xs
xsm
sm
md
lg

“โรคสมาร์ทโฟนซินโดรม” ภันอันตรายสำหรับคนติดหน้าจอ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทุกวันนี้ “สมาร์ทโฟน” คือ 1 สิ่งที่ทุกคนต้องมีติดตัวอยู่เสมอ และมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตในประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การดูหนัง ฟังเพลง ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ค้นหาข้อมูล หรือแม้กระทั่งการสอนหนังสือ แต่หากเราจ้องสมาร์ทโฟนมากจนเกินไป มีโอกาสสูงที่จะเป็น “โรคสมาร์โฟนซินโดรม” โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย
อาการของโรคสมาร์ทโฟนซินโดรม
 
อาการของโรคนี้จะมีลักษณะเดียวกันกับอาการของโรคเอ็นข้ออักเสบ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนที่ใช้ข้อมือเยอะ เช่น นักกีฬา หรือคนที่ทำงานพิมพ์เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันอาการแบบนี้จะพบได้บ่อยขึ้น เพราะวิถีขีวิตของคนส่วนใหญ่นั้นเปลี่ยนไป ใช้โทรศัพท์กันมากขึ้น ทำให้เส้นเอ็นข้อมือและนิ้วถูกใช้งานมากจนเกิดการเสียดสีกันนาน ๆ และต่อเนื่องเข้าจนเกิดอาการอักเสบจนเกิดอาการปวดบวมขึ้นในที่สุด

ผลเสียต่อร่างกายของโรคสมาร์ทโฟนซินโดรม

-สมาธิสั้น
-ปวดตา ตาแห้ง ตาแดงช้ำ
-ปวดหัว วิงเวียน
-ปวดข้อมือและนิ้วมือ
-มีความเครียด เพราะได้รับข้อมูลที่มากเกินไป
-นิ้วล็อค
-ซึมเศร้าวิตกกังวล
-ปวดกระดูก คอ บ่า
-อ่อนเพลีย เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ
-ระบบการเรียนรู้แย่ลง


การรักษาโรคสมาร์ทโฟนซินโดรม

โรคนี้เกิดจากพฤติกรรม การรักษาจะมี 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ

1. การแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม โดยการปรับท่าทางของร่างกายให้อยู่ในอิริยาบถที่ถูกต้องเหมาะสมเมื่อต้องใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงการใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือให้น้อยลง

2. รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด เช่น การคลายกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อ การบริหารร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ร่วมกับการใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ลดปวด และการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือมีการเสื่อมของกระดูกหรือหมอนรองกระดูกคอร่วมกับการกดทับเส้นประสาทหรือปลายประสาท จะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนเพื่อพิจารณาการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันมีนวัตกรรมการผ่าตัดแผลเล็กที่มีความแม่นยำและปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบดั่งเดิม จึงเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทค่อนข้างต่ำมาก อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม การปรับพฤติกรรมจึงเป็นแนวทางป้องกันที่ดีที่สุด

สมาร์ทโฟนถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีโทษและภัย หากเราใช้เป็นเวลานาน ๆ ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟนได้ แต่เราสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้งานได้ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนจากการใช้สมาธิจ้องหน้าจอมากเกินไป และเป็นการพักสมองที่ต้องจดจำ และรับข้อมูลมากมายอีกด้วย

ข่าวโดย : พันนา วงศ์ใหญ่


กำลังโหลดความคิดเห็น