xs
xsm
sm
md
lg

ปส. มุ่งสร้างสังคมเครือข่ายเฝ้าระวังภัยทางรังสีภาคอีสาน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ลงพื้นที่ให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจ สานสัมพันธ์กับเครือข่ายเฝ้าระวังภัยทางรังสีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น เพื่อตอกย้ำความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
14ส.ค.นี้ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัด “กิจกรรมสัมพันธ์เครือข่ายเฝ้าระวังภัยทางรังสี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)” ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ห้องหน้าเมือง ชั้น ๓ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น โดยมี วิไลวรรณ ตันจ้อย รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และ วิวัฒ เมธีวรรณกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ร่วมเป็นประธานเปิดงาน กล่าวถึงความสำคัญของพลังงานนิวเคลียร์ในด้านของพลังงานทดแทน ว่าเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นที่ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนในท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม

วิไลวรรณ ตันจ้อย รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า เนื่องจาก ปส. มีเครือข่ายสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีในอากาศ และใต้น้ำ รวมจำนวน 20 แห่ง ติดตั้งครอบคลุมหลายส่วนของประเทศ และจังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีติดตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป้าประสงค์หลักคือ การให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นที่ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ปส. ยังมีการจัดตั้ง “ศูนย์ปรมาณูเพื่อสันติภูมิภาค” ใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออก ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี และภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ซื่งศูนย์ปรมาณูเพื่อสันติภูมิภาคทั้ง 3 แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานย่อยของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้พลังงานปรมาณู รวมทั้ง ให้บริการงานที่เกี่ยวข้องกับ ปส. ในแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่ตามภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น โดยในอนาคตคาดว่าจะมีการขยายการจัดตั้งศูนย์ปรมาณูเพื่อสันติภูมิภาคเช่นนี้ให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยต่อไป
โดยภายในงานเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเครือข่ายภาคเหนือเกี่ยวกับการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางรังสีให้ประชาชน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมฐานปฏิบัติการทางรังสี เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนเพิ่มมากขึ้นด้วยวิธีที่เข้าใจง่ายและสามารถทดลองได้ด้วยตนเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น