ท้องอืด ท้องเฟ้อ คือภาวะอาหารไม่ย่อย ซึ่งพบบ่อยมากถึง 25% ของคนทั่วไป จะทำให้รู้สึกปวดท้องช่วงบน เนื่องจากระบบการย่อยไม่ปกติ ส่งผลให้ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง และอึดอัด ไม่สบายตัว โดยอาการมักดีขึ้นและหายได้เอง หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ มากกว่า 50% ไม่สามารถระบุสาเหตุของภาวะท้องอืดท้องเฟ้อได้ แพทย์จะให้การรักษาด้วยการรับประทานยา รวมถึงปรับเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมการกิน
ผักที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ
1. บรอกโคลี
บรอกโคลี มีน้ำตาลเชิงคู่ที่เรียกว่า น้ำตาลแรฟฟิโนส ซึ่งร่างกายอาจมีปัญหาในการสลายน้ำตาลชนิดนี้ และอาจก่อให้เกิดแก๊สขึ้น อีกทั้งบรอกโคลียังมีไฟเบอร์สูง ซึ่งการที่ไฟเบอร์สูงแบบนี้ ก็มีส่วนเพิ่มแก๊สได้มากขึ้นเช่นกัน
2. กะหล่ำดอก
กะหล่ำดอก ก็มีน้ำตาลเชิงคู่ที่เรียกว่า น้ำตาลแรฟฟิโนสเหมือนกัน อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า ร่างกายอาจมีปัญหาในการสลายน้ำตาลชนิดนี้ และอาจก่อให้เกิดแก๊สขึ้น รวมถึงกะหล่ำดอกยังมีไฟเบอร์สูงอีกเช่นกัน ซึ่งก็จะมีส่วนเพิ่มแก๊สได้มากขึ้นตาม
3. กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลี ก็ถือเป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่ก่อให้เกิดแก๊ส โดยกะหล่ำปลีมีน้ำตาลแรฟฟิโนส ที่ถือเป็นน้ำตาลเชิงคู่ ซึ่งร่างกายอาจมีปัญหาในการสลายน้ำตาลชนิดนี้ และอาจก่อให้เกิดแก๊สขึ้น รวมไปถึงกะหล่ำปลียังมีไฟเบอร์ที่สูง และมีส่วนเพิ่มแก๊สได้มากขึ้นด้วย
4. กะหล่ำดาว
ในกะหล่ำดาวก็มีน้ำตาลแรฟฟิโนส ถือเป็นน้ำตาลเชิงคู่เช่นเดียวกัน ร่างกายอาจมีปัญหาในการสลายน้ำตาลชนิดนี้ และอาจก่อให้เกิดแก๊สขึ้นนั่นเอง และแน่นอนว่ากะหล่ำดาวก็มีไฟเบอร์ที่สูงเช่นกัน จึงถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุมีส่วนเพิ่มแก๊สได้มากขึ้นนั่นเอง
5. หัวหอมใหญ่
หอมหัวใหญ่ มีน้ำตาลธรรมชาติที่เรียกว่า ฟรุกโตส ซึ่งมีส่วนทำให้ลำไส้มีปัญหาในระหว่างการย่อย และฟรุกโตสก็อาจก่อให้เกิดแก๊สขึ้นเมื่อแบคทีเรียในลำไส้สลายตัว รวมถึงแก๊สจากหัวหอมก็อาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้อีกด้วย
6. กระเทียม
โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่แพ้กระเทียม อาจจะมีอาการท้องอืดและมีแก๊สได้
7. หน่อไม้ฝรั่ง
หน่อไม้ฝรั่ง อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ดีต่อร่างกาย แต่การที่ไฟเบอร์เยอะ ก็อาจมีส่วนเพิ่มแก๊สได้มากขึ้นตามมา รวมถึงหน่อไม้ฝรั่ง ยังมีน้ำตาลเชิงคู่ที่เรียกว่า น้ำตาลแรฟฟิโนส ซึ่งร่างกายอาจมีปัญหาในการสลายน้ำตาลชนิดนี้ และอาจก่อให้เกิดแก๊สขึ้นได้
วิธีลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คือ การดื่มน้ำเยอะ ๆ และเดินหลังจากมื้ออาหาร เพราะการเดินหลังมื้ออาหาร 10 – 15 นาที จะช่วยให้ลำไส้เล็กบีบตัวได้ดี แบคทีเรียในลำไส้สร้างแก๊สน้อยลง ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้อีกทางนะครับ
ข่าวโดย : พันนา วงศ์ใหญ่