xs
xsm
sm
md
lg

รพ.พญาไท 2 ตั้งเป้า “องค์กรต้นแบบลดโลกร้อน”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พนักงานทุกฝ่ายของ รพ.พญาไท 2 เข้ามามีส่วนร่วมรณรงค์ และจะทำให้เกิดจิตใต้สำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน
นายแพทย์อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์
เผยความท้าทายและความสำเร็จในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ผอ.รพ.พญาไท 2 ชี้ต้องมีวิสัยทัศน์ วางนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน พร้อมต้องเข้าใจปัญหาและเดินหน้าแก้ไขอย่างจริงจัง ยอมรับการปลูกจิตใต้สำนึกให้บุคลากรรักษ์โลกร้อนเป็นเรื่องยากที่สุด

นายแพทย์อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึง ความท้าทาย และความสำเร็จของกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ในฐานะที่เป็นองค์กรซึ่งได้รับรางวัลของการไฟฟ้านครหลวง และเป็นองค์กรเดียวที่ได้รางวัลประเภทดีเลิศ

“เริ่มจากเรื่องการประกันคุณภาพของโรงพยาบาล ปัญหาทั่วไปที่เราเจอคือ กรรมการลงไปไม่ถึงพื้นที่ พอออกไปนอกห้องแล้วทำไม่เป็น เราจึงตั้งโครงสร้างที่มีคณะทำงานอยู่ประจำพื้นที่ เพราะทุกตารางนิ้วของโรงพยาบาลจะต้องมีคนดูแลเรื่องของพลังงาน หลอดไฟทุกดวง แอร์ทุกตัว ในเรื่องของพลังงานเรามีคณะกรรมการ 400 กว่าคน คุมพื้นที่ทุกตารางนิ้ว”

“เมื่อคณะกรรมการทุกคนไม่สามารถลงพื้นที่ได้ทั้งหมด เราจึงมีการแบ่งงานให้ผู้จัดการแต่ละฝ่ายมาดูงานไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุคคล ฝ่ายวิศวกร ฯลฯ เราใช้ทัศนะที่ว่า การให้พนักงานเห็นบ่อยๆ ได้ยินบ่อยๆ ทำบ่อยๆ จะทำให้เขาเกิดจิตใต้สำนึก สิ่งที่เราทำคือใช้ทุกช่องทางที่เรามี ถ้าเขาไม่เปิดคอมพิวเตอร์ หรือไม่เปิดเมลล์ เราก็ไปหาเขาถึงที่โต๊ะซึ่งจะทำแบบนี้ทุกเดือน”



ในเรื่องการลงทุน เมื่อต้องการให้พนักงานประหยัดพลังงาน แต่ถ้าองค์กรไม่มีแผนที่ดีจะไม่เกิดผล ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือกัน โรงพยาบาลเป็นองค์กรที่ต้องเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2012 มีการลงทุน 17 ล้านบาท และปี 2013 เพิ่มเป็น 18 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีที่ได้รับรางวัล สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกโครงการที่ลงทุนไป

ไม่ว่าจะเป็นโครงการติดตั้ง LED ซึ่งเดิมที่ใช้ฟลูออเรสเซนต์ลงทุน 2 ล้านบาท ใช้เวลาคืนทุน 2 ปี เซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหว ลงทุน1 ล้านบาท ใช้เวลาคืนทุน 1 ปี ติดตั้งโซลาร์เซลล์อยู่หน้าทางเข้า และมีการติดตั้งที่ดาดฟ้า เดิมมีชิลเลอร์ 2 ตัวสำหรับปล่อยลมเย็น ตัวละ 400 ตัน เปลี่ยนมาใช้ชิลเลอร์ถัง 550 ตัน 1 ตัวจ่ายลมเย็น2อาคารจากการใช้ชิลเลอร์ 800 ตัน เอาแท็งก์มาใส่ประหยัด 3 ล้านบาท มีการเปลี่ยนแอร์ โดยแอร์ที่ใช้มีการแลกเปลี่ยนลมที่เข้ามาให้เป็นอากาศบริสุทธิ์

ในการทำงานของพนักงานแต่ละวันทิ้งน้ำวันละ 8 พันลิตร ในการฟอกไต โครงการที่ทำคือการนำน้ำไปเข้าโรงบำบัดส่งไปที่ถัง แล้วเอามาปั๊มใช้ในห้องน้ำของอาคาร 2 ที่มีคนไข้ 500 กว่าคน เรื่องการต้มน้ำสำหรับทำผ้าร้อนตลอดทั้งวัน เมื่อจะมีการเสียเงินมากในช่วงพีค คือช่วง 9.00-19.00น. จึงเปลี่ยนมาต้มน้ำสำหรับเช็ดตัวคนไข้ในช่วงตี 5-6 โมงเช้า แล้วเก็บไว้ในกล่องโฟม ความพึงพอใจของคนไข้ก็ยังดีอยู่และเป็นโรงพยาบาล 8โรงพยาบาล ในเครือเข้ามาศึกษาดูงานเอาไปใช้ได้

การลดพลังงานทำให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องพลังงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเทียบกับจำนวนคนไข้ปรากฏว่าในปี 2557 ลดลง 29.4% และลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานได้มากถึง6 ล้านบาท ในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2554-2557 เท่ากับลดได้รวม 7,446 ตัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยากที่สุดคือทำอย่างไรให้พนักงานและบุคลากรมีจิตใต้สำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน
กำลังโหลดความคิดเห็น