หลายๆ คน ที่ถ้าไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวเมื่อไหร่ ก็มักจตตะติดการกินยาดักไข้ไปก่อน เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้อาการทุเลาได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า การทำการณ์ดังกล่าวนี้ นอกจากที่จะไม่ช่วยให้อาการหายแล้ว ยังอาจขจะส่งผลเสียให้กับร่างกายได้ด้วยเช่นเดียวกัน
โดยสาเหตุที่ทำให้การกินยาดักไข้เป็นความเชื่อที่ผิดต้องเข้าใจ คือ
ลักษณะของอาการเป็นไข้
อย่างแรกเลย ไข้หวัดสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัส แต่โดยส่วนมากแล้วมักจะเกิดขึ้นจากไวรัส ซึ่งอาการเบื้องต้นก็จะมีน้ำมูก คัดจมูก ไอ เจ็บคอ เป็นต้น และคราวนี้ถ้าเราจะกินยาเข้าไป ไม่ว่าจะพาราเซตามอล หรือยาปฏิชีวนะ ยาเหล่านี้ก็จะไปแก้อาการให้เพราะหน้าที่ของยาคือ “การแก้หรือรักษา” ไม่ใช่การป้องกัน
การออกฤทธิ์ของยา
ซึ่งหลังจากที่เรารู้แล้วว่าเราเป็นหวัดเพราะอะไร ก็ต้องมาเข้าใจการทำงานของยา ไม่ใช่ว่าเรากินยาเข้าไปแล้วมันจะออกฤทธิ์เลย แต่ยาเองก็มีกระบวนการในการย่อยเช่นกันซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของยาว่าจะไปถูกดูดซึมได้ทีไหน อย่างยาบางชนิดอาจจะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ แต่เมื่อดูดซึมเข้าไปแล้วจะถูกส่งไปยังกระแสเลือด ความอันตรายอยู่ที่ตรงนี้แหละ พอยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้วมันจะมุ่งหน้าตรงไปที่ตับก่อน
โดยอันที่จริงแล้ว ยาก็นับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ตับของเราจึงพยายามจะกำจัดยาบางส่วนออก และคราวนี้ถ้าหากว่ายาที่เราได้รับในปริมาณที่มากเกินไปตับก็จะทำงานมากเกินความจำเป็น ซึ่งคราวนี้ถ้าตับทำงานหนักมากเกินไปในระยะเวลานานก็จะส่งผลให้ตับเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน และการทานยาดักไข้มากๆ เข้าก็ส่งผลเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม หากกินเกินวันละ 8 เม็ด ติดต่อกันเกิน 5 วัน จะส่งผลให้ตับทำงานหนัก จนเซลล์ตับถูกทำลาย และมีโอกาสเกิดภาวะตับอักเสบได้ในที่สุด
วิธีป้องกัน “ไข้หวัด”
หากรู้สึกไม่สบายตัว หรือไม่อยากเป็นหวัด ควรทำดังนี้
-ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท เพื่อปกป้องร่างกายตามอุณหภูมิภายนอกที่เหมาะสม
-ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ
-ทานวิตามินต่าง ๆ จากผักผลไม้ เช่น ฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล เป็นต้น
-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลบางมด และ โรงพยาบาลสินแพทย์