xs
xsm
sm
md
lg

“โรคเหงือกอักเสบ” อาจส่งผลต่อสุขภาพฟันโดยรวม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สุขภาพฟัน คืออีกสิ่งที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะว่าส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหากมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะส่งผลต่อภาพรวมทั้งหมดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหา “โรคเหงือกอักเสบ” นั้น หากใครบาดเจ็บในส่วนตรงนี้นั้น ก็จะกระทบต่อชีวิตและเสียเวลาไปโดยใช้เหตุเลยทีเดียวล่ะ

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ
สำหรับสาเหตุของ “โรคเหงือกอักเสบ” นั้น เริ่มต้น คือ เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ก่อตัวขึ้นตามรอยต่อระหว่างฟัน และเหงือก โดยเป็นลักษณะเป็นคราบสีขาวขุ่นนุ่ม ที่ประกอบด้วยแบคทีเรีย และคราบอาหารพวกแป้ง และน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน จากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ ทำให้คราบเหล่านั้นกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น

และเมื่อแบคทีเรียได้บริโภคอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลเข้าไป ก็จะทำการปล่อยกรด และสารพิษออกมากระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ผลก็คือ จะทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบ และมีเลือดออกในกรณีที่เกิดการอาการมากขึ้น


สัญญาณเตือนของ “โรคเหงือกอักเสบ”

-มีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน

-เหงือกบวม หรือ เหงือกร่น

-ฟันเริ่มโยก หรือหลุดจากกระดูกเบ้าฟัน

-มีหนอง

-มีกลิ่นปาก




วิธีการรักษาโรคเหงือกอักเสบ

การขูดหินปูน และเกลารากฟัน

โดยการขูดหินปูนจะทำความสะอาดทั้งส่วนบนตัวฟัน และบนผิวรากฟันภายในร่องเหงือก เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินปูนเหนือเหงือก และใต้เหงือก ด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า และเครื่องมือเฉพาะทาง

ทำการดูแลอนามัยช่องปากที่ถูกต้องสม่ำเสมอ

ได้แก่ การแปรงฟันที่ถูกวิธี และการใช้ไหมขัดฟัน หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน เพื่อป้องกันการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และหินปูนเหนือเหงือก และในร่องเหงือก

แม้ว่าการรักษาจะเสร็จสิ้นแล้ว แต่หากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคเหงือกอักเสบก็จะกลับเป็นใหม่ได้ง่ายๆ ดังนั้น หลังจากการรักษาแล้วผู้ป่วยควรได้รับการขูดหินน้ำลาย เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ของโรคทุก 3 - 6 เดือน


การป้องกัน “โรคเหงือกอักเสบ”

-ดูแลรักษาความสะอาดสุขภาพปากและฟันให้ดี แปรงฟันอย่างถูกวิธีสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือแปรงฟันหลังการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ หากกำลังจัดฟัน ที่ครอบฟัน หรือกำลังตั้งครรภ์ ควรใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากเป็นพิเศษ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเหงือกบวมและปัญหาในช่องปากอื่นๆ ได้ง่าย

-ใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือไหมขัดฟัน เพื่อช่วยทำความสะอาดเหงือกและฟัน เนื่องจากป้องกันการเกิดคราบสกปรกสะสม

-ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพช่องปากเป็นประจำอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน และทำการปรึกษาขอคำแนะนำในการดูแลปากและฟัน โดยอาจใช้ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และรับการขูดหินปูนกำจัดคราบฟันตามที่แพทย์แนะนำ

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะอาหารที่ให้สารอาหารจำพวกวิตามินซี แคลเซียม กรดโฟลิค

-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน มีน้ำตาลสูง

-ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหวาน น้ำอัดลม และไม่สูบบุหรี่

-ทำการสังเกตอาการที่เกิดขึ้นภายในปากและฟัน หากมีอาการรุนแรง หรือมีอาการอย่างเรื้อรังและไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์เพื่อตรวจรักษาให้ทันท่วงที

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : pobpad.com, โรงพยาบาลศิขรินทร์ และ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน


กำลังโหลดความคิดเห็น