xs
xsm
sm
md
lg

“ประคบร้อน-ประคบเย็น” เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับอาการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อได้รับบาดเจ็บแบบฉับพลันถ้วนทีแล้วนั้น แน่นอนว่า การประคบร้อน หรือประคบเย็นนั้น เป็นวิธีของการปฐมพยาบาลแบบเบื้องต้นของภาวะอาการดังกล่าว แต่ทราบหรือไม่ว่า การบาดเจ็บในแต่ละครั้งนั้น ก็ต้องดูด้วยเช่นกันว่า อาการแบบไหนควรจะประคบอย่างไร เพราะมิเช่นนั้น อาจจะส่งผลเสียต่ออาการที่กำลังประสบเหตุในตอนนั้นได้


การประคบร้อน

สำหรับการประคบร้อนนั้น จะช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซ่อมแซมการบาดเจ็บดีขึ้น บรรเทาอาการปวด

เมื่อใดจะต้อง "ประคบร้อน"

-หลังได้รับบาดเจ็บ หรือฟกช้ำ 48-72 ชั่วโมง
-อาการปวด หรืออักเสบเรื้อรัง ตึงบริเวณข้อ
-ปวดประจำเดือน ปวดฟัน เต้านมคัด

อาการแบบใดต้อง "ประคบร้อน"

-ลดอาการปวดหรืออักเสบเรื้อรัง
-ผ่อนคลายอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ เช่น ปวดคอบ่าไหล่ ปวดหลัง
-ลดอาการตึงบริเวณข้อ
-ตะคริว ออฟฟิศ ซินโดรม
-ปวดประจำเดือน
-เต้านมคัดในช่วงให้นมบุตร

วิธีการ “ประคบร้อน”

-ใช้เจลประคบร้อนสำเร็จรูป หรือถุงน้ำร้อนรองผ้าขนหนู
-อุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส
-ประคบบริเวณที่ปวดหรือตึง นาน 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง

ข้อควรระวังในการ “ประคบร้อน”

-ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
-ความร้อนที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดรอยดำไหม้หรือแผลพุพองได้

การประคบเย็น

ส่วนการประคบเย็น จะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว จนทำให้เลือดออกน้อยลง มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าหลอดเลือดช่วยให้ยุบบวม

เมื่อใดจะต้อง "ประคบเย็น"

-ข้อเท้าแพลง รอยฟกช้ำ จากการกระแทก ปวด บาดเจ็บ
-อาการปวดเฉียบพลัน
-อาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ ไข้สูง เลือดกำเดาไหล แผลจากของมีคม น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ที่ไม่รุนแรง

อาการแบบใดต้อง “ประคบเย็น”

-ลดอาการบาดเจ็บในระยะเฉียบพลัน ที่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน
-รอยฟกช้ำจากการกระแทก
-ข้อเท้าแพลง หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
-แผลจากของมีคม
-ปวดฟัน หรือปวดเฉียบพลัน
-มีไข้ ปวดศีรษะ
-เลือดกำเดาไหล
-ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกที่อาการไม่รุนแรง

วิธีการ “ประคบเย็น”

-ใช้แผ่นประคบเย็นซึ่งไม่ควรเย็นมากจนเกินไป หรือถุงห่อน้ำแข็ง
-ประคบ ที่ผิวหนัง หรือรองผ้าขนหนูก่อนประคบบริเวณที่ปวดหรือบวม
-ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง

ข้อควรระวัง “ประคบเย็น”

-ให้ระวังในผู้ที่ทนต่อความเย็นไม่ได้จนกล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว
-ผู้ที่แพ้ความเย็น หรือมีผื่นขึ้นง่าย

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : Rama Channel และ โรงพยาบาลขอนแก่น-ราม


กำลังโหลดความคิดเห็น