xs
xsm
sm
md
lg

ไทยออยล์เดินหน้ากลยุทธ์ รักษาแชมป์โลกความยั่งยืน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


• ปี 2558 ไทยออยล์ ตั้งธงขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง มุ่งเป้า “บริษัทชั้นนำของโลกที่มีการใช้พลังงานเป็นเลิศ”ภายในปี 2561
• ชู 3 แนวทางหลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว
• แกะรอย ESG ไทยออยล์ ผลลัพธ์ที่นำไปสู่ความเป็นที่หนึ่งด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของโลก
อธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์
จากกรณีที่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับการประกาศจาก RobecoSAM ผู้ทำการประเมินความยั่งยืนให้แก่ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainabllity Indice-DJSI) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยให้ไทยออยล์เป็นที่หนึ่งด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของโลก เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทจดทะเบียนในอุตสาหกรรมนี้ทั่วโลก จากการที่แบ่งออกเป็น 59 อุตสาหกรรม และมีบริษัทขนาดใหญ่ของโลกกว่า 3,300 แห่ง เข้าร่วมในการประเมินความยั่งยืน

พร้อมกันนี้ ไทยออยล์ยังได้รับการจัดอันดับเป็น Gold Class ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ซึ่งเป็นรางวัลระดับสูงสุดจากรางวัล Sustainability Award 2014 โดยได้คะแนนติดอยู่ในกลุ่มสูงสุด 1% แรกของโลกในอุตสาหกรรมนี้

ซึ่งก่อนหน้านั้น ในเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ สามารถรักษาสถานภาพการเป็นสมาชิก DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่สองในกลุ่มบริษัทในตลาดเกิดใหม่ของผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซของโลก (Emerging Markets) พรัอมทั้งได้รับการจัดอันดับเป็น “ผู้นำด้านการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนในระดับกลุ่มอุตสาหกรรม”

อธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ กล่าวว่า RobecoSAM จัดอันดับให้ไทยออยล์เป็นที่หนึ่งด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซของโลก ถือเป็นตัววัดที่แสดงถึงความมุ่งมั่นขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยออยล์ที่มีกระบวนการผลิตคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ เครือไทยออยล์ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งพิสูจน์แล้วเช่นกันว่าได้รับความไว้วางใจจนกระทั่งสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนรอบโรงกลั่นได้อย่างเข้มแข็ง

“ไทยออยล์ ยังได้รับการประเมินว่า มีมาตรการในกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศ ดำเนินการผลิตโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไทยออยล์นั้นมีการทบทวนและพัฒนากระบวนการในด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศในด้านการดำเนินงานโดยมีการทดสอบสมรรถภาพและตรวจสุขภาพของพนักงานและผู้รับเหมา ตลอดจนการควบคุมการดำเนินงานอย่างเข้มงวด ทั้งหมดนี้มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบจึงก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านความปลอดภัยสูง”

ตั้งเป้าบริษัทชั้นนำของโลกด้านการใช้พลังงาน
อธิคม กล่าวถึงโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ว่าเครือไทยออยล์มีนโยบายในการบริหารจัดการพลังงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายให้ค่าดัชนีการใช้พลังงานลดลง 1.0-1.5 จุดต่อปี เพื่อให้บริษัทก้าวไปสู่กลุ่มบริษัทชั้นนำของโลกที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นเลิศ (Top Quartile Performance) ภายในปี 2561
“ ปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จมากกว่า 20 โครงการ ทำให้เครือไทยออยล์สามารถลดการใช้พลังงานลงกว่า 52.4 เมกะวัตต์ หรือเทียบเท่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ลดลง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 662 ล้านบาท”
ทั้งนี้ โครงการหลักๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ได้แก่
1)โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยกลั่นนํ้ามันดิบที่ 3 (CDU3 Crude Pre-heat Train Improvement) โดยนำพลังงานความร้อนระดับต่ำกลับมาใช้ในระบบ (Low level heat renovery) ซึ่งเป็นผลมาจากการทำแบบจำลองตรวจสอบประสิทธิภาพการถ่ายเทพลังงาน และปรับปรุงระบบแลกเปลี่ยนความร้อนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ประหยัดพลังงานได้ 26 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นค่าพลังงานที่ประหยัดได้ประมาณ 298 ล้านบาทต่อปี
2)โครงการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนชนิดแผ่นในหน่วยผลิต CCRI ระหว่างการหยุดซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ เพื่อกำจัดสาร Poly-Cyclic Aromatics สามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 5.8 เมกะวัตต์
3)โครงการลดปริมาณการใช้ไอน้ำในหน่วยกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืด สามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 3.6 เมกะวัตต์
4)โครงการเคลือบสารประเภทเซรามิกภายนอกผิวท่อในเตาให้ความร้อนสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ ในหน่วยผลิต CCRI สามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 2.5 เมกะวัตต์
5)โครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยกลั่นน้ำมันสูญญากาศที่ 3 สามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 1.2 เมกะวัตต์
6)โครงการติดตั้งระบบอัลตราโซนิคเพื่อรักษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 สามารถประหยัดพลังงานประมาณ 2 เมกะวัตต์
7)โครงการผสานความร้อนร่วมระหว่างหน่วยผลิต VDU-PDA ด้วยอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนประสิทธิภาพสูงที่บริษัท ไทยลู้บเบส สามารถประหยัดพลังงานประมาณ 4.14 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ ยังมีโครงการปรับปรุงคุณภาพก๊าซทิ้ง (Emission ImprovementProject) และโครงการผลิตสาร Linear Alkyl Benzene (LAB)ซึ่งกำหนดเริ่มดำเนินการในปีนี้
ปัจจุบัน ธุรกิจหลักกลั่นน้ำมันของเครือไทยออยล์ ยังคงสถานะผู้นำกลั่นนํ้ามันดิบสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยรองรับต่อความต้องการภายในประเทศกว่าร้อยละ 26 จึงอยู่ในฐานะองค์กรเสาหลักด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
เดินแผนกลยุทธ์ปี 2558 ธุรกิจต้องเติบโตยั่งยืน
อธิคม กล่าวว่า เครือไทยออยล์ประกาศใช้แผนแม่บทด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระยะเวลา 5 ปี (2557-2561)เป็นแนวทางการดำเนินงานทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำสู่การพัฒนาในทุกกระบวนการทำงานอย่างยั่งยืน สำหรับในปีนี้แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบได้เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอกด้วยการคำนึงผลกระทบจากการดำเนินงานที่จะเกิดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder)
หมายความว่าไม่เพียงต้องการสร้างมูลเพิ่มและการเติบโตของกิจการ แต่เป็นการคำนึงถึงการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value-CSV) ที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ชัดเจนในการนำประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance-ESG)มาใช้ในการกำหนดโครงการเพื่อจัดการผลกระทบด้านความยั่งยืน และสร้างคุณค่าร่วมให้แก่เครือไทยออยล์
ก่อนหน้านี้เครือไทยออยล์ได้สร้างระบบการบริหารจัดการธุรกิจที่ดีเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาและประกาศใช้คู่มือการบริหารจัดการความยั่งยืนมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ผ่านระบบ Operrational Excellence Management System (OEMS) ซึ่งเป็นระบบบริหารการปฏิบัติที่ส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนและการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยคู่มือดังกล่าวได้ประยุกต์ใช้กรอบการบริหารจัดการความยั่งยืนของบริษัทแม่ (บมจ.ปตท.) ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวทางความยั่งยืนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น UNGC, GRI, DJSI, WBCSD, ISO 26000 เป็นต้น และได้ถ่ายทอดสู่บริษัทต่างๆ ภายในกลุ่มปตท.มาตั้งแต่ปี 2556

ยืนยัน 3 แนวทางสร้างธุรกิจยั่งยืนในอนาคต
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ กล่าวถึงความยั่งยืนในอนาคตของเครือไทยออยล์ ว่ามุ่งเน้น ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่
1) การเติบโตของธุรกิจจากการลงทุน โดยพัฒนาแนวทางที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพมากขึ้น และตอบสนองต่อความ ต้องการของตลาดได้ดียิ่งขึ้น
2) การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมการลงทุน และการปฏิบัติงาน ซึ่งในปี 2557 เราได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร และความเสี่ยงในการลงทุนของไทยออยล์และบริษัทในเครือ เพื่อเพิ่มประสิทธิผล และครอบคลุมทุกประเด็นความยั่งยืน
3) การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จากการดําเนินงานและการลงทุนในอนาคต รวมถึงการบริหารความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อตอบสนองให้สอดคล้องต่อความต้องการที่แท้จริง รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับจากสังคม
“ในการตัดสินใจทางธุรกิจของเครือไทยออยล์ ทุกย่างก้าวจะต้องรอบคอบ รวดเร็วและมีความเป็นมืออาชีพ โดยอิงพื้นฐานจากข้อเท็จจริงและความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสําคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสมดุลและเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในระยะยาว”

แกะรอย ESG ไทยออยล์
Environment : ใส่ใจรักษาสิ่งแวดล้อม และทุกเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
       การที่เครือไทยออยล์มีแนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบนั้น ทำให้สามารถบริหารความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานได้อย่างดี ซึ่งจากแผนแม่บท 5 ปีที่นำไปสู่ความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน (Operational Excellence Management System : OEMS) ครอบคลุมถึงการดําเนินการผลิตอย่างต่อเนื่อง (Reliability) วางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ความยืนหยุ่นในด้านการผลิตและการจําหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Flexibility) ด้วยมาตรการการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
       จากการติดตามผลการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2557 พบว่าคุณภาพอากาศโดยรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน ปริมาณมลสารที่ระบายออกจากปล่องเผาไหม้เชื้อเพลิง ระดับความเข้มเสียง และคุณภาพนํ้าที่ผ่านการบําบัด อยู่ในระดับที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานของทางราชการ รวมถึงกฎหมายและข้อบังคับทั้งหมด ซึ่งนําไปสู่คุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบที่น่าอยู่ ตลอดจนการไม่มีอุบัติการณ์อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การหกรั่วไหลของนํ้ามันและสารเคมีที่มีนัยสําคัญ และการรั่วซึมของสารไวไฟ เป็นต้น
       ด้านการจัดการของเสียและวัตดุเหลือทิ้ง เครือไทยออยล์มุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และลดปริมาณของเสียให้สอดคล้องตามนโยบายการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมภายในองค์กรที่ตั้งเป้าหมายการลด การฝังกลบของเสียให้เป็นศูนย์ภายในปี 2563 (Zero Wasteto Landfill) ซึ่งปีที่ผ่านมากําหนดว่าจะต้องมีปริมาณการฝังกลบกากของเสียตํ่ากว่าร้อยละ 5 ก็ทำได้เหลือร้อยละ 4 ซึ่งต่ำกว่า เพราะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการกากของเสีย มาทําหน้าที่กําหนดมาตรการต่างๆ รวมถึงติดตาม การจัดการตั้งแต่แหล่งกําเนิดไปจนถึงขั้นตอนการจัดการที่เหมาะสมตามกฎหมายและไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม
       อย่างเช่นการแยกของเสียอันตรายออกจากของ เสียไม่อันตราย และจัดการวัสดุเหลือทิ้งด้วยหลัก 3Rs มุ่งเน้น การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซํ้า (Reuse) และการนํากลับ มาใช้ใหม่ (Recycle) ส่งผลให้ลดปริมาณการฝังกลบของเสียอย่างต่อเนื่อง หรือการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการขนส่งและกำจัดของเสียถูกต้อง โดยใช้ระบบนำทาง หรือ GPS ไปติดตั้งที่รถขนส่งของเสียของผู้รับจ้างภายนอก
       ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เครือไทยออยล์มีแนวทางติดตามดูแลและบริหารจัดการนํ้าอย่างใกล้ชิดด้วยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะทํางานบริหารจัดการนํ้าของบริษัทในกลุ่ม ปตท. (PTTGroupWaterManagementTeam) โดยมีการประชุมร่วมกันทุก 3 เดือน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและวางแผน การบริหารจัดการนํ้าของกลุ่ม ปตท. ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
       ด้านการป้องกันการหกรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี มีการพัฒนาระบบจัดการความพร้อมของอุปกรณ์ขจัดคราบ นํ้ามันให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยการตรวจสอบความพร้อม ของอุปกรณ์เป็นประจําทุกเดือน จากการดําเนินการดังกล่าว ทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจว่าจะมีอุปกรณ์ที่เหมาะสม และพร้อมใช้งานในการรับ มือเหตุการณ์การหกรั่ว ไ ห ล ตลอดเวลา ควบคู่กับการพัฒนาระบบจัดการให้สามารถ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ขจัดคราบนํ้ามันได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วน โดยการจัดวางอุปกรณ์ฯ ในพื้นที่ที่เข้าถึง ได้ง่าย อย่างเป็นระบบ มีการกําหนดรหัสของอุปกรณ์ขจัด คราบนํ้ามันเพื่อให้มีความแม่นยําและไม่ผิดพลาดในการ เรียกใช้งาน มีการฝึกซ้อมการเคลื่อนย้ายใหญ่ โดยทุกแผนก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทําให้สามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ขจัดคราบนํ้ามันได้เร็วขึ้น และช่วยให้ทุกหน่วยงานเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเอง
       รวมถึงการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) เพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยมีขั้นตอนประเมินโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย (PublicParticipation: PP) ผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอย่างน้อย 2 ครั้งตามแนวทางของสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยดําเนินการกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งหมด 7 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้รับผลกระทบโดยตรง หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทํา EIA หน่วยงานที่ทําหน้าที่พิจารณา EIA หน่วยงานราชการในระดับต่างๆ องค์กรพัฒนาเอกชน/ สถาบัน การศึกษา/ นักวิชาการอิสระ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป

Social : ชุมชนและสิ่งแวดล้อมต้องดีก่อน ธุรกิจจึงจะอยู่ได้
       ในเรื่องนี้เครือไทยออยล์ มุ่งเน้นลดความเสี่ยงและผลกระทบอันเกิดจากการทํางาน ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์อันดีและยกระดับ คุณภาพชีวิตให้กับชุมชนใกล้และชุมชนห่างไกล โดยการส่งเสริมพนักงานให้มีหัวใจอาสาให้“ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมพัฒนา” เพื่อสร้างจิตสํานึกความรับผิดชอบต่อชุมชน และสังคมควบคู่ไปกับการปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการดําเนินธุรกิจเพื่อสังคม
       มีการเชื่อมโยงให้เห็นจุดร่วมระหว่างเป้าหมายทางธุรกิจ การดูแลสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคม โดยพนักงานสามารถนําเสนอโครงการ CSR ผ่าน “กองทุนกิจกรรม คณะกรรมการจิตอาสาพนักงานเครือไทยออยล์” ซึ่งทำให้พนักงานเครือฯ สามารถดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยตนเองได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนั้นเครือฯ ได้วางกลยุทธ์การดําเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้นําความคิดในสังคมและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ อีกทั้งสนับสนุนงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม ทั้งที่เป็นสถาบัน เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย เครือข่ายชุมชนธุรกิจอื่นๆ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหากําไร (NGOs) หรือแม้แต่ปราชญ์ชุมชนในพื้นที่ทํางาน
       ปัจจุบันการทํางาน CSR ระดับประเทศเพื่อชุมชนไกล เครือฯ มีพันธมิตร รวมกว่า 41 พันธมิตร และ CSR ระดับชุมชนในพื้นที่ใกล้สถานประกอบการ ได้ร่วมทํางานกับพันธมิตรกว่า 44 พันธมิตร แสดงให้เห็นว่า ได้สร้างเครือข่ายการทํางานเพื่อสังคมอย่างกว้างขวาง รวมมีพันธมิตร CSR ทั้งสิ้น 85 พันธมิตร และยังคงวางแนวทางขยายเครือข่ายความสัมพันธ์การพัฒนางานเพื่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
       ทั้งนี้ ได้วางกรอบโครงการไว้ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ 4 ด้าน คือ การศึกษา พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และคุณภาพชีวิต ซึ่งครอบคลุมในทุกภาคของประเทศไทย
       ด้านการศึกษา เครือไทยออยล์สนับสนุนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 50 ปี ตั้งแต่การมอบทุนการศึกษาให้นักเรียน นิสิตนักศึกษาในพื้นที่รอบโรงกลั่น จ.ชลบุรี จัดทำโครงการค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์เยาวชน โครงการเยาวชน “กล้าคิด กล้านำ ทำดี” โครงการเยาวชนสานฝัน สร้างสรรค์ชุมชน ที่จ.ชลบุรี เป็นต้น
       ด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ จัดทําโครงการด้านพลังงานร่วมกับมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยน้อมนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาโครงการต้นแบบที่เป็นตัวอย่างให้กับท้องถิ่นอื่น โดยคัดเลือก ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างไกล จากระบบส่งไฟฟ้าและมาตรฐานคุณภาพชีวิตมาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งช่วยให้ชุมชนรู้จักใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาผลิตเป็นพลังงานและสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนภายใต้การดําเนินงานของชุมชนเอง รวมถึงการดําเนินโครงการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังนํ้าและเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล และระบบผลิตก๊าซชีวภาพสําหรับหุงต้มให้แก่ชาวบ้าน หน่วยงานสาธารณะ ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้เปลี่ยน Charge Controller เพื่อขยายศักยภาพการใช้ไฟฟ้าให้เสถียรยิ่งขึ้น จํานวน 1 เครื่อง ให้แก่ กองพลพัฒนาที่ 3 บ้านมะโอโค๊ะ
       ด้านการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม เช่น การไปช่วยให้ชาวบ้านบนเกาะหมากน้อย จ.พัทลุง 134 ครัวเรือนมีต้นทุนพลังงาน ทางเลือกเพื่อทดแทนก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้เองจากของเสีย ในท้องถิ่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าก๊าซหุงต้มได้ประมาณปีละ 300,000 บาทต่อปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะอินทรีย์ 15,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อปี และลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้ถึงปีละ 187,700 กิโลกรัม ต่อปี รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายการซื้อผักจากฝั่งพื้นดินมาบริโภค ถึงปีละ 190,000 บาทต่อปี
       ด้านคุณภาพชีวิตของชุมชน ปัจจุบันนี้มีศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ที่อ.ศรีราชน จ.ชลบุรี ใช้เป็นศูนย์กลางชุมชนในด้านสุขภาพ การศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงดําเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยเชิงรุกโดยพัฒนางานสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของชุมชนร่วมกับเทศบาลนครแหลมฉบัง โรงพยาบาล แหลมฉบัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ศูนย์ธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลศิริราช คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ดําเนินการสํารวจสุขภาวะชุมชนและจัดทําแฟ้มครอบครัวด้วยระบบ Family andCommunityAssessmentProgram : FAP ซึ่งสามารถนําไปต่อยอดเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชนต่อไป

Governance : เชื่อมั่นและยึดในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
       ปีที่ผ่านมา เครือไทยออยล์ ได้ทําการปรับปรุงคู่มือการกํากับดูแล กิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ เป็นครั้งที่ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ หลักเกณฑ์ และมาตรฐานต่างๆ ทั้งภายในประเทศและมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี สําหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2 5 5 5 โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หลักเกณฑ์การประเมินการกํากับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (CGR) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และการประเมิน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)
       ตลอดจนคู่มือการกํากับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ ของบริษัทต่างๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ประเด็นปรับปรุงที่สําคัญ คือ การเพิ่มนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยประกาศให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนยึดถือและปฏิบัติ และยังส่งเสริมและสนับสนุนบริษัทในเครือไทยออยล์ ที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นําคู่มือการกํากับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจฉบับนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อการดําเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม สุจริต โปร่งใส ตามหลักการกํากับดูแลกิจการอันเป็นสากล และใช้เป็นคุณค่าพื้นฐานขององค์กรชั้นนํา
       นอกจากนี้ ยังจัดทำจดหมายถึงลูกค้าและคู่ค้าเพื่อแจ้งการจัดทํานโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น ช่องทางการร้องเรียน และจัดทําจดหมายขอความร่วมมืองดให้ของขวัญปีใหม่ ของกํานัลที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนการจัดงานเลี้ยงรับรองแก่ พนักงานทุกระดับของบริษัทฯ ตลอดจนการเผยแพร่คู่มือ ดังกล่าวแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ อาทิ คู่ค้า ลูกค้า ผู้ร่วมทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ผ่านทาง เว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้มีความสอดคล้องกับหลักการกํากับดูแลกิจการและจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีแผนในการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติ ด้านการกํากับดูแลกิจการเป็นประจําทุกปี เพื่อให้มีความ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ใหม่ๆ และสถานการณ์ที่อาจมีผล กระทบต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ

สายโซ่มูลค่าของธุรกิจเครือไทยออยล์
       ปัจจุบัน บมจ.ไทยออยล์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและประสิทธิภาพสูงป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก และได้ขยายสายโซ่มูลค่าจากโรงกลั่นน้ำมันไปยังธุรกิจต้นน้ำ ได้แก่ การขนส่งน้ำมันดิบทางทะเล และธุรกิจปลายน้ำ ได้แก่ ธุรกิจปิโตรเคมีและน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ธุรกิจสารทำละลาย ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจผลิตเอธานอล ธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียม และปิโตรเคมีทางท่อและทางเรือ ธุรกิจการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจค้าสารทำละลายในประเทศเวียดนาม
       ธุรกิจการกลั่นนํ้ามัน เป็นธุรกิจหลักที่มีกําลังการกลั่นประมาณ 275,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณการกลั่นทั้งหมดใน ประเทศไทย
       ธุรกิจปิโตรเคมีและนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน ใช้วัตถุดิบพลอยได้ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสายโซ่การผลิตของโรงกลั่น ได้แก่ การผลิตสารอะโรเมติกส์ ประมาณ 838,000 ตันต่อปี นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน ยางมะตอย และนํ้ามันยาง มลพิษตํ่า (TDAE) ประมาณ 684,535 ตันต่อปี
       ธุรกิจสารทําละลาย เป็นการนําวัตถุดิบพลอยได้จากโรงกลั่นไปให้บริษัทร่วมลงทุนผลิตสารทําละลายได้ประมาณ 76,000 ตันต่อปี เพื่อการจําหน่ายสารทําละลายในประเทศไทยและเวียดนาม
       ธุรกิจผลิตไฟฟ้า เป็นการต่อยอดเพื่อสร้างเสถียรภาพทางธุรกิจ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น ขนาด 118 เมกกะวัตต์ ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากบริษัทไทยออยล์เพาเวอร์จะนําไปใช้ภายในเครือไทยออยล์ เป็นหลัก นอกจากนี้ยังสามารถผลิตพลังงานไอนํ้า ซึ่งมีปริมาณ 168 ตันต่อชั่วโมง เพื่อนําไปใช้ในพื้นที่ปฏิบัติการอื่นๆ อีกด้วย
       ธุรกิจผลิตเอทานอล เป็นธุรกิจที่รองรับนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับอนาคต โดยมีโรงงานที่เป็นบริษัทร่วมทุนทั้งหมด 3 แห่ง ซึ่งมีกําลังการผลิตรวมประมาณ 830,000 ลิตรต่อวัน
       ธุรกิจการขนส่งและอื่นๆ เป็นธุรกิจที่สนับสนุนด้านการตลาด การปรับปรุง ประสิทธิภาพและการสร้างโอกาสในอนาคต ประกอบด้วยธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์นํ้ามันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทางเรือระหว่างประเทศ โดยมีเรือบรรทุกนํ้ามันและปิโตรเคมีขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ รวม 9 ลํา นํ้าหนักบรรทุกรวม 1,132,750 ตันบรรทุก และได้ลงทุนในธุรกิจขนส่งนํ้ามันสําเร็จรูปทางท่อที่มีกําลังการส่ง 26,000 ล้านลิตรต่อปี
       นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจจัดการงาน ทรัพยากรบุคคลสําหรับกลุ่มบริษัทในเครือไทยออยล์ ตลอดจนมีการลงทุนในบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีการกลั่นและปิโตรเคมี
กำลังโหลดความคิดเห็น