ณ ปัจจุบัน แนวทางการบริหารและขับเคลื่อนกิจการด้วยหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วว่าเป็นเรื่องสำคัญ
ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า การมีจิตสำนึกด้วยหลัก CSR ได้มีพัฒนาการเชิงกลยุทธ์ในหลายมิติ และมองทะลุไปถึงผลลัพธ์ของการดำเนินกิจการ หรือ การขับเคลื่อนองค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อ “สังคม” (Social) ซึ่งหมายถึง “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholder)
การเป็นองค์กรที่ดีและเก่งดังกล่าวนี้ก็จะเกิดผลลัพธ์ถึงความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่องค์กรผู้ใฝ่ดีทั้งหมดคาดหมายต้องให้เกิดขึ้น
ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงส่งเสริมให้มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนแยกต่างหากจากการทำรายงานประจำปีตามปกติ เพื่อยืนยันว่ากิจการธุรกิจเหล่านี้ ดำเนินการอย่างไรจึงมีความยั่งยืนเพื่อให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นต่อองค์กรนั้น เหมาะสมที่จะตัดสินใจลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีและมีความมั่นคง
การมีจุดยืนในการดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมที่คำนึงถึงอยู่ในกระบวนธุรกิจ (CSR-in-process) จึงเท่ากับว่ากำลังพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development) นั่นเอง
ประจวบเหมาะกับนิตยสาร Boardroom เล่มใหม่ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เสนอสกู๊ปปก ว่าด้วยเรื่องความยั่งยืนที่น่าสนใจมาก
ผมขออ้างอิงถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาการบรรยายของ เจเรมี เพอพส์เซียส ผู้บริหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของ Business for Social Responsibility ซึ่งเคยเป็นวิทยากรรับเชิญของ IOD มาบรรยายเรื่องความยั่งยืนที่มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
เพอพส์เซียส ได้ให้นิยาม “ความยั่งยืน” ว่าคือบทบาทการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำรายงานความยั่งยืน พนักงานที่มีจิตอาสา ห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี การลงทุนในชุมชน การบริจาคเพื่อการกุศล การมีพันธกิจเพื่อสังคม การร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหากำไร และการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม
นั่นคือการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจของเราให้เข้ากับความต้องการของโลก
ประเด็นต่อมา “อะไรคือสิ่งที่สร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลง” เพอพส์เซียสอธิบายว่าในขณะที่โลกกำลังก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีนัยสำคัญ แต่ละบริษัทได้ทำธุรกิจของตัวเองนั้นเข้ากับภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปหรือไม่
สาเหตุหลักของความเปลี่ยนแปลงก็คือการเข้าถึงข้อมูลซึ่งเชื่อมโยงแต่ละคนเข้าด้วยกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้แต่ละบริษัทต้องมีความโปร่งใสมากขึ้น มีการอภิปรายทำความเข้าใจอย่างเปิดกว้าง และเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น เพราะการเชื่อมโยงกันของแนวคิดจากทั่วโลกกับสภาพแวดล้อมในชุมชนและเครือข่ายมีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ขณะเดียวกันภาคประชาสังคมซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมความยั่งยืนก็กำลังมีมีประเด็นใหม่ที่นอกเหนือจากเรื่องความรับผิดชอบด้านสังคม ตัวอย่างเช่น ขณะนี้คนกำลังสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี Environment, Social, Governance : ESG) ภาครัฐกลับขับเคลื่อนเรื่องนี้ไปอย่างช้าๆ ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อการออกกฎระเบียบต่างๆ เช่น กฎข้อบังคมที่ผู้ผลิตที่ใช้ธาตุทังสเตนต้องระบุว่านำมาจากที่ไหน
ตัวอย่างเช่นบริษัทอินเทล ซึ่งโฆษณาว่าบริษัทของตนดำเนินการดูแลห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยหยุดซื้อ “แร่ที่อยู่ภายใต้ข้อขัดแย้ง (Conflict Minerals)”
ในภาพรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆ ขององค์กรกำลังเพิ่มแรงกดดันแก่ธุรกิจต่างๆ ให้สนใจเรื่องการสร้างความยั่งยืน
1)คู่แข่งทางธุรกิจ : ความยั่งยืนถูกมองว่าเป็นแรงขับเคลื่อนไปสู่ทางออกและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน 2)บริษัท : ประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลกระทบต่อต้นทุนและความต่อเนื่องของธุรกิจ 3)ลูกค้า 4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : ความสนใจของคณะกรรมการ ลูกค้าและนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้จำเป็นต้องให้ความสนใจกลยุทธ์เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและการบูรณาการ
สรุปได้ว่าความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันที่เกิดจากโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ได้แก่ 1. สภาพแวดล้อมใหม่เกิดจากความซับซ้อนที่มากขึ้น 2. ความคาดหวังที่มากขึ้น 3. การพินิจพิเคราะห์ที่ละเอียดมากขึ้น 4. ความคาดหวังที่มากขึ้น 5. การรับรู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มีมากขึ้น 6. ความขาดแคลนและการคาดเดาไม่ได้ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากขึ้น
ถ้าถามว่า ทำไมธุรกิจต้องสนใจเรื่องความยั่งยืน เพอพส์เซียส อธิบายว่าความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัทจะมีผลต่อการขับเคลื่อนหลักของมูลค่าทางธุรกิจอย่างไร
บริษัทที่ให้ความสนใจเรื่องนี้ จึงส่งผลดี อาทิ บริษัทสามารถรักษาพนักงานไว้ได้ อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน บริษัทและตราสินค้ามีชื่อเสียงที่ดี สามารถสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การเข้าถึงทุนด้านการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางของโลกด้านความยั่งยืนจึงเป็นหัวใจหลักในการเตรียมพร้อมสู่อนาคต บริษัทจำเป็นต้องคำนึงถึงความยั่งยืนบนพื้นฐานของสิ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมและสำคัญต่อธุรกิจ เพราะบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเน้นในประเด็นที่มีความสำคัญสำหรับธุรกิจและสังคม
เพอพส์เซียส แนะนำว่าให้ระบุว่าอะไรเป็นความเสี่ยงและโอกาสบ้าง จำเป็นต้องตอบคำถาม 1.ประเด็นที่สำคัญที่สุดของเราคืออะไร 2.แผนของเราคืออะไร 3.เราจะสามารถวัดผลกระทบได้อย่างไร
พร้อมกันนั้น ธุรกิจต่างๆ จะต้องนำเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ามาคิดรวมกับการคิดแผนกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การมีส่วนร่วมของพนักงาน การพัฒนาธุรกิจ และการจัดทำรายงาน จึงจะไปสู่ความยั่งยืนได้
suwatmgr@gmail.com
ขณะเดียวกันจะเห็นได้ว่า การมีจิตสำนึกด้วยหลัก CSR ได้มีพัฒนาการเชิงกลยุทธ์ในหลายมิติ และมองทะลุไปถึงผลลัพธ์ของการดำเนินกิจการ หรือ การขับเคลื่อนองค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อ “สังคม” (Social) ซึ่งหมายถึง “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” (Stakeholder)
การเป็นองค์กรที่ดีและเก่งดังกล่าวนี้ก็จะเกิดผลลัพธ์ถึงความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่องค์กรผู้ใฝ่ดีทั้งหมดคาดหมายต้องให้เกิดขึ้น
ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงส่งเสริมให้มีการจัดทำรายงานความยั่งยืนแยกต่างหากจากการทำรายงานประจำปีตามปกติ เพื่อยืนยันว่ากิจการธุรกิจเหล่านี้ ดำเนินการอย่างไรจึงมีความยั่งยืนเพื่อให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นต่อองค์กรนั้น เหมาะสมที่จะตัดสินใจลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีและมีความมั่นคง
การมีจุดยืนในการดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมที่คำนึงถึงอยู่ในกระบวนธุรกิจ (CSR-in-process) จึงเท่ากับว่ากำลังพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development) นั่นเอง
ประจวบเหมาะกับนิตยสาร Boardroom เล่มใหม่ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เสนอสกู๊ปปก ว่าด้วยเรื่องความยั่งยืนที่น่าสนใจมาก
ผมขออ้างอิงถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาการบรรยายของ เจเรมี เพอพส์เซียส ผู้บริหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของ Business for Social Responsibility ซึ่งเคยเป็นวิทยากรรับเชิญของ IOD มาบรรยายเรื่องความยั่งยืนที่มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
เพอพส์เซียส ได้ให้นิยาม “ความยั่งยืน” ว่าคือบทบาทการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำรายงานความยั่งยืน พนักงานที่มีจิตอาสา ห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี การลงทุนในชุมชน การบริจาคเพื่อการกุศล การมีพันธกิจเพื่อสังคม การร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหากำไร และการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม
นั่นคือการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจของเราให้เข้ากับความต้องการของโลก
ประเด็นต่อมา “อะไรคือสิ่งที่สร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลง” เพอพส์เซียสอธิบายว่าในขณะที่โลกกำลังก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีนัยสำคัญ แต่ละบริษัทได้ทำธุรกิจของตัวเองนั้นเข้ากับภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปหรือไม่
สาเหตุหลักของความเปลี่ยนแปลงก็คือการเข้าถึงข้อมูลซึ่งเชื่อมโยงแต่ละคนเข้าด้วยกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้แต่ละบริษัทต้องมีความโปร่งใสมากขึ้น มีการอภิปรายทำความเข้าใจอย่างเปิดกว้าง และเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น เพราะการเชื่อมโยงกันของแนวคิดจากทั่วโลกกับสภาพแวดล้อมในชุมชนและเครือข่ายมีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ขณะเดียวกันภาคประชาสังคมซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมความยั่งยืนก็กำลังมีมีประเด็นใหม่ที่นอกเหนือจากเรื่องความรับผิดชอบด้านสังคม ตัวอย่างเช่น ขณะนี้คนกำลังสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี Environment, Social, Governance : ESG) ภาครัฐกลับขับเคลื่อนเรื่องนี้ไปอย่างช้าๆ ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อการออกกฎระเบียบต่างๆ เช่น กฎข้อบังคมที่ผู้ผลิตที่ใช้ธาตุทังสเตนต้องระบุว่านำมาจากที่ไหน
ตัวอย่างเช่นบริษัทอินเทล ซึ่งโฆษณาว่าบริษัทของตนดำเนินการดูแลห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยหยุดซื้อ “แร่ที่อยู่ภายใต้ข้อขัดแย้ง (Conflict Minerals)”
ในภาพรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆ ขององค์กรกำลังเพิ่มแรงกดดันแก่ธุรกิจต่างๆ ให้สนใจเรื่องการสร้างความยั่งยืน
1)คู่แข่งทางธุรกิจ : ความยั่งยืนถูกมองว่าเป็นแรงขับเคลื่อนไปสู่ทางออกและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน 2)บริษัท : ประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลกระทบต่อต้นทุนและความต่อเนื่องของธุรกิจ 3)ลูกค้า 4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : ความสนใจของคณะกรรมการ ลูกค้าและนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้จำเป็นต้องให้ความสนใจกลยุทธ์เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและการบูรณาการ
สรุปได้ว่าความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันที่เกิดจากโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ได้แก่ 1. สภาพแวดล้อมใหม่เกิดจากความซับซ้อนที่มากขึ้น 2. ความคาดหวังที่มากขึ้น 3. การพินิจพิเคราะห์ที่ละเอียดมากขึ้น 4. ความคาดหวังที่มากขึ้น 5. การรับรู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้มีมากขึ้น 6. ความขาดแคลนและการคาดเดาไม่ได้ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากขึ้น
ถ้าถามว่า ทำไมธุรกิจต้องสนใจเรื่องความยั่งยืน เพอพส์เซียส อธิบายว่าความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัทจะมีผลต่อการขับเคลื่อนหลักของมูลค่าทางธุรกิจอย่างไร
บริษัทที่ให้ความสนใจเรื่องนี้ จึงส่งผลดี อาทิ บริษัทสามารถรักษาพนักงานไว้ได้ อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน บริษัทและตราสินค้ามีชื่อเสียงที่ดี สามารถสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การเข้าถึงทุนด้านการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางของโลกด้านความยั่งยืนจึงเป็นหัวใจหลักในการเตรียมพร้อมสู่อนาคต บริษัทจำเป็นต้องคำนึงถึงความยั่งยืนบนพื้นฐานของสิ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมและสำคัญต่อธุรกิจ เพราะบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเน้นในประเด็นที่มีความสำคัญสำหรับธุรกิจและสังคม
เพอพส์เซียส แนะนำว่าให้ระบุว่าอะไรเป็นความเสี่ยงและโอกาสบ้าง จำเป็นต้องตอบคำถาม 1.ประเด็นที่สำคัญที่สุดของเราคืออะไร 2.แผนของเราคืออะไร 3.เราจะสามารถวัดผลกระทบได้อย่างไร
พร้อมกันนั้น ธุรกิจต่างๆ จะต้องนำเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ามาคิดรวมกับการคิดแผนกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การมีส่วนร่วมของพนักงาน การพัฒนาธุรกิจ และการจัดทำรายงาน จึงจะไปสู่ความยั่งยืนได้
suwatmgr@gmail.com