ก่อนหน้านี้ หลายคนมองว่าการพูดถึง กรีนไอที เป็นเรื่องแฟชั่นวูบวาบไม่จริงจัง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ กรีนไอทีเป็นเรื่องราวที่มีความจริงจังและเกิดผลจริงอย่างไม่น่าเชื่อ
โลกปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สมัยใหม่ด้านไอทีเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงานแทบทุกเรื่องในชีวิต จนมีหลายล้านวิธีในการใช้เทคโนโลยี และนับล้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คน
แต่เทคโนโลยีทั้งหลายมาจากองค์ประกอบของเคมี โลหะหนักและวัสดุสังเคราะห์ และสร้างขยะอันตรายต่อโลกมากมายในทุกๆ ปี สร้างความสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นทุกๆ วัน และแทบจะยังไม่เคยพยายามหาเทคโนโลยีมาช่วยลดปัญหาสภาพแวดล้อมเหล่านี้อย่างจริงจัง
กรีนไอทีคือ ไอทีที่มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 ลดระดับผลกระทบของไอทีต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ส่วนที่ 2 ใช้ไอทีในการช่วยแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมโลก
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกรีนไอทีระดับโลกที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ได้แก่
ประเด็นที่ 1 การพิจารณาหาทางจัดการกับขยะและของเหลือใช้ที่เกี่ยวข้องกับไอที โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีโลหะหลักกว่า 1 กิโลกรัม และสารเคมีอีกมากมาย และนำทรัพยากรเหมืองแร่มาใช้สร้างขึ้น
ไม่น่าเชื่อว่าทองคำที่นำมาใช้ในการสร้างคอมพิวเตอร์ในสัดส่วนกว่า 10% ของผลผลิตทองคำโลกที่ขุดขึ้นมาจากพื้นดิน และนำกลับมาใช้ใหม่เพียงไม่ถึง 30% เท่านั้น เช่นเดียวกับทองแดงที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ นำกลับมาใช้ใหม่เพียง 10% เช่นกัน
แนวคิดนี้ได้เกิดคำใหม่ในวงการกรีนว่า eWaste ที่เป็นความพยายามลดขยะที่มีการบริหารจัดการแบบไร้ประสิทธิภาพ และนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปี เพราะการรีไซเคิลมีสัดส่วนน้อยกว่าที่เกิดขยะมากมาย
ประเด็นที่ 2 การพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการประหยัดพลังงานนั่นเอง เพราะการผลิตพลังงานออกมาใช้ทำให้เกิดการสูญเสียมากมาย ทั้งถ่านหินและพลังงานอื่น สร้างภาวะเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นทุกวัน เช่น คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณปีละ 868 กิโลวัตต์
กิจกรรมกรีนไอทีจึงเป็นการปิดเครื่องเมื่อไม่ได้ใช้งาน ตั้งค่าให้คอมพิวเตอร์พักจอหรือ sleep mode ทุก 15 นาทีหากไม่มีการใช้งาน ดึงปลั๊กเสียบออกจากเต้าไฟฟ้าทุกวัน หรือแม้แต่การซื้ออุปกรณืที่ประหยัดพลังงาน ใช้แล็ปท็อปแทนเดสก์ท็อป เพราะกินไฟน้อยกว่ามาก
ประเด็นที่ 3 การนำเทคโนโลยีใหม่มาเยียวยาสภาพแวดล้อม เช่น การสร้างโมเดลใหม่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก ซึ่งต้องใช้ศักยภาพของการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์มหาศาล และต้องทำงานอย่างรวดเร็วให้ได้ข้อมูลสภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกทันท่วงที และเป็นปัจจุบันมากที่สุด
หรือเทคโนโลยีในการดูดซับและจัดเก็บคาร์บอนแยกออกจากอากาศ เหมือนกับการทำงานของต้นไม้ เพียงแต่ต้นไม้ในปัจจุบันมีไม่เพียงพอในการดูดซับคาร์บอน จึงต้องมีเครื่องดูดซับเพิ่มเติมจากการทำงานของกลไกธรรมชาติ โดยอาจนำไปเก็บไว้ในทะเลหรือใต้ดิน ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยในการประเมินสภาพของทำเลที่ตั้งของสถานที่ดังกล่าวให้ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้าง
ประเด็นที่ 4 การสร้างเทคนิคหรือกลวิธีในการทำกิจกรรมกรีนไอที เช่น
-การปรับเทอร์โมสตาท์ในห้องเซิร์ฟเวอร์
-การตั้งค่า default ให้กระดาษพิมพ์แบบ 2 หน้าแทนหน้าเดียว
-การตั้งค่าให้แสดงปริมาณสะสมของการใช้พลังงาน เพื่อเตือนให้เริ่มประหยัดพลังงาน
-การตั้งระบบ HVAC system การปรับอากาศเป็นกระบวนการทำความเย็นที่ใช้กระบวนการในวัฏจักรการทำความเย็น (Refigeration Cycle) เพื่อก่อให้เกิดความสบายที่สุด
-การสร้างระบบการระบายและการเคลื่อนที่ของอากาศให้เหมาะสมและเป็นอิสระ ไม่มีการกีดขวางที่ไม่เหมาะสม
-การผลิตคาร์ทริดจ์ที่ใช้เป็นอุปกรณ์พิเศษแบบใช้ซ้ำใหม่ได้ เมื่อเสียบเข้ากับเครื่องพิมพ์บางชนิดที่ต่อกับ ครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำให้สามารถพิมพ์แบบอักษรต่างๆ
-การปรับค่าการบริหารพลังงานในคอมพิวเตอร์ให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน
-การซื้อเซิร์ฟเวอร์แบบประหยัดไฟ energy star
-การใช้พลังงานโซลาร์แทนพลังงานไฟฟ้าในการชาร์จโทรศัพท์มือถือ