xs
xsm
sm
md
lg

“ภาวะลำไส้ขี้เกียจ” อาจร้ายแรง ส่งผลเสียต่อการขับถ่าย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อพูดถึงเรื่องลำไส้แล้ว การใช้งานโดยส่วนใหญ่ก็ต้องเกี่ยวข้องกับการขับถ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเรื่องดังกล่าวนี้จะช่วยสร้างความสมดุลในร่างกาย แต่หากร่างกายเกิด ‘ภาวะลำไส้ขี้เกียจ’ ล่ะ เราต้องรับมือกับตรงนี้อย่างไรบ้าง ฉะนั้นแล้ว เรามาเตรียมตั้งรับกับปัญหาดังกล่าวนี้กัน

“ภาวะลำไส้ขี้เกียจ” คืออะไร

สำหรับ ‘ภาวะลำไส้ขี้เกียจ’ นั้น เป็นหนึ่งในโรคที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารผิดปกติ หรือ Motility disorder กล่าวคือ จะมีการเคลื่อนไหวของลําไส้ใหญ่น้อยลง หรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกัน จนทําให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลําไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ และเกิดภาวะท้องผูกเรื้อรัง

ถามว่าสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้ขี้เกียจนั้นคืออะไร คำตอบคือ มีการใช้ยาระบายเป็นประจำจนเกินความพอดี ทานทุกวันเกิน 1-2 อาทิตย์ ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อภายในลำไส้ติดการกระตุ้นจากยาถ่ายจนทำงานเองไม่เป็น จนไม่อาจบีบตัวได้ด้วยตนเองในที่สุด


อาการ

อาการของ “ภาวะลำไส้ขี้เกียจ” นั้น จะรุนแรงมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยอาการคร่าวๆ จะมีดังต่อไปนี้

-  ถ่ายอุจจาระยาก หรือท้องผูก

-  ถ่ายเหลว

-ปวดท้อง มีลมในท้อง

-คลื่นไส้ อาเจียน

ขณะเดียวกัน ในบางครั้ง ก็จะเกิดการรู้สึกจุกเสียด แน่นท้อง ท้องบวม และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หากปล่อยเอาไว้นานไม่ทำการรักษา อาการก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นโรคลำไส้แปรปรวน ท้องผูกเรื้อรังตามมาได้ในที่สุด


การป้องกันและรักษา

-ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าวันละ 2 ลิตร หรือ 6-8 แก้วต่อวัน

-รับประทานอาหารที่มีกากใยให้เยอะขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ อาจเป็นผักต้มสุก 4-5 ทัพพีต่อวัน หรือผักผลไม้สด 8 ทัพพีต่อวัน

-หลีกเลี่ยงอาหารมัน ของทอด อาหารที่มีไขมันสูง

-ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้

-ไม่กลั้นอุจจาระ แนะนำให้เข้าห้องน้ำเมื่อปวดทันที หรือในกรณีที่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำทันทีได้ ให้สังเกตพฤติกรรมตัวเองว่าจะรู้สึกปวดท้องเข้าห้องน้ำเมื่อไหร่ และคำนวณเวลาเพื่อเตรียมเข้าห้องน้ำในเวลานั้น ๆ

-ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาใช้ยารักษา เช่น กลุ่มยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ กลุ่มยาที่เพิ่มน้ำในอุจจาระ ยาระบาย หรือหากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบางปะกอก 9 และ แฟนเพจ Holistic Medical Centre


กำลังโหลดความคิดเห็น