xs
xsm
sm
md
lg

อันตรายของ "หอยนางรมดิบ" ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อพูดถึงอาหารทะเลที่ยอดฮิตสำหรับหลายๆ คน ที่ชอบทานเวลาที่ไปทานอาหารข้างนอก ก็ย่อมหนีไม่พ้น “หอยนางรม” แน่นอน เพราะอาหารชนิดนี้หากใครได้ทานแบบสดๆ แล้ว ก็ย่อมเกิดอาการฟิน หลังจากทานลงไป และเชื่อว่า ยิ่งทานแบบสดดิบนั้นจะดี ตี่รู้หรือไม่ว่า อันตรายในการทานแบบดังกล่าวนั้น ก็ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ด้วยเช่นกัน


คุณสมบัติของ “หอยนางรม”

สำหรับประโยชน์ของ “หอยนางรม” นั้น ทางสถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ได้ระบุว่า เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร เป็นแหล่งของวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง บีสาม ซี และดี การบริโภคหอยนางรมตัวที่มีขนาดกลาง 4-5 ตัว ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุประเภทเหล็ก ทองแดง ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี แมงกานีส และฟอสฟอรัส

นอกจากนี้ ยังได้ระบุ เพิ่มเติมว่า หอยนางรมอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร คือเป็นแหล่งของวิตามินเอ บีหนึ่ง (ไทอามิน) บีสอง (ไรโบฟลาวิน) บีสาม (ไนอาซิน) ซี (กรมแอสคอร์บิค) และดี (แคลซิฟีรอล) การบริโภคหอยนางรมตัวที่มีขนาดกลาง 4-5 ตัว ช่วยให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุประเภท แร่เหล็ก ทองแดง ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี แมงกานีสและฟอสฟอรัส


ส่วนประโยชน์ของ “หอยนางรม” นั้น แบ่งได้ดังนี้

-ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชายมากขึ้น
-ช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมันในผู้ชาย
-ป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ
-ควบคุมความดันโลหิต
-ควบคุมการแลกเปลี่ยนของออกซิเจนในเซลล์
-ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ

ทำไมถึงไม่ควรทาน “หอยนางรม” แบบดิบสด

แม้ว่า “หอยนางรม” จะมีประโยชน์มากเพียงใดก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี ก็ไม่ควรทานแบบดิบสด เพราะชีวิตของ ‘หอยนางรม’ ในทะเล จะกรองน้ำทะเลในปริมาณมาก จนมีการสะสมเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย โดยเฉพาะ เชื้อวีบริโอ (Vibrio) ซึ่งแม้ว่าจะมีการเก็บรักษาออาหารดังกล่าวได้ดีอย่างไร ก็ยังมีเชื้อตัวนี้อยู่ในหอยนางรมอยู่ดี ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม

โดยอาการที่พบได้ในผู้ป่วยคือ มีอาการท้องเสีย บางครั้งอาจจะขับถ่ายปัสสาวะไม่ออก หรือถ้าในระดับที่ร้ายแรงก็ถึงขั้นความดันตกเลยทีเดียว


เชื้อวีบริโอ ก่อโรคในมนุษย์ได้ 3 ทาง คือ

1.การติดเชื้อที่บาดแผล

โดยเชื้อดังกล้าวนี้ สามารถลุกลามอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เนื้อเยื่ออักเสบ ผิวหนังมีอาการบวม ร้อนแดง เจ็บปวด จนอาจกลายเป็นตุ่มที่มีเลือดปน หรือเกิดอาการเนื้อเน่าตายของเนื้อเยื่ออ่อนใต้ผิวหนัง โดนการติดเชื้อที่บาดแผล พบประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการตายถึง 50 เปอร์เซ็นต์
2.ภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับอาการนี้นั้น เชื้อจะสามารถบุกรุกเข้าสู่กระแสโลหิตโดยผ่านทางเยื่อบุทางเดินอาหารจากการรับประทานอาหารทะเลดิบ หรือผ่านทางบาดแผลจากการติดเชื้อที่บาดแผลนั้นเอง มีอาการไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ความดันต่ำ อาจมีอาการอุจจาระร่วง อาเจียน อาการโลหิตเป็นพิษนี้พบประมาณ 43 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการตายสูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์
3.กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ

จากการรับประทานอาหารทะเลดิบทำให้อุจจาระร่วง อาเจียน พบประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ อัตราการตายน้อยมาก โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีอาการรุนแรง พบว่ามีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ ฯ รวมทั้งผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง โรคเลือด เบาหวาน


วิธีการรับประทาน “หอยนางรม” อย่างถูกต้อง

หากอยากจะรับประทานหอยนางรม ก็ควรที่จะนำไปแปรรูปในรูปแบบต่างๆ ทั้งการปรุงสุก ทำการต้ม หรือจากทอดในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : Tiktok : หมอเปา dr.pao katanyoo, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และ thaibio.com


กำลังโหลดความคิดเห็น