xs
xsm
sm
md
lg

การผ่าตัดข้อไหล่ ด้วยวิธีส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อาการปวดไหล่ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากที่สุดปัญหาหนึ่ง เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุของอาการปวดไหล่อาจเกิดจากปัญหาของโครงสร้างในข้อไหล่เอง (กระดูก กระดูกอ่อน เนื้อเยื่อต่างๆ เช่น เยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือถุงหุ้มเส้นเอ็น จากภาวะข้อไหล่ไม่มั่นคง (Instability pain) หรืออาการปวดจากบริเวณอื่น (referred pain) เช่น จากกระดูกต้นคอ ทรวงอกหรือในช่องท้อง ซึ่งอาการปวดในแต่ละโรคอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้

สาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดไหล่ ได้แก่

• กระดูกงอกทับเส้นเอ็นหัวไหล่ (Impingement syndrome)

• ภาวะเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีก (Rotator cuff tear)

• ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)

• ข้อไหล่หลุด (Shoulder instability)

• ข้ออักเสบ (arthritis)

การผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่

นพ.ลพบุรี นาทะสิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางเวชศาสตร์การกีฬา ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า การผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ ในปัจจุบันนั้นจะเปิดแผลขนาดเล็กแล้วใช้กล้องส่องเข้าไปดูภายในข้อหัวไหล่ ซึ่งจะเห็นสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น มีเส้นเอ็นขาดหรือไม่ กระดูกเสื่อมตรงไหน ก่อนที่จะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งมาช่วยเสริมในการจับและเย็บเส้นเอ็นที่ฉีกขาด โดยแผลที่เกิดจากการผ่าตัดส่องกล้องจะมีลักษณะเป็นรูเล็กๆ ขนาด 0.5 – 1 เซนติเมตร จำนวน 3-4 รู ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้มีรอยโรคมากน้อยเพียงใด โดยกล้องที่นำมาใช้ในการผ่าตัดจะมีเลนส์ที่มีกำลังขยายสูงจึงช่วยศัลยแพทย์ได้เห็นเนื้อเยื่อที่ขาดและอาการบาดเจ็บภายในได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แม้ว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้องรักษาปัญหาข้อไหล่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหารอยโรคที่ขยายไปมากแล้ว เช่น เส้นเอ็นขาดมาก หรือมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่ขาดร่วมด้วย หรือเส้นเอ็นที่ขาดนานๆ จนข้อหัวไหล่เสื่อม ในกรณีเหล่านี้การผ่าตัดส่องกล้องไม่อาจช่วยได้ จึงต้องใช้วิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมแทน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศัลยแพทย์ผู้ประเมิน

ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลหัวเฉียว ให้การดูแลรักษาอย่างครบวงจร ตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น โดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์การผ่าตัดทั้งแบบเปิดและส่องกล้อง

บริการตรวจวินิจฉัยและมีเทคโนโลยีการผ่าตัดขั้นสูงด้วยกล้อง :

• ศัลยกรรมกระดูกและข้อทั่วไป

• ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

• ด้านเวชศาสตร์การกีฬา เช่น การบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ

• รักษาโดยการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ

• ศัลยกรรมการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ข้อเข่าเทียม

• ศัลยกรรมเกี่ยวกับมือ – เท้า
กำลังโหลดความคิดเห็น