xs
xsm
sm
md
lg

รู้จัก “โรคสะเก็ดเงิน” ปัญหาผิวหนัง แม้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ไม่ควรมองข้าม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แม้ว่า “โรคสะเก็ดเงิน” จะไม่ใช่โรคติดต่อจากคนสู่คนได้ แต่ในขณะเดียวกัน การที่ป่วยเป็นโรคนี้ ก็อาจจะสร้างความหงุดหงิดใจ เมื่อเวลาที่อาการกำเริบ ฉะนั้นแล้ว เรามาทำข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าวกัน เพื่อจะได้มีความเข้าใจและอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยโรคนี้


สาเหตุและปัจจัยของ “โรคสะเก็ดเงิน”

สำหรับสาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน เบื้องต้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าสเหตุมาจากอะไร แต่มีการพบว่า อาจจะเกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างผิดปกติต่อองค์ประกอบบางอย่างของผิวหนัง จนทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วขึ้นกว่าปกติผื่นจึงหนาตัวขึ้น

ส่วนปัจจัยทางพันธุกรรมนั้น ก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกัน โดยมีการพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะมีญาติที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน

ขณะเดียวกัน ปัจจัยอื่น ๆ ที่มากระตุ้นให้เกิดรอยโรคเพิ่มขึ้น เช่น

-ความเครียด

-การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น รอยผ่าตัดผิวหนัง รอยแกะเกา เป็นต้น

-อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อสเตรปโทคอกคัส

-ยาบางชนิด (พบได้น้อย)


ผลกระทบจาก “โรคสะเก็ดเงิน”

-เกิดอาการคัน แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นรุนแรง แต่สร้างความรำคาญได้ในทุกครั้งที่เกิดอาการ

-หากมีผดผื่นตามผิวหนัง ก็อาจส่งผลด้านบุคลิกภาพ ทำให้สูญเสียความมั่นใจ

-ถ้าเป็นโรคนี้นาน ๆ ก็อาจมีอาการข้ออักเสบร่วมด้วย

-ในขณะเดียวกัน หากมีอาการทางข้อแล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้ข้อผิดรูปและพิการได้


การรักษาโรคสะเก็ดเงิน

ในเรื่องของการรักษา จะเป็นเพียงให้เป็นทำให้โรคสงบหรือทุเลาเท่านั้น แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งหากมีสิ่งมากระตุ้นโรคจะสามารถกำเริบได้อีกโดยในการรักษาแพทย์จะเลือกรักษาตามความรุนแรง แบ่งออกเป็น

-ในกรณีที่เป็นน้อย รักษาโดยใช้ยาทาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการอักเสบ ตัวยามักมีข้อจำกัดในการใช้ จึงควรใช้ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

-กรณีมีผื่นหนาและเป็นมาก รักษาโดยใช้ยากินร่วมกับยาทา หรือรักษาด้วยวิธีอื่น ได้แก่ ฉายแสงอาทิตย์เทียม

-แต่ถ้าเป็นในกรณีที่ดื้อต่อการรักษาวิธีใดอาจใช้วิธีอื่นมารักษาแทน เช่น ใช้ยาฉีดชีวภาพ


การป้องกัน

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทราบเพียงว่า เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนั้นการดูแลใส่ใจสุขภาพตนเองหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และดูแลสุขอนามัยเพื่อลดการติดเชื้อต่าง ๆ คือ

-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่

-ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

-ไม่สูบบุหรี่

-พักผ่อนให้เพียงพอ

-ไม่เครียด ทำจิตใจให้สบาย

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : โรงพยาบาลธนบุรี 2, โรงพยาบาลศิครินทร์ และ Rama Channel


กำลังโหลดความคิดเห็น