xs
xsm
sm
md
lg

“เกรซซิมเปิล” ตอบกระแสรณรงค์ ลด ละ เลิก “การใช้ภาชนะโฟมทั่วไทย”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายแพทย์วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์
“เกรซซิมเปิล” สนองนโยบายภาครัฐ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม ทั่วไทย ชูจุดขายเยื่อพืชธรรมชาติจากชานอ้อยและเยื่อไผ่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายแพทย์วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะนำผลิตภัณฑ์ “เกรซ ซิมเปิล”ภาชีวะจากเยื่อพืชธรรมชาติเข้ามาทำตลาดมากขึ้น เจาะกลุ่มลูกค้า ระดับกลางและพ่อค้าแม่ขาย ร้านอาหารต่างๆ ที่ต้องการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยกับผู้บริโภคและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ที่แหล่งท่องเที่ยว ตลาดน้ำ และ ถนนคนเดิน ขณะที่ผลิตภัณฑ์เกรซคลาสสิค (สีขาว) จะเน้นจับกลุ่มลูกค้าระดับบน โดยตั้งเป้ายอดขายรวมปีนี้ไว้ที่ 250 ล้านบาท
ความแตกต่างของสินค้าตัวเก่า คือ เกรซคลาสสิค กับสินค้าใหม่ “ เกรซ ซิมเปิ้ล” อยู่ที่วัตถุดิบที่ใช้ผลิต ตัวเก่าผลิตจากเยื่อพีชธรรมชาติที่เป็นเยื่อชานอ้อย 100% ส่วน เกรซซิมเปิ้ล ผลิตมาจากเยื่อชานอ้อยผสมกับเยื่อไผ่ ทำให้สีที่ได้ออกเอิร์ท โทน สีครีมจากเยื่อไผ่ และมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเกรซคลาสิค ขณะที่ราคาถูกกว่าประมาณ 50% รวมทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ไร้สารก่อมะเร็ง ใช้อุ่นอาหารในไมโครเวฟได้ ใส่อาหารได้ทั้งร้อน และเย็น ไม่รั่วซึม ข้อสำคัญสามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 สัปดาห์ โดยผลิตภัณฑ์มีให้เลือก 11 รูปแบบ เช่น จานกลม ถ้วยชาม แก้วน้ำ และกล่องอาหาร
“นวัตกรรมในการผลิตและการเลือกใช้วัตถุดิบมีความแตกต่างออกไป โดยวาง Position ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย คือเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใช้อยู่เป็นประจำ บริษัทฯ พัฒนาสินค้าให้มีต้นทุนต่ำลงจึงสามารถตั้งราคาขายที่ลดลงประมาณ 50% จากราคาเกรซคลาสสิค (สีขาว) คาดว่าทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย และเกิดการใช้มากขึ้น”


นายแพทย์วีรฉัตร กล่าวว่า ช่องทางการกระจายสินค้า ผ่านทางช่องทาง Traditional Trade หรือ ร้านบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดยในปัจจุบันมีร้านตัวแทนจำหน่ายกระจายทั่วประเทศ กว่า 400 ร้านค้า ส่วนการทำโฆษณาจะใช้สื่อหนังสือพิมพ์ เพราะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นวงกว้างทั่วประเทศ และช่องทางออนไลน์ เพราะสามารถให้รายละเอียดผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น
สำหรับ “โฟมและพลาสติก” เป็นภาชนะที่ผลิตมาจากปิโตรเลี่ยม เบส หากสัมผัสกับอาหารประเภทที่เป็นตัวทำละลาย เช่น กลุ่มน้ำมัน กลุ่มที่เป็นกรด หรืออื่นๆ จะทำให้สารเคมีที่เป็นอันตรายละลายออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้ ปัจจัยมีผลต่อปริมาณการ migration ของสไตรีน ในช่วงที่อุณหภูมิระหว่างการสัมผัสอาหารกับภาชนะ ไขมันในอาหาร ระยะเวลาสัมผัสกับอาหาร เปรียบเทียบปริมาณที่ปนออกมากับอาหาร ปริมาณการ migration ของสารสไตรีน จากแก้วที่ทำจากสไตรีน พบว่า หากใช้แก้วดังกล่าวกับกาแฟร้อนมีสารสไตรีนออกมา 0.025% หากดื่มกาแฟจากแก้วดังกล่าวเป็นจำนวน 4 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 3 ปี พบว่าคุณได้รับสารสไตรีนเข้าไปในร่างกายจำนวนเท่ากับ 1 แก้วกาแฟ”นายแพทย์วีรฉัตร กล่าว
ทั้งนี้ ในประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ติดต่อกันหลายสิบปี ล่าสุดในปีพ.ศ.2554 มีผู้เสียชีวิต 61,082 รายเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 7 ราย เป็นชาย 35,437 ราย และหญิง 25,645 ราย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดย ผู้ชายป่วยมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งตับ ปอด ลำไส้และทวารหนัก ต่อมลูกหมากและมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้หญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม ตับ ปากมดลูก ปอดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ดังนั้นการรับประทานอาหารจากโฟมต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 10 ปี มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าปกติ 6 เท่า เพราะภาชนะโฟม ปล่อยสารสไตรีนออกมาได้แม้ในอาหารที่ อุณหภูมิ ปกติ เย็น และร้อน และยังสามารถซึมผ่านเปลือกไข่ได้ในอุณหภูมิปกติ
สำหรับระยะเวลาการย่อยสลายในธรรมชาติถ้าเป็นกระดาษใช้เวลา 2-5 เดือน เปลือกส้ม 5 เดือน ก้นบุหรี่ 12 ปี พลาสติก 450 ปี โฟม 2,000 ปี และถ้าเผาจะทำให้เกิดสารพิษ คือ สาร Dioxin ซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็ง ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ และทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อีกด้วย และถ้าการนำกลับมาใช้ใหม่ พลาสติกหรือโฟมที่นำกลับมาใช้ใหม่ จะต้องใช้สารเคมีเพิ่มเติมในการรีไซเคิล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตใหม่ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะจูงใจให้ผู้ประกอบการ ทำการรีไซเคิล และจะต้องลดเกรดของผลิตภัณฑ์ลง
กำลังโหลดความคิดเห็น