“เล็บ” ถือว่าเป็นหนึ่งในส่วนย่อยของมือ ที่หลายคนอาจจะมองได้ทั้งความสวยงาม หรือ ความปกติที่อาจจะไม่ใส่ใจเลยก็ได้ ซึ่งในบางครั้งการดูแลของทุกคนก็ทำได้ด้วยการตัดเล็บหากมันงอกยาวขึ้นมา แต่รู้หรือไม่ว้า ถ้ามีความผิดอกติในตัวเล็บแล้วนั้น ก็สามารถที่จะบอกโรคต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง
“เล็บ” แบบใด ที่ส่อจะเป็นโรคในร่างกาย
1. เล็บหนา-บางกว่าปกติ
เล็บหนากว่าปกติ มีหลายโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเชื้อรา สะเก็ดเงิน เล็บบางกว่าปกติ พบในคนสูงอายุอาจมีเล็บเปราะตกง่ายบริเวณปลายเล็บได้
2. เล็บเป็นหลุม ผิวขรุขระ
พบบ่อยในโรคสะเก็ดเงินหรือโรคผิวหนังอักเสบหรือโรคผมร่วงเป็นหย่อม
3. จมูกเล็บอักเสบ
มีลักษณะบวมแดง จะพบในคนที่มือเปียกน้ำบ่อย ๆ เช่น ทำความสะอาดบ้าน ล้างจาน ผิวหนังรอบเล็บอาจมีการอักเสบ และเล็บเป็นร่อง ๆ ได้
4. ปลายเล็บแยก
อาจเป็นเพราะโรคบางอย่าง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคไทรอยด์ โรคเชื้อรา และโรคผื่นผิวหนังอักเสบ รวมถึง (เป็นผลจาก) ยาบางชนิด
5. เล็บเปลี่ยนสี เลือดออกใต้เล็บ
อาจเกิดจากการเล่นกีฬาประเภทกระแทก ๆ ชนิดที่ต้องวิ่งแล้วเบรค เช่น เทนนิส บาสเกตบอล แต่หากป็นในระยะเวลานานควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ อาจเป็นจากมะเร็งผิวหนังได้
เล็บแบบไหน ควรไปพบแพทย์
-มีเกิดการเปลี่ยนแปลงของสีเล็บ รูปทรงเล็บ และความหนาของเล็บอย่างผิดปกติ
-พื้นผิวของเล็บมีลักษณะผิดปกติ เช่น เป็นหลุม เป็นรู มีรอยคลื่น และไม่สม่ำเสมอ
-เล็บมีการแยกออกมาจากผิวหนังบริเวณเล็บ
-เล็บและผิวหนังบริเวณขอบเล็บบวม แดง มีอาการเจ็บปวด มีหนองหรือมีเลือดออก
การดูแลรักษา “เล็บ”
-อย่าล้างมือหรือเท้าบ่อยเกินไป หลังจากล้างเสร็จแล้ว ควรเช็ดให้แห้งสนิท
-ถ้ามีความจำเป็นต้องล้างจาน ซักผ้า ถูบ้าน ก็ควรใส่ถุงมือเป็นประจำให้เป็นนิสัย
-หลีกเลี่ยงการทำเล็บบ่อย ๆ ที่ร้านเสริมสวย เพราะช่างมักจะแคะเล็บ และตัดจมูกเล็บใหเสียหาย
-ควรตัดเล็บใหม่ขนาดสั้นพอประมาณ เพราะการไว้เล็บยาวเกินไป อาจทำให้เล็บเกิดการฉ๊กขาดได้ง่าย
-ทาสีเล็บให้น้อยลง เพื่อที่จะให้เล็บได้พักผ่อนและหลีกเลี่ยงการทำสีเล็บ ซึ่งอาจจะทำให้สารเคมีทำลายเนื้อเล็บได้
-ทาครีมหรือลั่นที่บำรุงมือและเล็บโดยเฉพาะอย่างสม่ำเสมอ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการทาตรงบริเวณซอกนิ้วเล็บเช่นเดียวกัน
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : pobpad.com, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ โรงพยาบาลศิริราช