xs
xsm
sm
md
lg

รู้หรือไม่? สุขภาพช่องปากสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตรวจสุขภาพภายในช่องปากและฟันทุก ๆ 6 เดือนเป็นเรื่องทั่วไปสำหรับทุกคนที่ไม่ต้องมีความกังวลใด ๆ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือโรคประจำตัวแล้วทันตแพทย์ต้องซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับโรคและยาที่ได้รับเพื่อให้การดูแลเป็นพิเศษ 

บทความนี้จึงเป็นบทความเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากให้ปลอดภัยโดย ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านผู้สูงอายุ จาก คลินิกทันตกรรมสตาร์เด็นท์ ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว และข้อจำกัดของผู้ป่วยที่ต้องมีความระมัดระวังเรื่องการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเป็นพิเศษ ได้แก่

•โรคในกลุ่มผู้มีภาวะสมองเสื่อม เช่น Alzheimer’s disease, Parkinson disease, etc.

•โรคไต (Chronic kidney disease)

•เบาหวาน (Diabetes)

•ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)

•โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

•โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis (including treatments))

•ผู้ป่วยได้รับรังสีรักษา (Radiation therapies)

•กลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดภูมิต่อต้านเนื้อเยื่อตนเอง(Sjögren Disease)

•ภาวะปากแห้ง (Xerostomia)

•Human Immunodeficiency Virus or HIV

•ผู้สูงอายุ (Elderly)

•ผู้มีข้อจำกัดทางร่างกาย เช่น ผู้พิการ ผู้มีปัญหาในการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น

ซึ่งเหตุผลที่ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะ

•กลุ่มโรคบางโรคทำให้ผู้ป่วยมีข้อจำกัดทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีผลต่อประสิทธิภาพในการแปรงฟันและการดูแลสุขภาพในช่องปากด้อยลง

•ภาวะของโรค ณ ช่วงเวลาต่างๆ อาจเป็นข้อจำกัดในการทำงานทันตกรรมด้วย ซึ่งทันตแพทย์ต้องให้ความระมัดระวังในการรักษาเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญ 
•ภาวะของโรคที่รุนแรงหรือเรื้อรัง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วย และมีผลทางอ้อมต่อการให้ความสำคัญในการดูแลช่องปาก ทำให้ไม่สนใจดูแลตัวเอง มีโอกาสการติดเชื้อสูงขึ้น หรือทำให้กระบวนการลุกลามของโรคภายในช่องปากเร็วขึ้นกว่าปกติ

เพื่อให้การรักษามีความปลอดภัย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว และผู้ที่ทานอาหารเสริมต่างๆ ควรให้ข้อมูลรายละเอียดแก่ทันตแพทย์ก่อนการรักษาทางทันตกรรม และเป็นข้อมูลที่ถูกต้องไม่ปิดบัง ทั้งโรคประจำตัวและยาที่ใช้ประจำ การแพ้ต่างๆ (ยา อาหาร สารต่างๆ) และอาหารเสริม เป็นต้น และ ภายหลังการเข้าพบทันตแพทย์แล้ว อาจจะมีการสอบถามเพิ่มเติมในบางกรณี 
และสำหรับบุคคลทั่วไป ทันตแพทย์ยังได้ให้ข้อสังเกต สัญญาณเตือนสำหรับปัญหาสุขภาพในช่องปากแบบไหนที่ควรมาพบแพทย์ เช่น

•เสียวฟันมาก อาจเกิดจากฟันผุที่ลึกใกล้ทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันสึก ฟันร้าว ฟันแตกจากการเคี้ยวอาหารที่แข็งเกินไป แปรงฟันแรงเกินไปหรือนอนกัดฟัน

•เหงือกบวมหลายตำแหน่ง แบบเป็นๆหายๆ หรือมีฟันโยกร่วมด้วย

•เลือดออกเวลาแปรงฟัน

•มีกลิ่นปากตลอดเวลาหรือหลังรับประทานอาหาร

•ไหมขัดฟันรุ่ย ขาด หรือมีกลิ่นเหม็นเวลาทำความสะอาดซอกฟัน

•ปวดข้อต่อขากรรไกร หรือมีเสียงดังข้างหูเวลาอ้าปากหุบปาก

•นอนกัดฟัน

ปัญหาทางทันตกรรมโดยส่วนใหญ่ไม่มีแสดงอาการเตือนที่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าควรเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมเมื่อใด การตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือนโดยทันตแพทย์ จึงเป็นคำแนะนำที่สำคัญ เพื่อค้นหารอยโรคและทำการรักษาตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นซึ่งรักษาง่ายและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการรักษาโรคที่ลุกลามแล้ว นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะได้รับการแนะนำวิธีปฏิบัติและดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้องเพื่อเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา


กำลังโหลดความคิดเห็น