ในช่วงเวลาที่มีความผันผวนของสภาพอากาศนั้น หลาย ๆ คนก็อาจจะเผชิญกับภาวะอาการระคายคอ ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะเข้าใจว่าเป็นเพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยหรือเปล่า ขอตอบว่าไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งถามว่าทำไมมีมากกว่านั้น เรามาดูคำอธิบายของภาวะดังกล่าวนี้กัน
อาการของการระคายคอ
อาการของการระคายคอ มักจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน แต่จะมีอาการหลัก ๆ ที่คล้ายกัน ได้แก่
– รู้สึกเจ็บ แสบ หรือระคายเคืองในลำคอ และมักจะแสดงอาการมากขึ้นเวลากลืน หรือพูด
– อาจจะมีภาวะที่กลืนลำบาก, รู้สึกคอแห้ง, เสียงเปลี่ยน ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปหู
ซึ่งอาการดังกล่าวนั้น แบ่งได้ด้วยกัน 2 ประเภทค่ะ คือ
1.แบบเฉียบพลัน
โดยมักจะมีอาการเฉียบพลันเป็นวันๆ ไป พร้อมกับมีอาการของระบบอื่นๆ เช่น เป็นไข้ เป็นหวัด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น
2.แบบเรื้อรัง
โดยจะมีอาการเป็นระยะเวลานานๆ ในบางรายอาจเป็นสัปดาห์ หรือ ในบางรายก็อาจเดือนๆ มักมีเฉพาะอาการเจ็บคอเท่านั้น ซึ่งอาการเจ็บคอแบบเรื้อรังนี้ ถ้าหาสาเหตุพบและรักษาให้ตรงจุดของสาเหตุที่เกิด อาการเจ็บคอ ก็จะหายไปเอง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิด “อาการระคายคอ”
- อาการแพ้หรือโรคภูมิแพ้
เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ ทำให้เกิดอาการคันคอ ไม่ได้เป็นอาการรุนแรงแต่จะก่อให้เกิดความรำคาญหรือไม่ความสบาย
- โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
เมื่อร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น ทำให้เกิดอาการคันคอ ไอ คัดจมูก และน้ำมูกไหล
- การสูดมลพิษ
ได้แก่ ฝุ่นพิษ PM 2.5 สารเคมี ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด บุหรี่ หรือยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดอาการคันคอ ระคายเคืองคอได้
- ไข้หวัด
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งการคันคอจะเป็นอาการเริ่มต้น ก่อนที่จะเกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ หรือปวดศีรษะ
- ไซนัสอักเสบ
อาจมีอาการคันคอจากการมีเสมหะไหลลงมาบริเวณคอโดยเฉพาะเวลานอน และมักเป็นหวัดเรื้อรัง น้ำมูกเขียว และคัดจมูกร่วมด้วย
การรักษา สำหรับการรักษานั้น ถ้าเกิดจากผลข้างเคียงของยา ก็ควรจะหยุดยาชนิดนั้น หรือถ้าเกิดจากโรคไซนัสอักเสบ ก็ให้การรักษาไซนัสอักเสบ แต่ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากการเรียนรู้ที่ผิดของผู้ป่วย อาจต้องปรึกษานักแก้ไขการพูด หรือนักฝึกพูด ซึ่งเป้าหมายในการรักษาอยู่ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากจะกระแอมน้อยลง
โดยอาจทำได้โดยเมื่อผู้ป่วยต้องการจะกระแอม ให้ทำตามดังนี้
- ให้สูดหายใจอย่างเร็ว และแรง เข้าไปในคอ และกลืนเสมหะลงไป วิธีนี้เป็นการกำจัดความรู้สึกว่ามีอะไรในคอที่ดีที่สุด
- ให้หยุด อย่ากระแอม ให้ดื่มน้ำแทน ดังนั้นควรพกขวดน้ำติดตัวเสมอ น้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด การดื่มน้ำจะทำให้เสมหะในลำคอเหนียวน้อยลง และถูกกำจัดได้ง่ายขึ้น
- ให้อมลูกอมที่ไม่มีสาร menthol เพราะจะช่วยเพิ่มน้ำลายและความชุ่มชื้นให้กับลำคอ
- ให้พยายามกลืนไปเรื่อย ๆ ราวกับว่าผู้ป่วยมีอะไรอยู่ในลำคอ จะช่วยลดความรู้สึกว่ามีอะไรอยู่ในลำคอลงได้
- เมื่อผู้ป่วยต้องการจะกระแอม ให้ทำได้ แต่ควรทำด้วยความนุ่มนวล ทำเงียบๆ อย่าให้มีเสียงดัง ไม่กระแอมแรง ซึ่งอาจเกิดการบาดเจ็บต่อสายเสียงซึ่งมีขนาดเล็กได้ง่าย ให้ผู้ป่วยปิดปาก และกระแอมช้าๆ เพียง 1-2 ครั้ง เพราะจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสายเสียงน้อยที่สุด
-ให้กลั้วคอด้วยน้ำโซดาแช่เย็นที่ไม่มีน้ำตาล
ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องกระแอม ซึ่งเมื่อไม่กระแอม ก็จะทำให้ความรู้สึกว่ามีเสมหะในคอ ต้องกระแอมนั้นน้อยลง เป็นการตัดวงจรที่จะทำให้ผู้ป่วยต้องกระแอมไปเรื่อยๆ นอกนั้นควรแนะนำวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยกระแอมน้อยลงโดย
ส่วนในกรณีต่าง ๆ นอกจากการกระแอมนั้น ให้ทำตามข้อแนะนำดังนี้
- ในช่วงฤดูหนาว หรืออยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเป็นเวลานาน ควรใช้เครื่องปรับอากาศให้อุ่นและชื้นขึ้น หรือดื่มน้ำให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เยื่อบุลำคอที่แห้ง และระคายเคืองดีขึ้น
- ถ้าต้องพูดบรรยาย หรือพูดเป็นระยะเวลานานต่อหน้าผู้คน อาจทำให้ปาก และคอแห้ง ควรจิบน้ำอุ่นผสมน้ำมะนาว และน้ำผึ้งบ่อย ๆ
-การรับประทานอาหารมัน หรือผลิตภัณฑ์จากนม จะทำให้เสมหะ หรือเมือก มีจำนวนมากขึ้น และข้นขึ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดังกล่าว
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลศิครินทร์