ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นภัยเงียบที่คนไทยน้อยคนนักจะรู้ตัวและรักษาได้ทันท่วงที ทั้งยังมีแนวโน้มของอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นทั่วโลก
ภาวะหัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ มีผลทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เนื่องจากสมองและกล้ามเนื้อขาดเลือดไปเลี้ยง
โดยภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ภาวะหัวใจล้มเหลวถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ค่อยส่งสัญญาณอาการของโรคมากนัก ดังนั้นการสังเกตตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารเข้ารับการรักษาได้เร็วขึ้น ซึ่งสามารถตรวจสอบตนเองจาก
6 สัญญาณเตือนภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนี้
1. เริ่มหายใจติดขัด หายใจไม่ออก
2. มีอาการไอเรื้อรัง หรือมีเสียงขณะหายใจ
3. มีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลียได้ง่ายอย่างผิดปกติ
4.ขาดความรู้สึกอยากอาหาร หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
5. มีความรู้สึกสับสน มีความบกพร่องด้านการคิดวิเคราะห์
6. หัวใจเต้นเร็วขึ้น
หากมีอาการตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป แม้ว่าจะยังไม่เคยเป็นโรคทางหัวใจและหลอดเลือดมาก่อนก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ อาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- งดสูบบุหรี่
- รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอและควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี