xs
xsm
sm
md
lg

“การทำเลสิค” อีกหนึ่งทางเลือกของผู้มีปัญหาสายตา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้มีปัญหาสายตาในปัจจุบันนั้น อาจจะมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น หลาย ๆ คน ก็มีวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันไป ทั้งการสวมแว่นสายตา, การใส่คอนแทคเลนส์ แต่อีกวิธีที่นิยมอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือ “การทำเลสิค” ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวในระยะยาว และจะช่วยให้บุคลิกภาพของคนทำเลสิคนั้นดูดีขึ้นอีกด้วย

“การทำเลสิค” คืออะไร

การทำเลสิค หมายถึง การผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการใช้เลเซอร์ชนิดหนึ่งเรียกว่า "เอ็กไซเมอร์เลเซอร์" โดยเป็นเลเซอร์ความยาวคลื่นสั้นแบบเย็น จะทำปฏิกิริยากับพื้นที่ผิวสัมผัสเท่านั้น ไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือภายในลูกตาแต่อย่างใด

ใครที่สามารถ “ทำเลสิค” ได้บ้าง

- อายุ 18 ปีขึ้นไป

-มีสายตาคงที่ หรือ เปลี่ยนแปลงค่าสายตาได้ไม่เกิน 50 เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสสายตากลับมาสั้นหรือเอียงเพิ่มได้

-ไม่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ให้รอประจำเดือนกลับมาแล้วอย่างน้อย 2 รอบ

-ต้องไม่มีโรคของกระจกตาและโรคตาอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตาแห้งอย่างรุนแรง หรือโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคเบาหวาน SLE เป็นต้น ซึ่งควรแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการรักษาด้วยเลสิค

ผลดี-ผลเสีย “การทำเลสิค”

สำหรับการทำเลสิคนั้น ก็มีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย เริ่มที่ข้อดีก่อน คือ ไม่ต้องวุ่นวายกับการสวมใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ทำให้มีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น สะดวกในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบางชนิด และยังเหมาะกับคนที่จำเป็นต้องทำงานบางประเภท ที่มีข้อกำหนดห้ามใส่แว่นสายตา นอกจากนี้ การทำเลสิคสำหรับบางคนที่เคยใช้แว่นสายตามาก่อน ถือเป็นการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นได้อีกด้วย

แต่ผลเสียของการทำเลสิคก็มีเช่นเดียวกัน กล่าวคืออาจจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะประเภทที่ทำ ได้แก่

-อาจมีโอกาสเกิดฝ้าที่กระจกตาได้ หากออกแดดบ่อย

-อาจมีอาการระคายเคืองมากกว่าวิธีอื่น

-อาจใช้เวลาฟื้นตัวช้า

-ไม่สามารถใช้เทคนิคนี้กับผู้ที่มีภาวะกระจกตาบางหรือไม่สม่ำเสมอ

-อาจเกิดรอยแผลบนผิวกระจกตา จากการแยกชั้นกระจกตา (แต่จะหายได้เอง)

-มีโอกาสเกิดภาวะตาแห้งมากกว่าวิธีการทำเลสิคแบบอื่น และไม่เหมาะกับผู้ป่วยตาแห้งเรื้อรัง

-อาจเกิดรอยแผลบริเวณกระจกตา

-หากมีอุบัติเหตุกระทบกระเทือนตาอย่างรุนแรงมีโอกาสฝากระจกตาเคลื่อนที่

-ทำให้เกิดตาแห้ง


ข้อปฎิบัติหลัง “การทำเลสิค”

-ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด หากมีอาการคัน ล้างมือให้สะอาด ใช้นิ้วชี้แตะเบา ๆ ที่หัวตาหรือหางตาเท่านั้น
 
-ห้ามไม่ให้น้ำเข้าตา (จนกว่าจะครบ 1 สัปดาห์ที่ตรวจกับจักษุแพทย์แล้ว) ควรสระผมที่ร้าน งดล้างหน้า ใช้การเช็ดหน้าแทน แต่สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ

-หยอดยาปฏิชีวนะที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ วันละ 4 ครั้ง
 
-หากมีอาการตาแห้งหรือระคายเคืองตา สามารถหยอดน้ำตาเทียม (ชนิดไม่มีสารกันเสีย) ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
 
-ใส่ฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืนจนครบ 1 สัปดาห์ รวมถึงการใส่ฝาครอบตาก่อนนอนกลางวันด้วย เพื่อป้องกันการขยี้ตาโดยไม่รู้ตัว
 
-คนไข้สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรพักสายตาเป็นพัก ๆ เมื่อใช้งาน
 
-งดการแต่งหน้าบริเวณรอบดวงตา
 
-ห้ามว่ายน้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และ ห้ามดำน้ำ 4 สัปดาห์

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬารัตน์ อินเตอร์ 3, โรงพยาบาลพระราม 9 และ โรงพยาบาลกรุงเทพ


กำลังโหลดความคิดเห็น