มูลนิธิสถาบันพัฒนาพลังงานทดแทนแห่งเอเชียแปซิฟิก เผยการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนของคนไทยไม่แพ้ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง ยุโรป อเมริกา หรือแม้แต่ประเทศในแถบเอเชีย ยกตัวอย่างระบบไบโอแก๊สที่ประดิษฐใช้ร่วมกับระบบแก๊สแอลพีจี และเทคโนโลยีโซล่าเซลล์แบบสูบน้ำ
ยุทธการ มากพันธุ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาพลังงานทดแทนแห่งเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า มูลนิธิฯมีการพัฒนานวัตกรรมพลังงานทดแทนหลายด้านเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนแก่ชุมชน ชาวบ้านที่สนใจ อย่างเช่น ระบบเตาไบโอแก๊ส ในขณะนี้สามารถพัฒนาให้สามารถใช้ร่วมกับระบบแก๊สแอลพีจีได้โดยต่อแยกเป็น 2 ระบบให้สามารถเปิดได้ 2 วาล์วเพื่อสลับระบบสะดวกต่อการใช้งาน พร้อมกับการพัฒนาระบบบ่อหมักให้สามารถต่อกับระบบล้างจานโดยมีการแยกเศษอาหาร แยกน้ำให้ไหลลงสู่บ่อหมักแบบอัตโนมัติ โดยน้ำ เศษอาหาร สิ่งปฏิกูล มูลคน แยกบ่อหมักกันเป็นสัดส่วน แต่มีการเชื่อมต่อท่อ และสายส่งแก๊สเดียวกัน เรียกว่าเป็นระบบหมุนเวียนอัตโนมัติให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งานสำหรับบริบทในการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบ้าน แต่ละชุมชน
สำหรับระบบเตาแก๊สชีวภาพที่เหมาะสมกับชุมชนนั้นมีทั้ง ระบบแบบฟิกโดม ระบบแบถัง 200 ลิตร ระบบถุงผ้าใบแบบหนาเป็นระบบที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้นักวิชาการประจำกลุ่มไปหาข้อมูลมาว่าแต่ละบ้าน แต่ละภาควิถีชีวิตไม่เหมือนกัน การทำอาหารก็คนละแบบ ดังนั้นการใช้แก๊สต้องมีความพอดีของแต่ละกลุ่ม การวิเคราะห์การใช้ก๊าซชีวภาพแต่ละกลุ่มก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในงานนี้เรามีข้อสรุปกันเยอะมากว่าใครต้องทำงานกันอย่างไงบ้างและกลับไปพัฒนาต่อ อย่างไรก็ตามในการพัฒนาต่อยอดต้องให้ความรู้กับชุมชนด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย การดูแลรักษา การวางระบบ และข้อควรปฏิบัติต่างๆ ในการใช้งาน ซึ่งควรจะมีนักวิชาการไปช่วยแนะนำอย่างถูกวิธี
ส่วนการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากไอน้ำโดยการเลือกใช้อุปกรณ์แรงดันน้ำต่ำ ซึ่งเทคโนโลยีเครื่องไอน้ำหน้าจะเป็นเทคโนโลยีอีกชิ้นหนึ่งของเครือข่ายที่จะพัฒนาให้สามารถผลิตไฟฟ้าให้กับบ้านหนึ่งหลังได้ขนาดประมาณ 4 - 5 กิโลวัตต์ คือ พร้อมใช้ไฟฟ้าได้ทั้งบ้าน เราจะพัฒนาเตาไอน้ำที่เผาจากเศษขยะ ใบไม้ ในบ้านเรือนทั่วไป มีระบบกรองอากาศให้เผาไหม้สมบูรณ์แบบ มีระบบแก๊สซิฟิเคชั่น เพื่อผลิตไอน้ำมาผลิตไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หรืออาจจะใช้เป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ในการต้มน้ำแทนเพื่อนำไอน้ำมาผลิตไฟฟ้า ผมมีกระบวนการที่ทำไอน้ำแรงสูงได้โดยใช้แสงอาทิตย์
การพัฒนาเตาชีวมวล นั้นเป็นระบบอันฟิกคอมเพรสชั่น โดยใช้เชื้อเพลิงแกลบ ซึ่งกำลังมองว่าจะพัฒนาต่อยอดเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง การจุดติดไฟที่ง่าย ศักยภาพของแก๊สที่สูงขึ้น ซึ่งตอนนี้จุดติดทุกครั้งโดยไม่มีข้อจำกัดแล้ว รูปทรงดี ไฟก็มีประสิทธิภาพดีขึ้น คาดว่าอนาคตจะเป็นเชื้อเพลิงแท่งเอาแกลบซึ่งเบากว่าเข้าไปและพัฒนาต่อยอดเป็นรูปแบบถังก๊าซชีวภาพเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น
ด้านเทคโนโลยีโซล่าเซลล์แบบสูบน้ำ โซล่าเซลล์ผลิตน้ำร้อน และแบบผลิตไฟฟ้า ยุทธการ กล่าวว่าจะพัฒนาไม่ให้ใช้แบตเตอรีในการสำรองไฟฟ้า แต่จะประยุกต์ใช้กับมอเตอร์กระแสตรงให้สามารถจ่ายไฟโดยตรงเข้าปั๊มน้ำเลย และเก็บพลังงานในรูปแบบน้ำไม่ต้องเก็บเป็นรูปแบบไฟฟ้า โดยเอาน้ำไปใช้ประโยชน์แล้วผลิตไฟฟ้าด้วยระบบไมโครเทอร์ไบน์ หรือผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำก็ได้ หรือผลิตไฟฟ้าแบบไฮโดรเจน เพื่อจะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการซื้อแบตเตอรี ส่วนระบบผลิตไฟฟ้าจากน้ำร้อนนำไอน้ำจากโซล่าเซลล์ คือ เก็บเป็นรูปแบบน้ำร้อนพอจะใช้ไอน้ำก็ใช้แก๊สอุ่นน้ำร้อนเพื่อเพิ่มความร้อนให้กับน้ำให้เป็นไอแล้วนำมาผลิตเป็นไฟฟ้าจากไอน้ำก็ได้เช่นกัน
ขณะที่การเรียนรู้เครื่องผลิตน้ำมันจากพลาสติกซึ่งสามารถผลิตทั้งน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซิน สามารถนำเอาขยะพลาสติกมาเผาสู่กระบวนการกลั่นออกมาเป็นน้ำมันที่สามารถใช้ได้จริง โดยจำนวนขยะจากพลาสติกประมาณ 200 กิโลกรัมจะได้น้ำมันประมาณ 70% นอกจากนี้แล้วยังมีฐานการเรียนรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรมพลังงานทดแทนรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายที่ให้ได้เรียนรู้กัน