การเป็นผู้หญิงที่นอกจากจะต้องพบเจอปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วยแล้ว ในเรื่องของสุขภาพที่อาจจะต้องพบเจอกันในทุกคน โดยเฉพาะ “โรคมะเร็งเต้านม” ที่ว่ากันว่ามีความเสี่ยงในผู้หญิงทุกช่วงวัย ฉะนั้น การป้องกันโรคดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้วก็ว่าได้
อะไรคือ “มะเร็งเต้านม”
“มะเร็งเต้านม” เกิดเนื่องการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก่อนที่จะกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงของ “มะเร็งเต้านม”
-เพศหญิง (มีโอกาสพบในเพศชายเพียง 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด)
-อายุที่มากขึ้น (เริ่มพบได้บ่อยตั้งแต่อายุ 40-50 ปี)
-ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินยาฮอร์โมนทดแทน
-การมีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ เนื่องจากอาจสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้
อาการของ “มะเร็งเต้านม”
บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมอาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
-มีก้อนหนา ๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
-บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล
-เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
-มีอาการปวดบริเวณเต้านม
การรักษา “มะเร็งเต้านม”
การรักษามะเร็งเต้านมอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่าง ๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
-ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
-ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
-อายุและสุขภาพของผู้ป่วย
-ตัวรับฮอร์โมนของมะเร็ง
-ภาวะก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน
-ปัจจัยที่บ่งบอกความรุนแรงของเนื้องอก เช่น ยีน HER2 (human epidermal growth factor receptor 2)
วิธีห่างไกลจาก “มะเร็งเต้านม”
- ตรวจเช็กมะเร็งทุกปี
-ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์
-เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
-ออกกำลังกายเป็นประจำ
-ห่างไกลจากสารพิษที่มีผลต่อร่างกาย
- รับประทานวิตามินเพื่อช่วยลดความเสี่ยง
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์