เมื่อยามฤดูร้อน นอกจากอากาศที่ร้อนแล้ว การเจ็บป่วยอย่าง “ภาวะฮีทสโตรก” ก็ย่อมตามมาด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งหากดูแลร่างกายไม่ดี ก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุ
สำหรับ ภาวะฮีทสโตรก หรือเรียกอีกชื่อ คือ โรคลมแดด เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง โดยมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง
ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้นั้น อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
อาการ
-มีอาการไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
-ปวดศีรษะ หน้ามืด เมื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจจะหมดสติได้
-มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชัก เพ้อ เดินโซเซ มีการตอบสนองช้า หรือ พูดจาวกวนสับสน
-ไม่มีเหงื่อออก อันเน่องมาจากต่อมเหงื่อที่ทำงานผิดปกติ จนทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงขึ้น
-อาจมีการพบปัสสาวะสีเข้มผิดปกติ จากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย และอาจเกิดภาวะไตวายตามมา
การป้องกัน และวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น
-ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- รับประทานน้ำแข็ง รับประทานไอศกรีม
-ถ้าอยู่ในบ้าน พยายามเปิดประตู หน้าต่าง อย่าอยู่ในที่อับ อย่าอยู่ในห้องปิด
- ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน เพื่อเป็นการระบายอากาศได้ดี
-แนะนำให้ใช้ครีมกันแดด SPF 15 และไม่ควรทาครีมกันแดดหนาจนเกินไป
-หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด หรือ การเล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
-งดเครื่องดื่มแอลกฮอล์
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลสินแพทย์ และ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์