xs
xsm
sm
md
lg

“ระบบเผาผลาญ” ปัจจัยสำคัญของร่างกายมนุษย์ที่ต้องดูแลให้ดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในขณะที่เรากำลังทำอะไรในแต่ละวันนั้น อาจจะเป็นกิจกรรมแบบปกติและพิเศษ “ระบบเผาผลาญ” ก็ยังเดินหน้าทำงานต่อไปไม่มีหยุดหย่อน อาจเป็นเพราะการทำหน้าที่โดยปกติของร่างกายอยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าปัจจัยดังกล่าวเกิดความเสียหายล่ะ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างมั้ย มาหาคำตอบในเรื่องนี้กัน

ระบบเผาผลาญ คืออะไร

สำหรับระบบเผาผลาญในร่างกายมนุษย์นั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยปกติร่างกายคนเรามีการเผาผลาญตลอดเวลา แม้ในระหว่างนอนนิ่ง ๆ อยู่กับที่ ร่างกายก็ยังมีการเผาผลาญไปด้วย ซึ่งเรียกว่า “อัตราการเผาผลาญพื้นฐาน” โดยแต่ละบุคคลจะมีอัตราการเผาผลาญพื้นฐานแตกต่างกันออกไป

และเมื่อร่างกายมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือมีการใช้แรง เช่น เดิน พูดคุย ร่างกายก็จะมีอัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ขณะที่ร่างกายทำการย่อยอาหารและดูดซึมก็มีการเผาผลาญเกิดขึ้นเช่นกัน


ปัจจัยที่ทำให้ “ระบบเผาผลาญ” เสื่อมหรือพัง

-มีอาการป่วยด้วยโรคบางอย่าง เช่น ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือ โรคเบาหวาน

-อายุที่เพิ่มขึ้น เลยทำให้อัตราการเผาผลาญพื้นฐานมักต่ำลง

-คนที่มีน้ำหนักขึ้น ๆ ลง ๆ ซ้ำซาก จากการใช้วิธีลดน้ำหนักผิดวิธี ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญพื้นฐานต่ำลงได้

-เพศหญิง เผาผลาญได้น้อยกว่าเพศชาย

-เกิดการสืบเนื่องมาจากกรรมพันธุ์

-ขาดการออกกำลังกาย


ทำอย่างไรให้ “ระบบเผาผลาญ” ในร่างกายดีขึ้น

ก่อนอื่นนั้นต้องดูจากแต่ละบุคคลก่อนว่า สาเหตุมาจากอะไร กล่าวคือ หากพบว่ามีสาเหตุมาจากตัวโรค ก็ทำการรักษาโรคนั้น หรือ ถ้าหากเกิดจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธี ก็ต้องรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการลดน้ำหนักให้ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีวิธีที่จะฟื้นฟูปัญหาดังกล่าวได้ ดังนี้

-ให้เลิกอดอาหาร และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะร่างกายของเราต้องการสารอาหารเพื่อซ่อมและเสริมสร้างระบบและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย

-ควรทานโปรตีนให้เพียงพอ กล่าวคือ สำหรับคนทั่วไป ควรได้รับโปรตีนต่อวันอยู่ที่ 0.8 - 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือสำหรับคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ สามารถทานโปรตีนได้ถึง 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

-ไม่ควรงดแป้งและไขมัน แต่ควรรับประทานให้พอดี เนื่องจาก ร่างกายยังคงต้องการสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันเพื่อทำให้ระบบต่างๆทำงานได้ดี

-ควรเลือกรับประทานอาหารจากแหล่งอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ฟักทอง มันหวาน ไขมันดีจากปลา ไขมันจากพืช ถั่วเปลือกแข็งต่าง ๆ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : ramachannel.com, โรงพยาบาลเวชธานี และ แฟนเพจ forcejun


กำลังโหลดความคิดเห็น