แน่นอนว่า หากมีอาการหวัดในเบื้องต้น หรืออ่อนเพลีย ยาที่คนทั่วไปจะต้องนึกถึงก่อน ก็คือ “ยาแก้แพ้” เพราะยาตัวนี้จะช่วยให้อาการที่ว่าทุเลาลง และบรรเทาให้อาการดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งหากกินไปเพื่อรักษาอาการนั้น ก็ย่อมเข้าใจได้ แต่หากยาเหล่านั้นเสื่อมสภาพ หรือ มีการกินยาดังกล่าวอยู่เรื่อย ๆ ล่ะก็ บางทีก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เช่นเดียวกัน
สำหรับ ยาแก้แพ้ ที่เป็นยาสามัญประจำบ้านนั้น ถ้าผู้ป่วยอยู่ในสภาวะในสภาพอากาศเป็นมลภาวะเป็นพิษฝุ่นเยอะ ฝนตกหนัก จนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ทั้งทำให้จามไม่หยุด คัดจมูก ผื่นขึ้นตามร่างกาย มีอาการคัน ยาดังกล่าวก็เป็นตัวช่วยอันดับต้น ๆ ที่เราจะหยิบออกมาใช้ เพื่อบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เหล่านี้
แต่หากมีการบริโภคบ่อย ๆ ผลข้างเคียงของยา อาจจะไม่ส่งผลในทันที เพราะสารต้านฮิสตามีน ในยาแก้แพ้บางชนิด จะเข้าไปกดสารสื่อประสาท ชื่อ แอซิติลโคลีน ในสมอง ซึ่งจากงานวิจัย มีการพบว่าถ้ามีการบริโภคยาตัวนี้บ่อย ๆ เป็นเวลานาน สารสื่อประสาทในสมองของเราจะถูกบั่นทอนประสิทธิภาพลงไปเรื่อย ๆ อาจทำให้ระบบของสมองที่การทำงานด้านการจำเสื่อมถอย อาจทำให้มีอาการความจำสั้น เสื่อม มีอาการว้าวุ่น ย้ำคิดย้ำทำ ขึ้นได้
อาการของ “ภาวะสมองเสื่อม”
-พูดหรือถามเรื่องเดิมซ้ำๆ ภายในระยะเวลาสั้น ๆ
-มีการลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดมาไม่นาน
-มักจะหาของไม่เจอบ่อย ๆ
-อยู่ ๆ ก็ลืมนัดสำคัญบ่อย ๆ
-สับสนเรื่องทิศทาง หลงทางในที่คุ้นเคย
-นึกคำพูดยากขึ้นหรือใช้คำผิดบ่อย ๆ
-บุคลิก อารมณ์เปลี่ยน
-บกพร่องในทักษะที่เคยทำได้ เช่น การใช้รีโมทโทรทัศน์ การทำกับข้าว
โดยอาการเหล่านี้มักจะค่อยเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี
แนวทางในการใช้ “ยาแก้แพ้”
กรณีต้องใช้ยารักษาอาการแพ้หรือน้ำมูกไหลซึ่งจะได้ผลดีจากการใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ทำให้ง่วง แต่หากใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาจจะทำให้ผู้ป่วยสับสนวุ่นวายมากขึ้น ฉะนั้น ควรเปลี่ยนไปใช้ยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วง เช่น ยากลุ่มจำพวก ลอราตาดีน, เฟกโซเฟนาดีน หรือ เดสลอร์อาตาดีน เป็นต้น เนื่องจากยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงจะไม่รบกวนการทำงานของ แอซิติลโคลีน
นอกจากนี้ยังมียาบางกลุ่มที่ไปคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้หย่อนตัวลงโดยไปลดการทำงานของสารสื่อประสาท นอร์เอพิเนฟริน เช่น ยาที่ใช้ในภาวะต่อมลูกหมากโต ซึ่งยาเหล่านี้เมื่อผ่านเข้าไปในสมองอาจจะทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมร่วมด้วย กล่าวคือ มีอาการเซื่องซึม อ่อนแรง ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใช้ควรใช้ในขนาดต่ำเท่าที่จำเป็น และติดตามอาการข้างเคียงเหล่านี้ในผู้ป่วยด้วย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล