xs
xsm
sm
md
lg

ประโยชน์ของ “แมกนีเซียม” ต่อร่างกาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อพูดถึง “แมกนีเซียม” นั้น หลายๆ คน อาจจะเคยเห็นตามในรพื้นที่ของเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ บางรายอาจจะทำหน้างงเหมือนกันว่า สิ่งๆ นี้ มันคืออะไรกันแน่ด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งๆ นี้ หากมาดูในรายละเอียดแล้ว ถือได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง ที่จะไปช่วยในแง่ต่างๆ ได้ด้วยเช่นเดียวกันนะ


"แมกนีเซียม" คืออะไร

“แมกนีเซียม” คืออะไร คำตอบก็คือ เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายคนเราอย่างมาก โดยจะช่วยให้อวัยวะหรือระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ, การเต้นของหัวใจ, การผลิตโปรตีนและสารพันธุกรรมอย่าง ‘ดีเอ็นเอ’, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และอุณหภูมิร่างกาย, ช่วยดูแลในเร่าองของสุขภาพกระดูกกับข้อต่อ และการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ซึ่งถือได้ว่าสารอาหารชนิดนี้ มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมากเลยทีเดียว


ร่างกายควรได้รับ "แมกนีเซียม" เท่าไหร่

หากต้องการให้ “แมกนีเซียม” เข้าสู่ร่างกายของคนเรา ในแต่ละช่วงวัยนั้น สำหรับเด็กชายและเด็กหญิงที่มีอายุ 9–18 ปี ควรรับประทานแมกนีเซียมวันละประมาณ 170–290 มิลลิกรัม ส่วนผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรรับประทานแมกนีเซียมวันละประมาณ 240–320 มิลลิกรัม ในขณะที่สตรีมีครรภ์อาจต้องเพิ่มปริมาณแมกนีเซียมขึ้นอีก 30 มิลลิกรัม หรือตามที่แพทย์แนะนำ เพราะร่างกายของคนเราไม่สามารถสร้างแมกนีเซียมขึ้นมาเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับแร่ธาตุดังกล่าวจากการดื่มน้ำและรับประทานอาหาร


ขาด "แมกนีเซียม" แล้วจะเป็นอย่างไร

ถ้าถามว่า การขาดแมกนีเซียมในร่างกายมนุษย์นั้น มีโอกาสเป็นไปได้หรือไม้ ตอบว่าจะพบหรือมีโอกาสน้อย เนื่องจากแมกนีเซียมมีอยู่ในอาหารแทบทุกชนิด แต่หากร่างกายขาดแมกนีเซียมจะส่งผลต่อร่างกายหรือไม่ ก็มีโอกาสได้เช่นเดียวกันโดยมาจากปัญหาสุขภาพบางประการ หรือถ้าได้รับแมกนีเซียมจากอาหารไม่เพียงพอติดต่อกันก็อาจเกิดสัญญาณการขาดแมกนีเซียม เช่น เกิดการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรืออ่อนแรง

และถ้าไปในสถานะที่เป็นผู้ป่วยที่ขาดแมกนีเซียมมาก ก็อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ถือว่ารุ่นแรงมากกว่าเดิม เช่น เกิดการหัวใจเต้นผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจหดเกร็ง ชา กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือ เกิดอาการชักได้

ตัวอย่าง อาหารที่มี “แมกนีเซียม”

1. ถั่วและเมล็ดพืช

ถั่วและเมล็ดพืชที่หลายๆ คน เอามารับประทานเล่น หรือเป็นประจำกันนั้น ถือว่าเป็นอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเลยทีเดียว เช่น ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วลูกไก่ เมล็ดฟักทอง หรือเมล็ดเจีย โดยถั่วดำสุก 170 กรัม ให้แมกนีเซียมมากถึงประมาณ 120 มิลลิกรัม ส่วนเมล็ดฟักทอง 28 กรัม ก็มีแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 150 มิลลิกรัม

นอกจากนั้น ถั่วและเมล็ดพืชยังมีใยอาหาร โพแทสเซียม เหล็ก และโปรตีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

2. ผักใบเขียว

ผักใบเขียวอย่างผักเคล ปวยเล้ง ผักโขม คะน้า บรอกโคลี หรือตำลึง เก็ถือว่าป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเติมแมกนีเซียมให้กับร่างกาย โดยปวยเล้งปรุงสุกปริมาณ 225 กรัมให้แมกนีเซียมประมาณ 157 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ซึ่งถือได้ว่า ‘ผักใบเขียว’ นั้น เป็นแหล่งแมกนีเซียมที่หาได้ง่ายและนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย

3. ปลาที่มีกรดไขมันสูง

เมื่อพูดถึงอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง หลายคนอาจมองข้ามเมนูปลาไป แต่จริง ๆ แล้วปลาที่มีกรดไขมันสูงบางชนิดนั้นอุดมไปด้วยแมกนีเซียม เช่น ปลาแซลมอนประมาณ 178 กรัมจะให้แมกนีเซียมมากถึง 53 มิลลิกรัม

ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาแมกเคอเรล ปลาทู ปลากะพง ปลาเก๋า และปลาทับทิม ที่สามารถเลือกรับประทานได้ ยิ่งไปกว่านั้น ปลาที่มีกรดไขมันสูงส่วนใหญ่ยังเต็มไปด้วยโอเมก้า 3 วิตามินบี โพแทสเซียม และสารอาหารอื่นที่ดีต่อสุขภาพในหลายด้าน

4. ผลิตภัณฑ์นม

ทั้งในนมและโยเกิร์ต ล้วนให้แมกนีเซียมแก่ร่างกายไม่น้อยเลย โดยนม 1 แก้วจะให้แมกนีเซียมประมาณ 24–27 มิลลิกรัม ส่วนโยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติในปริมาณ 227 กรัม ก็ให้แมกนีเซียม 42 มิลลิกรัม

5. ดาร์กช็อกโกแลต

มาถึงเครื่องดื่มชนิดนี้แล้ว หลายๆ คน อาจจะเซอร์ไพส์ และมองว่าไม่เกี่ยวกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า ดาร์กช็อกโกแลต ในปริมาณ 28 กรัมนั้น มีแมกนีเซียมอยู่ถึง 64 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี แมงกานีส สารต้านอนุมูลอิสระ และยังดีต่อสุขภาพหัวใจอีกด้วย

แต่ก็ต้องย้ำด้วยเช่นกันว่าจะต้องเป็นดาร์กช็อกโกแลต และควรเลือกชนิดที่มีสัดส่วนของโกโก้ไม่น้อยกว่า 70% เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงประกอบจาก : Pobpad.com


กำลังโหลดความคิดเห็น