เรียกได้ว่ากลายเป็นอีกกระแสติดเทรนด์เลยก็ว่าได้ สำหรับ “นมข้าวโอ๊ต” ที่หันไปทางไหนก็มทีการดื่มนมชนิดดังกล่าว ซึ่งบางคนก็สงสัยเช่นกันว่า ทำไมนมดังกล่าวนี้ ถึงได้เป็นนิยมกันนัก ฉะนั้นแล้ว เรามาทำความรู้จักกับนมชนิดนี้กัน
“นมข้าวโอ๊ต” คืออะไร
โดยเบื้องต้นนั้น ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชชนิดหนึ่งที่มีเบต้ากลูแคน (Beta Glucan) ซึ่งเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำที่อาจเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในเลือด มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และประกอบด้วยแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น แมงกานีส ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
นมข้าวโอ๊ตมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ด นมข้าวโอ๊ตที่วางขายทั่วไปจึงมักผสมวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เพิ่มเติม แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับคนที่มีอาการแพ้นมวัว แพ้ถั่วเหลือง หรือแพ้ถั่วอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม นมข้าวโอ๊ตให้พลังงานสูงและให้โปรตีนต่ำกว่านมวัวและนมจากพืชชนิดอื่น
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค ซึ่งเป็นโรคระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองผิดปกติต่อกลูเตน หรือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในข้าวโอ๊ต ควรหลีกเลี่ยงการดื่มนมข้าวโอ๊ต เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยบางคนเกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด และท้องเสีย
ประโยชน์และผลข้างเคียงของ “นมข้าวโอ๊ต”
ประโยชน์
-มีไขมันต่ำ
นมข้าวโอ๊ต มีแคลอรี่และไขมันต่ำ โดยมีปริมาณไขมันต่ำเพียง 0.5 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ขณะที่นมวัวและนมจากถั่วชนิดอื่น ๆ มีไขมัน 2-4 กรัม ต่อ 100 มล. นอกจากนี้นมข้าวโอ๊ตยังไม่มีไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับบางคนที่อยากจำกัดปริมาณแคลอรี่และผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง
-มีกากใยที่ละลายน้ำได้สูง
นมข้าวโอ๊ตมีปริมาณกากใยที่ละลายน้ำได้มาก ซึ่งกากใยที่ละลายน้ำนี้เรียกว่า ‘เบต้ากลูแคน’ ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นสารที่การศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเนื่องจากการบริโภคเบต้ากลูแคนช่วยลดโอกาสของการติดเชื้อและช่วยพัฒนาระบบการซ่อมแซมส่วนศึกหรอของร่างกาย
นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเบต้ากลูแคนช่วยให้กระบวนการขจัดเซลล์มะเร็งทางธรรมชาติของร่างกายทำงานดีขึ้น ประโยชน์อื่นๆของเบต้ากลูแคน คือการลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี, ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มแบคทีเรียที่ดีในทางระบบเดินอาหาร
ช่วยลดคอเลสเตอรอล
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการพิสูจน์แล้วว่าเบต้ากลูแคน ที่พบในข้าวโอ๊ตมีประโยชน์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือโดยรวม ซึ่งรวมถึงระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ที่ทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระและทำลายเส้นเลือดแดงและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สารต้านอนุมูลอิสระในข้าวโอ๊ตทำงานได้ดีกับวิตามินซี และข้าวโอ๊ตยังมีโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดแดงได้อีกด้วย
ผลข้างเคียง
มีคาร์โบไฮเดรตสูงและโปรตีนต่ำ
เนื่องจาก “นมข้าวโอ๊ต” ไม่เพียงแต่มีไขมันน้อย ยังมีโปรตีนน้อยด้วย แคลอรี่ส่วนใหญ่ของนมข้าวโอ๊ตมาจากคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสามารถส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ ข้าวโอ๊ตเป็นที่รู้จักว่ามีเส้นใยมากมาย แต่เมื่อผ่านกระบวนการเป็นนมข้าวโอ๊ตเส้นใยส่วนใหญ่จะถูกรองออก ทำให้นมข้าวโอ๊ตมีคาร์โบไฮเดรตสูงและเส้นใยที่ต่ำ เพิ่มอัตราการดูดซึมในร่างกาย
-อาจมีกลูเตน
ในตามธรรมชาตินั้น ข้าวโอ๊ตไม่มีกลูเตน เนื่องจากไม่ได้จัดเป็นธัญพืชที่มีโปรตีนกลูเตน แต่เนื่องจากกระบวนการอุตสาหกรรมได้รวมการปลูกและผลิตข้าวโอ๊ตในสถานที่เดียวกับธัญพืชอื่นๆที่มีกลูเตน จึงทำให้แทบจะเป็นไปไที่ข้าวโอ๊ตและผลิตภัณฑ์ข้าวโอ๊ตจะไม่มีกลูเตน อย่างไรก็ตามควรเลือกข้าวโอ๊ตที่มีฉลากผลิตภัณฑ์ระบุว่าไม่มีกลูเตนและได้รับการรับรองว่าไม่ได้รับการผสมกับธัญพืชชนิดอื่นๆหากพยายามที่จะหลีกเลี่ยงกลูเตน
“นมข้าวโอ๊ต” เหมาะกับใคร
สำหรับ “นมข้าวโอ๊ต” นั้น สามารถเหมาะกับบุคคลดังนี้ คือ กลุ่มที่หลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์, กลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะด้านโภชนาการ เช่น มีอาการแพ้แลคโตส ควบคุมน้ำหนัก และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อปานกลางถึงสูง ที่ต้องการสินค้าใหม่ที่ตอบความต้องการเฉพาะ และบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
ขณะเดียวกัน “นมข้าวโอ๊ต” สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 5 วัน และหากสังเกตเห็นว่านมข้าวโอ๊ตโฮมเมดของคุณเริ่มแยกตัวให้เขย่าเบา ๆ ก่อนดื่มติดฉลากวันที่ที่คุณทำนมข้าวโอ๊ตไว้ในภาชนะเพื่อให้รู้ว่านมนั้นจะอยู่ได้นานแค่ไหน
ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com และ butterflyorganic.co.th