฯ เป็นประเภท One-way Carsharing service โดยเชื่อว่าได้รับอานิสงส์มาจาก Sharing Model รถจักรยานที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ในเมืองต่างๆ ในสหรัฐฯ จึงทำให้ผู้ที่วางแผนพัฒนาเมืองตามแนวคิดกรีน ให้ความสนใจในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายประเภทของพาหนะออกมาสู่รถยนต์ด้วย เพื่อให้ครอบคลุมการเดินทางมากขึ้น
ระบบ bikesharing เป็นระบบที่ให้บริการเฉพาะจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง หรือแบบ One-way เป็นหลัก เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความยืดหยุ่น ไม่ถูกจำกัดกรอบเกินไป
ในยุโรป ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้เป็นผู้ผลิตรถยนต์ในตลาดระดับบน ให้บริการในลักษณะที่ One-way เป็นส่วนใหญ่ ในรูปแบบ Floating ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถจอดรถไว้ที่ใดก็ได้ แตกต่างจากโมเดลเน้นสถานีที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือพร้อมจอดเป็นสำคัญอย่างเช่น Zipcar
อย่างเช่น ระบบบริการ DriveNow ของบีเอ็มดับบลิว ที่ใช้รถไฟฟ้าให้บริการคิดเป็นรายนาที ในยุโรปและในอ่าวซานฟรานซิสโก
ส่วนผู้ประกอบการราย Car2Go ผู้ให้บริการประเภท One-way carsharing ได้ถูกกิจการย่อยในเครือของเมอร์เซเดส เบนซ์ซื้อมา เพื่อขยายกิจการในยุโรปและอเมริกาเหนือในบริเวณตัวเมือง แบบการเช่าตามความต้องการเฉพาะราย เป็นบริการที่ควบคู่กับการเดินทางด้วยระบบสาธารณะ
ส่วนประเภทรถยนต์ที่ใช้ในบริการอย่างกรณี ZipCar ใช้รถของฮอนด้า รวมทั้งของฟอร์ด ก็ทดสอบรถแบบนี้ในอินเดีย เป็นหน้าตาของ Smart car หรือ EV (Electric Vehicles) รวมทั้งเยอรมนีก็พยายามหารถกลุ่มออสตินไว้ให้บริการ ในฝรั่งเศสเองก็สนใจรถไฟฟ้าเช่นกัน และทำท่าจะเป็นผู้นำในตลาดรถประเภทนี้อีกประเทศหนึ่งเหมือนกันหลังจากลงทุนในรถประเภทนี้มากว่า 10 ปี เช่นเดียวกับเดมเลอร์ เบนซ์
การประมาณการสถานการณ์ของตลาด Carsharing Service ในตลาดสหรัฐฯ ในอนาคต ที่ผ่านมาถือว่า เป็นต้นแบบดั้งเดิม ที่ต้องมองพัฒนาการในอนาคตต่อไป เพราะบางรายอย่าง Hertz Connect เป็นกิจการแรกที่เริ่มสนใจรถไฟฟ้าระดับไฮเวย์-เรท ในสหรัฐฯ แทนที่จะเป็นรถแบบคลาสสิกแบบดั้งเดิม ที่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองที่จราจรหนาแน่นเป็นหลักและที่สนามบิน
ตลาดคาดว่า ZipCar จะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของตลาด อาจจะเป็นการจัดตั้ง Car Club Street car ที่จะเริ่มในลอนดอนและเมืองหลักๆ อื่นในอังกฤษ และพยายามรุกสู่ตลาด Peer-to-Peer หรือ P2P Carsharing ซึ่งเป็นตลาดส่วนที่ Car2 GO เองก็สนใจอยู่
โมเดล Carsharing ทำไมโตเร็ว
เพราะมีข้อแตกต่างจากกิจการรถเช่าอย่าง Avis หรือ Enterprise และ Hertz ที่เป็นเที่ยวๆ ไป (Round-trip focus) ในมุมมองของผู้ใช้บริการ รถเช่ากับรถแบบ Carsharing มีความแตกต่างกันที่ค่าใช้จ่ายแบบ Carsharing จะต่ำกว่า เนื่องจากไม่ใช่ค่าใช้จ่ายประจำทุกเดือน แต่เป็นการจ่ายตามความจำเป็น
รวมถึงปัจจัยที่สร้างแรงกดดันจากราคาก๊าซที่แพงขึ้น ค่าทางด่วนและโทลล์เวย์ที่แพงขึ้น อัตราภาษีรถที่แพงขึ้น อาจจะทำให้ผู้บริโภคหาทางเลือกอื่นนอกจากเป็นเจ้าของรถยนต์เองเหมือนเดิม และอาจจะรวมถึงการเปลี่ยนพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การเดินทาง ซึ่งผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ถือเป็นโอกาสในการมอบทางเลือกให้แก่ตลาดเพิ่มขึ้น