xs
xsm
sm
md
lg

LPN ชูกลยุทธ์ “LPN GREEN” เดินตามรอยมาตรฐานอาคารเขียว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


LPN เดินหน้าพัฒนาโครงการภายใต้นโยบายให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชู “LPN GREEN” แนวคิดที่เป็นไปตามมาตรฐานของอาคารเขียว หรือ “GREEN BUILDING”


ปราโมทย์ ชัยพูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทมีนโยบายที่จะลงทุนโครงการใหม่ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (GREEN DESIGN CONCEPT) บริหารจัดการผลกระทบในกระบวนการก่อสร้าง (GREEN CONSTRUCTION PROCESS) ดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยหลังส่งมอบ (GREEN COMMUNITY MANAGEMENT)
อย่างไรก็ตาม แนวคิดการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมของบริษัท ตรงกับมาตรฐาน LEED หลายประการ บริษัทจึงวางกรอบพัฒนาโครงการตามแนวคิด LPN GREEN ซึ่งประกอบด้วย GREEN DESIGN - GREEN MATERIAL + EQUIPMENT - GREEN ENERGY - GREEN COMMUNITY MANAGEMENT โดยจะให้ความสำคัญในหลายมิติและเป็นไปในทิศทางเดียวกับมาตรฐาน LEED ประกอบด้วย
1. ตามมาตรฐาน LEED การพัฒนาพื้นที่จะต้องให้เกิดความยั่งยืน (SUSTAINABLE SITE DEVELOPMENT) ซึ่งสอดคล้องกับการลงทุนของแอล.พี.เอ็น.ฯที่จะเลือกที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันบริเวณใกล้เคียง ตั้งอยู่บนถนนใหญ่ โทรคมนาคมสะดวก ใกล้ระบบคมนาคม และระบบขนส่งมวลชน อีกทั้งยังชดเชยพื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์ในโครงการที่สวยงามกับพื้นที่เดิมที่เป็นที่โล่ง
2. การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (WATER EFFICIENCY) แอล.พี.เอ็น.ฯ เลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอ่างอาบน้ำ นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาใช้รดน้ำต้นไม้ในโครงการ ติดตั้งระบบการรดน้ำต้นไม้ให้เกิดสูญเสียน้อยที่สุด
3. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ENERGY EFFICIENCY) โดยการออกแบบของแอล.พี.เอ็น.ฯจะออกแบบให้มีกันสาดและระเบียง เพื่อลดแสงแดดที่ส่องเข้าในห้องชุด ออกแบบ ระบบแสงสว่าง และระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพที่เหมาะสม ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับดวงโคมแสงสว่างบริเวณสวน และในช่วงบริหารโครงการหลังส่งมอบ ได้มีบรรจุบทบาทหน้าที่ในการประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารของฝ่ายบริหารอาคาร
4. การใช้วัสดุและทรัพยากรอย่างประหยัดและเหมาะสม (MATERIAL AND RESOURCES) ทั้งนี้ จะเลือกใช้วัสดุทดแทนวัสดุที่เป็นทรัพยากรและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ออกแบบให้ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า ไม่เสียเศษ ออกแบบหันเหนือใต้ ใช้ GREEN WALL กับผนังส่วนจอดรถ เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความร้อนเข้าสู่ส่วนพักอาศัย บริหารจัดการขยะ และมาตรการคัดแยกขยะอย่างเหมาะสมในช่วงงานก่อสร้างและช่วงบริหารชุมชน
5. สร้างสิ่งแวดล้อมภายในอาคารที่มีคุณภาพกับผู้อยู่อาศัย (INDOOR ENVIRONMENT QUALITY) จะเน้นประสิทธิภาพการบริหารชุมชนที่ยั่งยืน สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม สวนรวมใจ จุดที่ผู้อยู่อาศัยทำกิจกรรมร่วมกันเป็นศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุดมีชีวิต สำหรับเยาวชนและผู้พักอาศัย
6. นวัตกรรมจากการออกแบบ (INNOVATION IN DESIGN) ซึ่งจะวางผังอาคารให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยพึ่งพาแสงและลมจากธรรมชาติ วางผังและช่องเปิดของห้องชุดที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย ระบบ SEMI-PRE CAST ช่วยประหยัดระยะเวลาและค่าก่อสร้าง
จะเห็นได้ว่า แนวทาง LPN GREEN ที่โครงการ LP-RM9 ซึ่งเป็นโครงการที่ฝ่ายบริหาร LPN ได้เล็งเห็นศักยภาพของโครงการที่เอื้อต่อการพัฒนาภายใต้นโยบายของการให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือทางตลาด (MARKETING TOOLS) ของ LPN เพียงอย่างเดียว แต่รูปแบบรวมทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของโครงการสอดคล้องกับมาตรฐานอาคารเขียวของ LEED ได้เกือบสมบูรณ์ ซึ่งจะเน้นย้ำถึงจิตสำนึกการเป็นรูปธรรมของนโยบายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (CESR) และสื่อออกด้านโครงการ LP-RM9 ได้อย่างชัดเจน แต่สำหรับบางโครงการที่อาจไม่เอื้อต่อรูปแบบและแนวทาง LPN GREEN เหมือน LP-RM9 ซึ่งอาจจะขาดความสมบูรณ์ในบางจุด เพราะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในมิติอื่นเป็นส่วนประกอบด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น