xs
xsm
sm
md
lg

อ้วนเกินไป.. เสี่ยงภัยเป็นเบาหวาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“โรคอ้วน” นับว่าเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย ที่มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ และโรคถุงน้ำรังไข่ เป็นต้น

พญ.ภัทรวรรณ โกมุทบุตร อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า วิธีวัดระดับความอ้วนมีหลายรูปแบบ โดยที่นิยมกันคือ การวัดจากดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index – BMI BMI ≥ 25 kg/m² และการตรวจวัดรอบเอว ที่มากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย และมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง โดยทั่วไปแล้วเราควรมีค่า BMI อยู่ที่ระหว่าง 18.5-22.9 kg/m2 หากน้อยหรือมากกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคอ้วนตามลำดับ

•ค่า BMI 18.5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ”

•ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”

•ค่า BMI ≥ 25 kg/m² เรียกว่า “โรคอ้วน”

ความอ้วนทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากไขมันสร้างสารที่ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน (อินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่) และไขมันที่แทรกในตับอ่อนทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ลดลง เมื่ออินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดทำงานได้ลดลง น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินและโรคเบาหวานจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและรับคำแนะนำทางโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยา เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดี

ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลหัวเฉียว ให้บริการโดยทีมแพทย์เฉพาะทางและสหวิชาชีพที่มีประสบการณ์ ได้แก่ ทีมอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต จักษุแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ทีมพยาบาล นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด และเภสัชกร เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ แผลเรื้อรังที่เท้า เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น