xs
xsm
sm
md
lg

อยู่ท่ามกลางอากาศไม่ดี ก็อาจจะเกิด “ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง” ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในท่ามกลางสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนที่ปกคลุมอยู่ในประเทศ อันเนื่องมาจากการก่อกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามที แต่ก็ส่งผลโดยรวมต่อการดำรงชีวิตอยู่ของคนไทย เกือบทั้งประเทศที่จะต้องประสบพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหลาย ๆ คน ก็อาจจะเจอ “ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง” ไปด้วย ซึ่งหากยังไม่ได้รับการรักษาโดยทันท่วงที ก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของแต่ละคนแน่นอน

สำหรับ “ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง” นั้น เป็นส่วนย่อยที่เกิดมาจากโรคภูมิแพ้ ประเภทเยื่อบุจมูกอักเสบ โดยเริมจากที่ร่างกายของเกิดปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ หรือสารก่อระคายเคือง เช่น ฝุ่น PM 2.5,ไรฝุ่น, เกสรดอกไม้ ,ซากแมลงสาบ, ขนแมว ขนสุนัข เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน โรคภูมิแพ้ก็สามารถเกิดจากกรรมพันธุ์ พบว่าพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสถึง 30-50 เปอร์เซนต์ หากเป็นทั้งพ่อแม่ ลูกมีโอกาสถึง 50-70 เปอร์เซนต์

ซึ่งคนที่เป็นภูมิแพ้หากปล่อยให้เรื้อรัง จะทำให้อาการต่าง ๆ เช่น

-ภาวะเยื่อบุจมูกส่วนล่างบวมโต
 
-เกิดอาการคัดจมูกเรื้อรัง ส่งผลให้หายใจไม่สะดวก
 
-หรือมีการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยเฉพาะการนอนหลับพักผ่อน

ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดภาวะคัดจมูกเรื้อรัง


-การอักเสบในช่องโพรงจมูกและไซนัส หรือ ภาวะไซนัสอักเสบ โดยจะมีอาการคือ มูกปนหนองไหลจากโพรงไซนัส ออกมาบริเวณเยื่อบุจมูกตลอดเวลา ส่งผลให้เยื่อบุจมูกบวมเรื้อรังได้เช่นกัน

-ผนังกั้นจมูกคด ทำให้เกิดอาการคัดจมูกข้างใดข้างหนึ่งอยู่เสมอ โดยภาวะนี้อาจเกิดร่วมกับภาวะเยื่อบุจมูกบวมโตได้

-ภาวะต่อมอดีนอยด์โต มักพบในผู้ป่วยเด็กที่เป็นภูมิแพ้จมูกอักเสบ หรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง

การดูแลรักษาตนเอง


สำหรับอาการคัดจมูกทั้งแบบเรื้อรังและแบบทั่วไป อาจจะบรรเทาได้ด้วยการดูแลรักษาตนเองตามข้อปฏิบัติต่อไปนี้

-สั่งน้ำมูกออกมาเบา ๆ เพื่อให้จมูกโล่งขึ้น

-ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยให้น้ำมูกไม่จับตัวเหนียวและปิดกั้นโพรงจมูก

-ส่วนอาการคัดจมูกในเด็กทารกและเด็กเล็กที่มาจากน้ำมูกที่เหนียวข้นหรือน้ำมูกแห้งให้หยดน้ำเกลือปราศจากเชื้อปริมาณเล็กน้อยเข้าไปในจมูก จากนั้นใช้ลูกยางที่สะอาดดูดเอาน้ำมูกออกมาเบา ๆ

-ใช้น้ำเกลือล้างจมูกเพื่อให้โพรงจมูกชุ่มชื้น ไม่แห้ง ช่วยขจัดน้ำมูกให้เบาบางลง ชะล้างสิ่งแปลกปลอม สารก่อภูมิแพ้ และอาจช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคในโพรงจมูก โดยน้ำเกลือล้างจมูกควรเป็นน้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ใส ไม่มีสี บรรจุในขวดใสเพื่อมองเห็นสิ่งแปลกปลอมในขวดได้ง่าย ส่วนอุปกรณ์สำหรับล้างจมูก อย่างไซรินจ์ ภาชนะรอง และจุกล้างจมูก จะต้องสะอาด หลังการล้างจมูก ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ด้วยการล้าง ตากให้แห้ง และเก็บในที่สะอาดทุกครั้ง

-หลีกเลี่ยงสารก่อความระคายเคืองที่อาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ยิ่งขึ้น เช่น ไรฝุ่น ควันบุหรี่ และอากาศที่เปลี่ยนแปลงกะทันหัน อย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือฝุ่น PM 2.5

-ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดให้หมาดวางบนใบหน้า เป็นการช่วยเปิดโพรงจมูกที่แน่น เพื่อให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น

-หายใจโดยอังหน้ากับไอจากหม้อน้ำร้อนจะช่วยให้หายใจได้อย่างเป็นปกติ ทำประมาณ 5–10 นาที

-ยกศีรษะให้สูงขึ้นจากปกติระหว่างการนอนหลับในเวลากลางคืนจะทำให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น

-ใช้เครื่องให้ความชุ่มชื้น หรือ Humidifier ภายในบ้าน

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : โรงพยาบาลเวชธานี และ pobpad.com


กำลังโหลดความคิดเห็น