ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS (polycystic ovary syndrome) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือ ระบบฮอร์โมน มีลักษณะคือพบถุงน้ำหลายในภายรังไข่และอาการแสดงของโรคแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยภาวะนี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยากในเพศหญิงรวมถึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด และเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
สาเหตุการเกิดถุงน้ำรังไข่หลายใบ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดถุงน้ำรังไข่หลายใบได้อย่างแน่ชัด แต่อาจอธิบายสาเหตุได้จากอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น
- ฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง
เป็นภาวะที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชายสูงเกินไปทำให้มีการแสดงลักษณะคล้ายกับเพศชาย เช่น ขนขึ้นเยอะ เป็นสิว ผิวมัน และมีกล้ามเนื้อเหมือนเพศชาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ควรพบแพทย์มากที่สุด
- ภาวะดื้ออินซูลิน
เมื่อร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลงน้ำตาลในเลือดจึงสูงทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินในร่างกายสูงกว่าปกติส่งผลใหรังไข่ถูกกระตุ้นและผลิตฮอร์โมนโทสเทอโรนออกมามากเกินไปและจะไปรบกวนการตกไข่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- พันธุกรรม
มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าบางครอบครัวที่แม่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบลูกสาวก็จะมีภาวะนี้ด้วยเข่นกัน ซึ่งแปลว่าสามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้
ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบมีอาการอย่างไร
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานและอาจมามากน้อยผิดปกติ
- ขนดก ที่แขน ขา ลำตัว มีหนวดเนื่องมีฮอร์โมนเพศชายสูง
- เป็นสิว ผิวมัน เนื่องการมีฮอร์โมนเพศชายสูงทำให้มีการสร้างไขมันที่ผิวหนังเพิ่มขึ้นและเกิดจึงเกิดสิวตามมา
- ศีรษะล้าน ผมบาง
- ภาวะอ้วน
- ไข่ไม่ตกมีบุตรยาก เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ
-ตรวจพบถุงน้ำในรังไข่
อาการที่ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
- ประจำเดือนเว้นช่วงนาน มาห่างกันมากกว่า 35 วันหรือมาไม่เกิน 6-8 ครั้งต่อปี
- รอบประจำเดือนขาด มาไม่ติดต่อกันนานเกิน 3 รอบในผู้หญิงที่ปกติประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หรือไม่มาติดต่อกัน 6 เดือนในผู้หญิงที่ประจำเดือนไม่มาสม่ำเสมอ แสดงถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
- ประจำเดือนมากะปริบกะปรอยหรือมามากเกินไป
- อ้วนหรือน้ำหนักมากจนเกินไป
- แสดงลักษณะของเพศชายมากเกินไป
แนวทางการป้องกัน
- รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน คือข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชต่าง ๆ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเขิงซ้อนที่ไม่ส่งผลต่อรัดับน้ำตาลในเลือด
- งดของหวาน หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลินมากำจัดน้ำตาลส่วนเกิน มีผลให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศชายทำให้เกิดฮอร์โมนไม่สมดุลเป็นสาเหตุของประจำเดือนมาไม่ปกติ ส่งผลต่อความเสื่อมของสเปิร์มและเซลล์ไข่ก่อนวัยอันควร
- รับประทานโปรตีนจากพืช เพราะโปรตีนจากพืชช่วยลดความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกถึง 50%
- รับประทานกรดไขมันดี ไขมันอิ่มตัว หรือโอเมก้า3 ที่มีในปลาทะเล โดยร่างกายต้องใช้ไขมันดีในการผลิตฮอร์โมนแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดี เช่น ปลาทะเล อะโวคาโด ธัญพืช น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน หรือน้ำมันปลา
- รับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มใยอาหารวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้สมบูรณ์ เน้นผักใบเขียว ผักผลไม้หลายสี ผลไม้รสเปรี้ยว ตระกูลเบอร์รี่
- รับประทานวิตามินช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน โดยคลีนิกผู้มีบุตรยากใช้ในการรักษา คือ อิโนซิทอลและโฟลิก เพื่อบำรุงรังไข่ ตัวอ่อนที่เติมโตเป็นปกติ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ไม่เครียด เพราะอาการเครียดจะทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ
แนวทางการรักษา
- ลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายกลับมาทำงานได้ปกติ
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรแพทย์อาจให้ทานฮอร์โมนช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ส่วนผู้ที่ต้องการมีบุตรแพทย์จะรักษาด้วยยากระตุ้นไข่หากไม่ได้ผลแพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนกระตุ้นการตกไข่และตั้งครรภ์
- ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว คือรักษาดื้ออินซูลิน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ฯลฯ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบมักพบในผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากเกินไป มีฮอร์โมนเพศชายมาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบสังเกตตัวเองถึงความผิดปกติและควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและหาแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ (https://rb.gy/nzhswt), โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ (https://rb.gy/kjumoa)
ข่าวโดย : พงษ์ศักดิ์ วัฒนศฤงฆาร