การที่ยูเนสโกเลือกกรุงเทพมหานครเป็น “เมืองหนังสือโลก ประจำปี 2556” เพื่อดำเนินตามแผนการส่งเสริมการอ่านที่เสนอไปแข่งกับเมืองอื่นของโลกในการรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคส่วนต่างๆ ที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมผลักดันวัฒนธรรมการอ่านให้เป็นจริงหรืออย่างน้อยก็ควรจะดีขึ้น
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พบว่า เด็กและเยาวชนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 39 นาที และจำนวนคนที่ใช้เวลาว่างอ่านหนังสือยังลดลงประมาณ 3 % สะท้อนให้เห็นยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เด็กๆ มีพฤติกรรมละทิ้งการอ่าน หมกหมุ่นดูทีวี เล่นเกม เล่นเน็ต แชทมือถือวันละหลายชั่วโมง เบียดบังการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
มูลนิธิเอสซีจีของเครือซีเมนต์ไทยจึงให้ความสำคัญและพยายามป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้ลุกลาม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ด้วยการวางรากฐานและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน เริ่มตั้งแต่ปฐมวัย (วัยแรกเกิด - 6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเสริมสร้างพัฒนาการและวางรากฐานต่างๆ ของมนุษย์
‘การเล่านิทาน อ่านหนังสือ’ ให้เด็กปฐมวัยฟังเป็นประจำ เป็นวิธีการที่ง่าย ประหยัด และทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งในการพัฒนาเด็กให้มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิที่ยาวนานขึ้น เพียงวันละ10-15 นาที ก็สามารถสร้างช่วงเวลาที่มีคุณภาพของครอบครัว เพราะเด็กจะได้เรียนรู้ภาษา ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ผ่านน้ำเสียงที่เปี่ยมไปด้วยความรัก และได้ซึมซับรสนิยมทางศิลปะจากหนังสือภาพตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งจะส่งผลดีต่อบุคลิกภาพ พัฒนาการทางอารมณ์ รวมถึงทักษะทางสังคม เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็กติดเกม ติดเพื่อน หรือลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยุต่างๆ เมื่อโตขึ้น
เด็กที่เคยรู้สึกดื่มด่ำ สุขใจกับการสัมผัสใกล้ชิดหนังสือในวัยนี้จะรักและผูกพันกับการอ่านไปตลอดชีวิต
เพราะการใช้หนังสือภาพเพื่อการพัฒนาเด็กเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่ามากที่สุด มูลนิธิเอสซีจีจึงได้ดำเนินการรณรงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กในทุกมิติผ่านโครงการ ‘เทศกาลนิทานในสวน’ โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก และกรุงเทพมหานคร จัดงานเทศกาลนิทานในสวนในช่วงเย็นวันเสาร์เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ที่สวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง คือ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน สวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ) เขตจตุจักร และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขตจตุจักร ซึ่งในปีนี้จัดต่อเนื่องกันมาเป็นที่ 10 และยังขยายแนวคิดไปยังส่วนภูมิภาคจัด ‘นิทานในสวนเชียงใหม่’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนของสังคมรับรู้ เข้ามาเป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับหนังสือ โดยนำเอากระบวนการเล่านิทาน อ่านหนังสือไปใช้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือและวัฒนธรรมการอ่านในสังคมไทย
เพื่อขยายแนวคิดเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือสู่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมในวงกว้าง มูลนิธิเอสซีจีจึงได้ร่วมมือกับ เอสซีจี เปเปอร์ จัด ‘เทศกาลนิทานในสวนกระดาษ’ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อจุดประกายให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย (แรกเกิด-6ปี) ให้นำกระบวนการเล่านิทานอ่านหนังสือไปใช้กับลูกน้อย
สำหรับในปีนี้ เทศกาลนิทานในสวนกระดาษปีที่ 3 จัดขึ้นในงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน C1 โดยได้เนรมิตรพื้นที่กว่า 150 ตารางเมตรให้เต็มไปด้วยกิจกรรมแสนสนุกและเปี่ยมไปด้วยสาระที่เหมาะกับทุกคนในครอบครัว ทั้งการแสดงละครนิทานที่เป็นไฮไลท์สะกดสายตาของเด็กๆ การแนะนำเทคนิคการใช้หนังสือภาพให้กับคุณพ่อคุณแม่เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้กับลูกน้อยอย่างรอบด้าน
งานนี้จึงได้วิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ อาทิ ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ครูชีวัน วิสาสะ นักประพันธ์หนังสือภาพเด็กระดับประเทศ และคุณชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์ นักเล่านิทานชื่อดัง
นอกจากนี้ภายในสวนกระดาษยังเต็มไปด้วยหนังสือภาพคุณภาพที่ดีผ่านการคัดสรรแล้วว่าเหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย และพลาดไม่ได้กับกิจกรรมขวัญใจน้องๆ หนูๆ อย่าง กิจกรรมเพนท์หน้า วาดภาพระบายสี งานประดิษฐ์ และตื่นตาไปกับสวนกระดาษแห่งจินตนาการที่เต็มไปด้วยไอเดียสร้างสรรค์
บนลานนิทานแห่งนี้ถูกสร้างมาจากกระดาษทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ รวมถึงเครื่องเล่นกระดาษ อาทิ เขาวงกต ม้าโยก เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างจินตนาการให้แก่เด็กๆ และเพื่อให้ทุกๆ ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุขในสวนกระดาษแห่งนี้
ข้อคิด...
ตลอด 9 ปี ของการจัดงานเทศกาลนิทานในสวนทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด รวมถึงนิทานในสวนกระดาษ มีผู้เข้าร่วมกว่าเกือบ 50,000 คน โดยผู้ปกครองที่เคยเข้าร่วมงานฯ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กๆ มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังจากที่ได้ใช้หนังสือภาพกับลูกเป็นประจำ ทั้งการรู้จักคำศัพท์ การอ่านออกเสียง การสะกดคำ ตลอดจนมีสมาธิในการตั้งใจฟัง รู้จักการอดทนรออย่างใจเย็น และรักการอ่านมากขึ้น
“คุณแม่เล่านิทาน อ่านหนังสือให้น้องฟังตั้งแต่ตอนที่น้องยังอยู่ในท้อง และเล่าทุกวันจนกระทั่งตอนนี้น้องปั้นอายุ 2 ขวบ ที่ครอบครัวเราให้ความสำคัญกับเรื่องการอ่านนั้น เพราะเห็นว่านอกจากการอ่านจะช่วยเพิ่มพูนความรู้แล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานให้ลูกใฝ่รู้ ทั้งยังช่วยเรื่องพัฒนาการของน้องปั้นด้วย สังเกตได้ว่า น้องปั้นพูดจาชัดถ้อยชัดคำ และมีการใช้ศัพท์ที่ดีและหลากหลายกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างชัดเจน อารมณ์แจ่มใส และชอบหยิบหนังสือภาพมาให้คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟัง
จริงๆ แล้ว เราสองคนไม่ได้รับการปลูกฝังให้รักการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก แต่พออยากให้ลูกรักการอ่าน เราก็ปรับตัวอ่านหนังสือมากขึ้นเพื่อลูก ก็ถือว่าได้ประโยชน์ทั้งเราทั้งลูกในคราวเดียว” เสียงยืนยันจากคุณพ่อชัยณรงค์ และ คุณแม่นฤมล พราหมณี ผู้ปกครองของ ด.ช. คริษฐ พราหมณี หรือ น้องปั้น กล่าวถึงผลลัพธ์ที่ดีจากการเลี้ยงดูลูกด้วยหนังสือ
ทราบว่ามูลนิธิเอสซีจียังมีแผนที่จะขยายพื้นที่ของการเล่านิทานอ่านหนังสือไปยังพื้นที่สาธารณะอีกหลายแห่งในจังหวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าโรงพยาบาล ชุมชนแออัด ทั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง เพื่อให้เข้าถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็กในพื้นที่ ตลอดจนดำเนินการส่งเสริมและผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยหนังสืออย่างกว้างขวางจนหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ นำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมเยาวชนไทยเติบโตโดยมีความรู้และความคิดเป็นรากฐานที่เกิดจากการอ่าน
นี่คือตัวอย่างที่ดีมากในการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้กับสังคม ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเป็นกำลังสำคัญในการปลูกฝังค่านิยมรักการอ่าน การอ่านหนังสือจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ และสังคมเด็ก เมื่อเด็กๆ ได้สัมผัสหนังสือจะช่วยปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นจินตนาการได้
suwatmgr@gmail.com
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พบว่า เด็กและเยาวชนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 39 นาที และจำนวนคนที่ใช้เวลาว่างอ่านหนังสือยังลดลงประมาณ 3 % สะท้อนให้เห็นยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เด็กๆ มีพฤติกรรมละทิ้งการอ่าน หมกหมุ่นดูทีวี เล่นเกม เล่นเน็ต แชทมือถือวันละหลายชั่วโมง เบียดบังการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
มูลนิธิเอสซีจีของเครือซีเมนต์ไทยจึงให้ความสำคัญและพยายามป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้ลุกลาม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ด้วยการวางรากฐานและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน เริ่มตั้งแต่ปฐมวัย (วัยแรกเกิด - 6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเสริมสร้างพัฒนาการและวางรากฐานต่างๆ ของมนุษย์
‘การเล่านิทาน อ่านหนังสือ’ ให้เด็กปฐมวัยฟังเป็นประจำ เป็นวิธีการที่ง่าย ประหยัด และทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งในการพัฒนาเด็กให้มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิที่ยาวนานขึ้น เพียงวันละ10-15 นาที ก็สามารถสร้างช่วงเวลาที่มีคุณภาพของครอบครัว เพราะเด็กจะได้เรียนรู้ภาษา ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ผ่านน้ำเสียงที่เปี่ยมไปด้วยความรัก และได้ซึมซับรสนิยมทางศิลปะจากหนังสือภาพตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งจะส่งผลดีต่อบุคลิกภาพ พัฒนาการทางอารมณ์ รวมถึงทักษะทางสังคม เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็กติดเกม ติดเพื่อน หรือลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยุต่างๆ เมื่อโตขึ้น
เด็กที่เคยรู้สึกดื่มด่ำ สุขใจกับการสัมผัสใกล้ชิดหนังสือในวัยนี้จะรักและผูกพันกับการอ่านไปตลอดชีวิต
เพราะการใช้หนังสือภาพเพื่อการพัฒนาเด็กเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่ามากที่สุด มูลนิธิเอสซีจีจึงได้ดำเนินการรณรงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กในทุกมิติผ่านโครงการ ‘เทศกาลนิทานในสวน’ โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก และกรุงเทพมหานคร จัดงานเทศกาลนิทานในสวนในช่วงเย็นวันเสาร์เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ที่สวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง คือ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน สวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ) เขตจตุจักร และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขตจตุจักร ซึ่งในปีนี้จัดต่อเนื่องกันมาเป็นที่ 10 และยังขยายแนวคิดไปยังส่วนภูมิภาคจัด ‘นิทานในสวนเชียงใหม่’ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนของสังคมรับรู้ เข้ามาเป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับหนังสือ โดยนำเอากระบวนการเล่านิทาน อ่านหนังสือไปใช้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือและวัฒนธรรมการอ่านในสังคมไทย
เพื่อขยายแนวคิดเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือสู่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมในวงกว้าง มูลนิธิเอสซีจีจึงได้ร่วมมือกับ เอสซีจี เปเปอร์ จัด ‘เทศกาลนิทานในสวนกระดาษ’ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อจุดประกายให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย (แรกเกิด-6ปี) ให้นำกระบวนการเล่านิทานอ่านหนังสือไปใช้กับลูกน้อย
สำหรับในปีนี้ เทศกาลนิทานในสวนกระดาษปีที่ 3 จัดขึ้นในงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2556 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน C1 โดยได้เนรมิตรพื้นที่กว่า 150 ตารางเมตรให้เต็มไปด้วยกิจกรรมแสนสนุกและเปี่ยมไปด้วยสาระที่เหมาะกับทุกคนในครอบครัว ทั้งการแสดงละครนิทานที่เป็นไฮไลท์สะกดสายตาของเด็กๆ การแนะนำเทคนิคการใช้หนังสือภาพให้กับคุณพ่อคุณแม่เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้กับลูกน้อยอย่างรอบด้าน
งานนี้จึงได้วิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ อาทิ ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ครูชีวัน วิสาสะ นักประพันธ์หนังสือภาพเด็กระดับประเทศ และคุณชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์ นักเล่านิทานชื่อดัง
นอกจากนี้ภายในสวนกระดาษยังเต็มไปด้วยหนังสือภาพคุณภาพที่ดีผ่านการคัดสรรแล้วว่าเหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย และพลาดไม่ได้กับกิจกรรมขวัญใจน้องๆ หนูๆ อย่าง กิจกรรมเพนท์หน้า วาดภาพระบายสี งานประดิษฐ์ และตื่นตาไปกับสวนกระดาษแห่งจินตนาการที่เต็มไปด้วยไอเดียสร้างสรรค์
บนลานนิทานแห่งนี้ถูกสร้างมาจากกระดาษทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ รวมถึงเครื่องเล่นกระดาษ อาทิ เขาวงกต ม้าโยก เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างจินตนาการให้แก่เด็กๆ และเพื่อให้ทุกๆ ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างมีความสุขในสวนกระดาษแห่งนี้
ข้อคิด...
ตลอด 9 ปี ของการจัดงานเทศกาลนิทานในสวนทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด รวมถึงนิทานในสวนกระดาษ มีผู้เข้าร่วมกว่าเกือบ 50,000 คน โดยผู้ปกครองที่เคยเข้าร่วมงานฯ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กๆ มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายหลังจากที่ได้ใช้หนังสือภาพกับลูกเป็นประจำ ทั้งการรู้จักคำศัพท์ การอ่านออกเสียง การสะกดคำ ตลอดจนมีสมาธิในการตั้งใจฟัง รู้จักการอดทนรออย่างใจเย็น และรักการอ่านมากขึ้น
“คุณแม่เล่านิทาน อ่านหนังสือให้น้องฟังตั้งแต่ตอนที่น้องยังอยู่ในท้อง และเล่าทุกวันจนกระทั่งตอนนี้น้องปั้นอายุ 2 ขวบ ที่ครอบครัวเราให้ความสำคัญกับเรื่องการอ่านนั้น เพราะเห็นว่านอกจากการอ่านจะช่วยเพิ่มพูนความรู้แล้ว ยังเป็นการปูพื้นฐานให้ลูกใฝ่รู้ ทั้งยังช่วยเรื่องพัฒนาการของน้องปั้นด้วย สังเกตได้ว่า น้องปั้นพูดจาชัดถ้อยชัดคำ และมีการใช้ศัพท์ที่ดีและหลากหลายกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างชัดเจน อารมณ์แจ่มใส และชอบหยิบหนังสือภาพมาให้คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟัง
จริงๆ แล้ว เราสองคนไม่ได้รับการปลูกฝังให้รักการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก แต่พออยากให้ลูกรักการอ่าน เราก็ปรับตัวอ่านหนังสือมากขึ้นเพื่อลูก ก็ถือว่าได้ประโยชน์ทั้งเราทั้งลูกในคราวเดียว” เสียงยืนยันจากคุณพ่อชัยณรงค์ และ คุณแม่นฤมล พราหมณี ผู้ปกครองของ ด.ช. คริษฐ พราหมณี หรือ น้องปั้น กล่าวถึงผลลัพธ์ที่ดีจากการเลี้ยงดูลูกด้วยหนังสือ
ทราบว่ามูลนิธิเอสซีจียังมีแผนที่จะขยายพื้นที่ของการเล่านิทานอ่านหนังสือไปยังพื้นที่สาธารณะอีกหลายแห่งในจังหวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้าโรงพยาบาล ชุมชนแออัด ทั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง เพื่อให้เข้าถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็กในพื้นที่ ตลอดจนดำเนินการส่งเสริมและผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยหนังสืออย่างกว้างขวางจนหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ นำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมเยาวชนไทยเติบโตโดยมีความรู้และความคิดเป็นรากฐานที่เกิดจากการอ่าน
นี่คือตัวอย่างที่ดีมากในการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้กับสังคม ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเป็นกำลังสำคัญในการปลูกฝังค่านิยมรักการอ่าน การอ่านหนังสือจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ และสังคมเด็ก เมื่อเด็กๆ ได้สัมผัสหนังสือจะช่วยปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นจินตนาการได้
suwatmgr@gmail.com