ถ้าจะประมวลบรรดาผลงานกิจกรรมเพื่อสังคมในรอบปีที่ผ่านมา มีหลายองค์กรที่ทำได้ดี แต่ที่โดดเด่นด้านการส่งเสริมความสามารถทางศิลปะแก่เยาวชนที่เป็นแบบอย่างในเชิงคุณค่าและความต่อเนื่อง ผมขอยกให้กับ 2 โครงการนี้ครับ
1.รางวัลเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 จัดเป็นปีที่ 16 โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2.รางวัลยุวศิลปินไทย 2556 จัดเป็นปีที่ 9 โดย มูลนิธิเอสซีจี
โครงการแรกเป็นการสร้างโอกาสเยาวชนไทยในการแสดงฝีมือและพัฒนาศักยภาพด้านดนตรีมุ่งสู่เวทีสากล ซึ่งริเริ่มโดย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเองมา 8 ปี แล้วมาผนึกกำลังกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ใน 8 ปีต่อมา ก็ได้กำลังเสริมทั้งพลังคนและพลังเงิน
ปรากฎว่าผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ได้แก่
* ระดับประถมศึกษา เด็กหญิงพรนภัส กิจโอฬาร เครื่องดนตรีเปียโน จาก Shrewsbury International School
* ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เด็กหญิงสโรชา ขาวผ่อง เครื่องดนตรีฆ้องวงเล็ก จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ
* ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นายภคินท์ กัณหะสิริ เครื่องดนตรีคลาริเน็ต จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* ระดับอุดมศึกษา (อายุไม่เกิน 25 ปี) นายณัฐดนัย พัวพันประสงค์ เครื่องดนตรี กีตาร์คลาสสิก จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การประกวดเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีฯ ครั้งที่ 16 เปิดรับและคัดเลือกผลงานเข้าประกวดในรอบรองชนะเลิศเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มี 40 เยาวชนไทยในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ผ่านการคัดเลือกจากเยาวชนทั่วประเทศกว่า 300 คนเข้ารอบเพื่อชิงชนะเลิศ
ขณะที่เวทีการประกวด ‘รางวัลยุวศิลปินไทย’ ประจำปี 2556 หรือ Young Thai Artist Award 2013 นอกจากมีการมอบรางวัล แจ้งเกิด 6 ยุวศิลปินเลือดใหม่แล้ว มูลนิธิเอสซีจียังเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ชื่นชมผลงานศิลปะฝีมือเยาวชน ที่แสดงออกอย่างสุนทรีย์จรรโลงสังคม และเป็นผลงานที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะชั้นนำกว่า 60 ท่าน นำมาแสดงในนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า เมื่อเร็วๆ นี้
สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการว่า “ด้วยเชื่อมั่นในคุณค่าของคน และเชื่อว่าสังคมคุณภาพต้องประกอบด้วย ‘คนเก่งและดี’ มูลนิธิเอสซีจีจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเน้นที่เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาชาติในอนาคต ซึ่งนอกจากจะการให้โอกาสด้านการศึกษาแล้ว เรายังส่งเสริมความสามารถเฉพาะด้านอย่างศิลปะ จึงเป็นที่มาของเวทีการประกวดศิลปะระดับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ"
ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ดำเนินโครงการรางวัลศิลปะเพื่อเยาวชนไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีโอกาสแสดงความสามารถทางศิลปะของตนโดยไม่จำกัดขอบเขตในการสร้างสรรค์ผลงาน มีเวทีในการแสดงออกถึงความสามารถสู่สายตาสาธารณชน นอกจากนี้ผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นยังทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ ชีวิตผู้คน สังคมในยุคสมัยนั้นเอาไว้ ตลอดจนหล่อเลี้ยงจิตใจผู้คนให้ ละเมียดละไม และจรรโลงใจให้สังคมสมบูรณ์และงดงาม
มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 36 ชิ้น ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทั้ง 6 สาขา ประจำปี 2556 มี ดังนี้
ศิลปะ 2 มิติ (Two-Dimensional Art) ได้แก่ “สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีใครรู้จัก” โดย เกียรติศักดิ์ รุ่งรัตนพัฒนา คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศิลปะ 3 มิติ (Three-Dimension Art) ได้แก่ “ความเคลื่อนไหวต่อสภาวะการดำรงอยู่” โดย วรวัฒน์ เสือทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ภาพถ่าย (Photography) ได้แก่ "หรือผมจะลืมถอดดอกกุหลาบไว้ที่ 164/ 69” โดย ณัฐพล สวัสดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ภาพยนตร์ (Film) ได้แก่ “Deleted" โดย นิทรรศ สินวัฒนกุล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรรณกรรม (Literature) ได้แก่ "ขอต้อนรับสู่ความเหงาอีกครั้งหนึ่ง" โดย วรางคณา เฑียรบุญเลิศรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การประพันธ์ดนตรี (Music Composition) ได้แก่ “ปรับ - แปร - เปลี่ยน” โดย ปิยวัฒน์ หลุยลาภประเสริฐ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เวทีนี้จึงเป็นพื้นที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพด้านศิลปะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับน้องๆ ผู้รักงานศิลปะ เพราะช่วยขยายโลกทัศน์ เปิดมุมมอง สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยน ทั้งจากศิลปิน อาจารย์ นักวิชาการ และเพื่อนยุวศิลปินรุ่นเดียวกัน รวมถึงได้รับคำแนะนำอันทรงค่าจากคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะปรับปรุงฝืมือเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นในอนาคต
นอกจากรางวัลเงินสนับสนุนที่มอบให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 150,000 บาท ยุวศิลปินที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทั้ง 6 สาขายังมีโอกาสเดินทางไปทัศนศึกษาศิลปะแขนงต่างๆ ในต่างประเทศเพื่อสั่งสมประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ เพิ่มพูนทักษะความรู้ทางศิลปะในการรังสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพต่อไปในอนาคต ส่วนผู้ได้รับรางวัลดีเด่นได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท รวมมูลค่ารางวัลทั้งสิ้นกว่า 3.3 ล้านบาท
ข้อคิด...
กิจกรรมส่งเสริมสังคม แม้เป็นบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ภายหลังภารกิจหลักในกระบวนการทำธุรกิจขององค์กร (CSR-after-process)แต่องค์กรชั้นนำก็สามารถสร้างผลงานที่มีพลังสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนได้ดัง 2 กรณีตัวอย่างข้างต้น
ดังที่คุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการเข้าสนับสนุนการจัดประกวดเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นปีที่ 8 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามภารกิจในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมมาโดยตลอด โดยเล็งเห็นว่าการเล่นดนตรีจะทำให้เยาวชนไทยได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยมาสนใจและช่วยกล่อมเกลาจิตใจเยาวชนไทยที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
“จากการแข่งขันรอบรองชนะเลิศที่ผ่านมา มีเยาวชนหลายคนเคยเข้าร่วมการประกวดเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายาม และความมุ่งมั่น และนับเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าการที่จะก้าวไปถึงระดับเวทีสากลต้องมีความอดทนและทุ่มเทเป็นอย่างมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ หวังว่าเวทีการประกวดแห่งนี้ จะช่วยสานโอกาสให้เยาวชนไทยมีเวทีแสดงความสามารถ และนำประสบการณ์จากการประกวดเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีฯ ไปพัฒนาฝีมือเพื่อก้าวสู่เวทีระดับสากล และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติต่อไป”
เมื่อได้แรงหนุนจากผู้ใหญ่ที่จริงใจในการส่งเสริมให้เกิดศิลปินเยาวชนที่แข็งแกร่งสู่อนาคตที่ดีได้ เราได้เห็นความตั้งใจจากความเป็นมาและแนวทางต่อไปจาก “เซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16” และ “รางวัลยุวศิลปินไทย ครั้งที่ 9”
ไม่เพียงแต่ประกาศผลมอบรางวัลเพียงเท่านั้น มูลนิธิเอสซีจียังจัดกิจกรรมเพื่อต่อยอดความสามารถของน้องๆ ยุวศิลปิน โดยเริ่มต้นที่สาขาภาพยนตร์เป็นอันดับแรกกับกิจกรรม ‘วิจารณ์หนังสั้น’ กับ นนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับชื่อดัง
การเปิดวิกหนังสั้น ณ ห้องนิทรรศการ 5 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ โดยเปิดโอกาสให้น้องๆ ผู้ได้รับรางวัลสาขาภาพยนตร์ทั้ง 6 คน (คือยอดเยี่ยม 1 และดีเด่น 5) ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ เข้าชมและรับฟังคำวิจารณ์ รวมไปถึงกลเม็ดเคล็ดไม่ลับจากอุ๋ย-นนทรีย์ กรรมการตัดสินสาขาภาพยนตร์รางวัล Young Thai Artist Award อย่างใกล้ชิด มีการวิจารณ์ผลงานของน้องๆ แต่ละคน แต่ละเรื่องอย่างละเอียด ทั้งกระบวนการความคิด การนำเสนอ การเลือกใช้กล้อง การทำโปรดักส์ชั่น ตลอดจนแนะนำถึงเวทีการประกวดหนังสั้นระดับโลกว่าเวทีไหนควรส่งหนังประเภทใดเข้าร่วมประกวดเพื่อฝึกฝนและหาประสบการณ์ บรรยากาศพูดคุยเป็นไปอย่างเป็นกันเอง เพื่อให้ทุกคนทราบว่าตัวเองมีตรงไหนควรพัฒนา ปรับแก้ และนำไปสู่การต่อยอดสู่เส้นทางคนทำหนังมืออาชีพ
ผมลองขอข้อมูลเพื่อจะดูผลลัพธ์ของการประกวดว่าได้ปูทางไปสู่ความสำเร็จของการเกิดศิลปินไปแล้ว อย่างไร ก็ได้เห็นตัวอย่างมาบอกเล่าดังนี้ครับ
1.ลำพู กันเสนาะ รางวัลยอดเยี่ยม สาขาศิลปะ 2 มิติ Young Thai Artist Award 2006 ปัจจุบันเป็นศิลปินสาวรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับให้ไปแสดงงานใน
ระดับนานาชาติ มูลค่าของผลงานที่ขายได้เรือนแสน
2. เมษ ธราธร รางวัลดีเด่น สาขาภาพยนตร์ Young Thai Artist Award 2005 ปัจจุบันเป็นผู้กำกับชื่อดัง จากผลงานที่ทำรายได้สูงอย่าง "ATM เออรัก เออเร่อ" รวมทั้งหนังรางวัล อย่าง "บ้านฉันตลกไว้ก่อน พ่อสอนไว้"
3. กมลพันธุ์ โชติวิชัย รางวัลยอดเยี่ยม สาขาศิลปะ 2 มิติ Young Thai
Artist Award 2010 ได้เป็นเจ้าของเหรียญทองจากเวทีศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58
เรายอมรับกันว่าผู้มีความสามารถทางศิลปและสุนทรียศาสตร์แขนงต่างๆ นั้นเป็นผู้สร้างสรรค์งานที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ที่บ่งบอกระดับการพัฒนาของสังคมได้ทางหนึ่ง
ดังนั้น องค์กรที่เชื่อมั่นในคุณค่าของคนและมีความตั้งใจจริงในการสนับสนุนเวทีการส่งเสริมความสามารถด้านศิลปและสร้างศิลปินรุ่นต่อไปให้กับสังคมไทย จึงเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน น่าชื่นชมครับ
suwatmgr@gmail.com
1.รางวัลเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 จัดเป็นปีที่ 16 โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2.รางวัลยุวศิลปินไทย 2556 จัดเป็นปีที่ 9 โดย มูลนิธิเอสซีจี
โครงการแรกเป็นการสร้างโอกาสเยาวชนไทยในการแสดงฝีมือและพัฒนาศักยภาพด้านดนตรีมุ่งสู่เวทีสากล ซึ่งริเริ่มโดย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเองมา 8 ปี แล้วมาผนึกกำลังกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ใน 8 ปีต่อมา ก็ได้กำลังเสริมทั้งพลังคนและพลังเงิน
ปรากฎว่าผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ได้แก่
* ระดับประถมศึกษา เด็กหญิงพรนภัส กิจโอฬาร เครื่องดนตรีเปียโน จาก Shrewsbury International School
* ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เด็กหญิงสโรชา ขาวผ่อง เครื่องดนตรีฆ้องวงเล็ก จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ
* ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นายภคินท์ กัณหะสิริ เครื่องดนตรีคลาริเน็ต จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* ระดับอุดมศึกษา (อายุไม่เกิน 25 ปี) นายณัฐดนัย พัวพันประสงค์ เครื่องดนตรี กีตาร์คลาสสิก จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การประกวดเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีฯ ครั้งที่ 16 เปิดรับและคัดเลือกผลงานเข้าประกวดในรอบรองชนะเลิศเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มี 40 เยาวชนไทยในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ผ่านการคัดเลือกจากเยาวชนทั่วประเทศกว่า 300 คนเข้ารอบเพื่อชิงชนะเลิศ
ขณะที่เวทีการประกวด ‘รางวัลยุวศิลปินไทย’ ประจำปี 2556 หรือ Young Thai Artist Award 2013 นอกจากมีการมอบรางวัล แจ้งเกิด 6 ยุวศิลปินเลือดใหม่แล้ว มูลนิธิเอสซีจียังเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ชื่นชมผลงานศิลปะฝีมือเยาวชน ที่แสดงออกอย่างสุนทรีย์จรรโลงสังคม และเป็นผลงานที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะชั้นนำกว่า 60 ท่าน นำมาแสดงในนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า เมื่อเร็วๆ นี้
สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการว่า “ด้วยเชื่อมั่นในคุณค่าของคน และเชื่อว่าสังคมคุณภาพต้องประกอบด้วย ‘คนเก่งและดี’ มูลนิธิเอสซีจีจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเน้นที่เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาชาติในอนาคต ซึ่งนอกจากจะการให้โอกาสด้านการศึกษาแล้ว เรายังส่งเสริมความสามารถเฉพาะด้านอย่างศิลปะ จึงเป็นที่มาของเวทีการประกวดศิลปะระดับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ"
ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ดำเนินโครงการรางวัลศิลปะเพื่อเยาวชนไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีโอกาสแสดงความสามารถทางศิลปะของตนโดยไม่จำกัดขอบเขตในการสร้างสรรค์ผลงาน มีเวทีในการแสดงออกถึงความสามารถสู่สายตาสาธารณชน นอกจากนี้ผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นยังทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ ชีวิตผู้คน สังคมในยุคสมัยนั้นเอาไว้ ตลอดจนหล่อเลี้ยงจิตใจผู้คนให้ ละเมียดละไม และจรรโลงใจให้สังคมสมบูรณ์และงดงาม
มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 36 ชิ้น ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทั้ง 6 สาขา ประจำปี 2556 มี ดังนี้
ศิลปะ 2 มิติ (Two-Dimensional Art) ได้แก่ “สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีใครรู้จัก” โดย เกียรติศักดิ์ รุ่งรัตนพัฒนา คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศิลปะ 3 มิติ (Three-Dimension Art) ได้แก่ “ความเคลื่อนไหวต่อสภาวะการดำรงอยู่” โดย วรวัฒน์ เสือทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ภาพถ่าย (Photography) ได้แก่ "หรือผมจะลืมถอดดอกกุหลาบไว้ที่ 164/ 69” โดย ณัฐพล สวัสดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ภาพยนตร์ (Film) ได้แก่ “Deleted" โดย นิทรรศ สินวัฒนกุล คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรรณกรรม (Literature) ได้แก่ "ขอต้อนรับสู่ความเหงาอีกครั้งหนึ่ง" โดย วรางคณา เฑียรบุญเลิศรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การประพันธ์ดนตรี (Music Composition) ได้แก่ “ปรับ - แปร - เปลี่ยน” โดย ปิยวัฒน์ หลุยลาภประเสริฐ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เวทีนี้จึงเป็นพื้นที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพด้านศิลปะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับน้องๆ ผู้รักงานศิลปะ เพราะช่วยขยายโลกทัศน์ เปิดมุมมอง สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยน ทั้งจากศิลปิน อาจารย์ นักวิชาการ และเพื่อนยุวศิลปินรุ่นเดียวกัน รวมถึงได้รับคำแนะนำอันทรงค่าจากคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะปรับปรุงฝืมือเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นในอนาคต
นอกจากรางวัลเงินสนับสนุนที่มอบให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 150,000 บาท ยุวศิลปินที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทั้ง 6 สาขายังมีโอกาสเดินทางไปทัศนศึกษาศิลปะแขนงต่างๆ ในต่างประเทศเพื่อสั่งสมประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ เพิ่มพูนทักษะความรู้ทางศิลปะในการรังสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพต่อไปในอนาคต ส่วนผู้ได้รับรางวัลดีเด่นได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท รวมมูลค่ารางวัลทั้งสิ้นกว่า 3.3 ล้านบาท
ข้อคิด...
กิจกรรมส่งเสริมสังคม แม้เป็นบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ภายหลังภารกิจหลักในกระบวนการทำธุรกิจขององค์กร (CSR-after-process)แต่องค์กรชั้นนำก็สามารถสร้างผลงานที่มีพลังสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนได้ดัง 2 กรณีตัวอย่างข้างต้น
ดังที่คุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการเข้าสนับสนุนการจัดประกวดเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ร่วมกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นปีที่ 8 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามภารกิจในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมมาโดยตลอด โดยเล็งเห็นว่าการเล่นดนตรีจะทำให้เยาวชนไทยได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยมาสนใจและช่วยกล่อมเกลาจิตใจเยาวชนไทยที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต
“จากการแข่งขันรอบรองชนะเลิศที่ผ่านมา มีเยาวชนหลายคนเคยเข้าร่วมการประกวดเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายาม และความมุ่งมั่น และนับเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าการที่จะก้าวไปถึงระดับเวทีสากลต้องมีความอดทนและทุ่มเทเป็นอย่างมาก โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ หวังว่าเวทีการประกวดแห่งนี้ จะช่วยสานโอกาสให้เยาวชนไทยมีเวทีแสดงความสามารถ และนำประสบการณ์จากการประกวดเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีฯ ไปพัฒนาฝีมือเพื่อก้าวสู่เวทีระดับสากล และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติต่อไป”
เมื่อได้แรงหนุนจากผู้ใหญ่ที่จริงใจในการส่งเสริมให้เกิดศิลปินเยาวชนที่แข็งแกร่งสู่อนาคตที่ดีได้ เราได้เห็นความตั้งใจจากความเป็นมาและแนวทางต่อไปจาก “เซ็ทเทรดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16” และ “รางวัลยุวศิลปินไทย ครั้งที่ 9”
ไม่เพียงแต่ประกาศผลมอบรางวัลเพียงเท่านั้น มูลนิธิเอสซีจียังจัดกิจกรรมเพื่อต่อยอดความสามารถของน้องๆ ยุวศิลปิน โดยเริ่มต้นที่สาขาภาพยนตร์เป็นอันดับแรกกับกิจกรรม ‘วิจารณ์หนังสั้น’ กับ นนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับชื่อดัง
การเปิดวิกหนังสั้น ณ ห้องนิทรรศการ 5 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ โดยเปิดโอกาสให้น้องๆ ผู้ได้รับรางวัลสาขาภาพยนตร์ทั้ง 6 คน (คือยอดเยี่ยม 1 และดีเด่น 5) ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ เข้าชมและรับฟังคำวิจารณ์ รวมไปถึงกลเม็ดเคล็ดไม่ลับจากอุ๋ย-นนทรีย์ กรรมการตัดสินสาขาภาพยนตร์รางวัล Young Thai Artist Award อย่างใกล้ชิด มีการวิจารณ์ผลงานของน้องๆ แต่ละคน แต่ละเรื่องอย่างละเอียด ทั้งกระบวนการความคิด การนำเสนอ การเลือกใช้กล้อง การทำโปรดักส์ชั่น ตลอดจนแนะนำถึงเวทีการประกวดหนังสั้นระดับโลกว่าเวทีไหนควรส่งหนังประเภทใดเข้าร่วมประกวดเพื่อฝึกฝนและหาประสบการณ์ บรรยากาศพูดคุยเป็นไปอย่างเป็นกันเอง เพื่อให้ทุกคนทราบว่าตัวเองมีตรงไหนควรพัฒนา ปรับแก้ และนำไปสู่การต่อยอดสู่เส้นทางคนทำหนังมืออาชีพ
ผมลองขอข้อมูลเพื่อจะดูผลลัพธ์ของการประกวดว่าได้ปูทางไปสู่ความสำเร็จของการเกิดศิลปินไปแล้ว อย่างไร ก็ได้เห็นตัวอย่างมาบอกเล่าดังนี้ครับ
1.ลำพู กันเสนาะ รางวัลยอดเยี่ยม สาขาศิลปะ 2 มิติ Young Thai Artist Award 2006 ปัจจุบันเป็นศิลปินสาวรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับให้ไปแสดงงานใน
ระดับนานาชาติ มูลค่าของผลงานที่ขายได้เรือนแสน
2. เมษ ธราธร รางวัลดีเด่น สาขาภาพยนตร์ Young Thai Artist Award 2005 ปัจจุบันเป็นผู้กำกับชื่อดัง จากผลงานที่ทำรายได้สูงอย่าง "ATM เออรัก เออเร่อ" รวมทั้งหนังรางวัล อย่าง "บ้านฉันตลกไว้ก่อน พ่อสอนไว้"
3. กมลพันธุ์ โชติวิชัย รางวัลยอดเยี่ยม สาขาศิลปะ 2 มิติ Young Thai
Artist Award 2010 ได้เป็นเจ้าของเหรียญทองจากเวทีศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58
เรายอมรับกันว่าผู้มีความสามารถทางศิลปและสุนทรียศาสตร์แขนงต่างๆ นั้นเป็นผู้สร้างสรรค์งานที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ที่บ่งบอกระดับการพัฒนาของสังคมได้ทางหนึ่ง
ดังนั้น องค์กรที่เชื่อมั่นในคุณค่าของคนและมีความตั้งใจจริงในการสนับสนุนเวทีการส่งเสริมความสามารถด้านศิลปและสร้างศิลปินรุ่นต่อไปให้กับสังคมไทย จึงเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน น่าชื่นชมครับ
suwatmgr@gmail.com