xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “อาการเตียงดูด” ภาวะไม่อยากลุกจากที่นอน ส่งผลอันตรายถึงจิตใจ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลายๆ คน คงอาจจะชอบทุกครั้ง เมื่อได้นอนหลับพักผ่อนเต็มอิ่ม จนเมื่อตื่นมาก็ยังไม่อยากลุกจากที่นอน แล้วทำกิจกรรมอื่นแทน ซึ่งบางครั้งอาจจะคิดว่ายังอยากที่จะนอนต่อหรือเปล่า ซึ่งจากภาวะที่ว่ามา ทราบหรือไม่ว่า จากพฤติกรรมที่ว่ามานี้ อาจจะมีภาวะความเสี่ยงของ “อาการเตียงดูด” ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อทางทั้งร่างกายและสภาพจิตใจได้เช่นเดียวกัน

สำหรับภาวะอาการเตียงดูด หรือ Dysania นั้น เป็นด้วยภาวะที่พบว่ามีอาการลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้า ซึ่งทำให้คนที่มีอาการดังกล่าวนี้ มีความรู้สึกทุกข์ทรมาน เพราะลุกออกจากเตียงได้ยากในตอนเช้า ทั้งยังมีความรู้สึกที่มากกว่าการง่วงนอนอีกด้วย

แม้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะนอนนานกว่าชั่วโมงที่ได้แนะนำเอาไว้ แต่คนที่มีอาการดังกล่าวนี้นั้น มีการลุกออกจากเตียงได้ยากมาก ในขณะเดียวกัน พวกเขายังจะมีความรู้สึกอยากกลับไปนอนที่เตียงอีกทั้งๆ ที่ลุกออกมาได้แล้ว ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นอาจทำให้พวกเขาเกิดความหดหู่ ความเหนื่อยล้าเรื้องรัง จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยทีเดียว

ขณะเดียวกัน “ภาวะอาการเตียงดูด” นอกจากสาเหตุจากมีผลต่อโรคทางกายและโรคทางจิตเวชแล้ว ยังมีสาเหตุจากปัญหาการนอนได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกลั้น (obstructive sleep apnea) โรคขากระตุกขณะหลับ (periodic limb movement disorder) การนอนมากจากสาเหตุทางระบบประสาท ทำให้ตื่นนอนตอนเช้ารู้สึกไม่สดชื่น หรือผู้ที่นอนไม่หลับเนื่องจากการเปลี่ยนกะทำงาน การเดินทาง ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ทำให้อ่อนเพลียได้เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่นเดียวกัน


อาการของ “ภาวะเตียงดูด”

หากถามว่าอาการของ “ภาวะอาการเตียงดูด” มีลักษณะอย่างไร คำตอบคือ อาจจะมีความใกล้เคียงกับทั้งการไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งผู้ที่เพลียไม่มีแรงหรือขาดแรงจูงใจอาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคทางกาย เช่น

-โรคซีด
-โรคธาลัสซีเมีย
-อาการภูมิแพ้
-โรคปอดและหัวใจ
-ภาวะการขาดสารอาหาร

ซึ่งผู้ที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการอื่นๆ เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งมักเป็นทั้งวัน ร่วมกับมีอาการและความผิดปกติอื่นๆ แม้กระทั่งกิจกรรมที่ชอบมากๆ ก็ไม่สนใจอยากทำเหมือนเดิม นอนหลับยาก หลับๆ ตื่นๆ รวมถึงสังเกตอารมณ์ซึมเศร้าต่างๆ ร่วมด้วย


วิธีรักษาและป้องกัน

ในขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาอาการเตียงดูดอย่างเป็นทางการ ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับปัญหานี้ก็คือ การเข้าไปพบกับผู้เชี่ยวชาญถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันหาวิธีการแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้คุณกำลังมีความทุกข์ทรมานจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและนั่นทำให้เกิดอาการเตียงดูด แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณลองปรับตารางเวลานอนเสียใหม่ ลองเล่นโยคะก่อนนอน หรือลองทำห้องนอนให้รู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้น เพื่อการนอนหลับที่ดีของคุณนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : hellokhunmor.com และ กรมสุขภาพจิต


กำลังโหลดความคิดเห็น