xs
xsm
sm
md
lg

“ภาวะไหล่ติด” อาจดูไม่หนัก แต่กินเวลาฟื้นตัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อคนเราได้ชีวิตประจำวัน ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมีเรื่องของการเคลื่อนไหวบ้าง และถ้าเกิดความผิดพลาด ก็อาจจะทำให้ได้รับบาดเจ็บเรื้อรังได้ และ “ภาวะไหล่ติด” นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความเจ็ปป่วยที่ว่ามานี้ด้วยเช่นกัน

“ภาวะไหล่ติด” คืออะไร

เป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้สุด หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด โดยอาการข้อไหล่ติดจะเกิดทุกทิศทางในการเคลื่อนไหว ทั้งไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยแบ่งได้ 3 ระยะ คือ

ระยะแรก : เจ็บปวด

โดยเป็นอาการที่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งแม้ไม่ได้ทำกิจกรรม ก็จะมีอาการปวด ซึ่งกินระยะเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 9 เดือน และมุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ก็ลดลง

ระยะสอง : ข้อยืด

ส่วนระยะนี้ อาการปวดจะยังคงอยู่ แต่จะลดลง ด้านการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ก็ลดลงอย่างชัดเจน กินระยะเวลาประมาณ 4-9 เดือน หรืออาจจะนานกว่านั้น

ระยะสาม : ฟื้นตัว

เมื่อผ่านการเจ็บปวดมาจาก 2 ระยะแล้ว อาการปวดจะลดลง ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้น ในช่วง 5 เดือน ถึง 2 ปี


ปัจจัยที่ทำให้เกิด “ภาวะไหล่ติด”

-โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับความอ้วน โรคไทรอยด์
-ผู้ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
-เคยประสบอุบัติเหตุที่ข้อไหล่ มีภาวะเส้นเอ็นบริเวณไหล่ฉีกขาด


บริหารร่างกาย หากเป็น “ไหล่ติด”

ท่าที่ 1 : แกว่งแขนแบบลูกตุ้มนาฬิกา

ให้ทำการยืนหันข้าง โดยให้ไหล่ที่ดีหันข้างให้โต๊ะและท้าวแขนไว้บนโต๊ะ โน้มตัวไปด้านหน้า และปล่อยแขนด้านที่มีปัญหาลง แกว่งเป็นรูปวงกลมเบาๆช้าๆ

ท่าที่ 2 : ท่ากางไหล่

นั่งหันข้างโดยให้แขนข้างที่มีปัญหาชิดกับโต๊ะ นั่งกางไหล่ วางแขนไว้บนโต๊ะ ค่อยๆเลื่อนๆตัวออกในระยะที่พอทนได้ แล้วค้างไว้ประมาณ 10 วินาที

ท่าที่ 3 : ท่ายืดกล้ามเนื้อด้านหน้า

โดยนอนหงาย เอามือไขว้รองศีรษะ ยกศอกตั้งขึ้นในระยะที่พอทนได้ แล้วค้างไว้ประมาณ 10 วินาที

ท่าที่ 4 : ท่ายกไม้

จับปลายไม้ด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วยกขึ้นลงเหนือศีรษะ


การรักษาและป้องกัน

-ให้ยาลดปวด อาจเป็นยากินหรือยาชนิดฉีด
-ทำการกายภาพบำบัด โดยผู้ป่วยต้องทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี
-เข้ารับการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยบางรายที่รักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ
-การออกกำลังกาย

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และ Rama Channel


กำลังโหลดความคิดเห็น